วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ก่อนไปทำตา 2 ชั้นรวมแก้ไขกล้ามเนื้อตา

 เนื่องจากเรามีปัญหาข้างนึงเล็ก ข้างนึงใหญ่ น่าจะตั้งแต่เด็กนะ แต่พอเริ่มมีอายุมากขึ้นก็จะเริ่มชัดขึ้น เริ่มมีคนทักมากขึ้น เหมือนคนดูเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา (ก็จริงนะ) เลยเริ่มคิดละว่าจะทำตา 2 ชั้น ก็เริ่มดูรีวิวที่โน้นที่นี่ ไลน์ไปถามตามที่ต่าง ๆ แล้วก็ดูเรื่องราคาด้วย ก็สรุปมาได้ที่นี่ ก็คุยติดต่อกันทางไลน์ นัดวันทำ แต่ด้วยความที่เราอยู่ที่ญี่ปุ่น ก็จะไปทำทันทีก็ไม่ได้ ก็เลยนัดล่วงหน้าไปทำตอนที่กลับไทย 

อาจจะมีคนถามว่าทำไมไม่ทำที่ญี่ปุ่นเลยหล่ะ หนึ่งคือภาษา คือถ้าเป็นภาษาบ้านเราเองก็สามารถบอกความต้องการว่าอยากแบบโน้นแบบนี้ คุยกับคุณหมอได้รื่นกว่า เราคิดว่าภาษาเป็นปัจจัยแรกเลย แล้วก็ตามมาด้วยความที่บ้านเราจะยิ้มแย้มกว่า และอีกหลาย ๆ อย่าง

ก่อนผ่าตัดตา 2 ชั้นก็จะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าด้วยนะอย่างน้อย 2 สัปดาห์

1. งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอล์ 

2. งดอาหารเสริม เช่นวิตามิน C, E น้ำมันตับปลา และสมุนไพรต่าง ๆ (เรางดทุกวิตามินเลย เพราะไม่แน่ใจ)

3. ในวันผ่าตัดก็ไม่ควรแต่งหน้า ให้สระผมไปให้เรียบร้อยเลย เพราะหลังจากผ่าตัดแผลห้ามโดนน้ำ

4. เตรียมแว่นกันแดด และแว่นตาไปด้วย กันลมกันฝุ่นกันแดด

ก็มีเตรียมตัวประมาณนี้นะ



วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แชร์ประสบการณ์ ลูกชาย 9 ขวบผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอมซิลที่เมืองไทย (หลังจากผ่าตัด)

 หลังจากที่ผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์กับต่อมทอมซิลไปแล้ว นอนที่โรงพยาบาล 1 คืน พยาบาลก็เข้ามาดูว่าลูกเรามีเลือดออกมาหรือเปล่า เพราะตอนที่ผ่าตัดเสร็จ ยาสลบหมดฤทธิ์ เขาตื่นมาร้องโวยวายลั่นโรงพยาบาลเลย คุณหมอเลยกลัวเพราะเพิ่งผ่าตัดเสร็จ แล้วใช้เสียงก็เลยกลัวเรื่องแผล ก็ไม่มีเลือดออก โล่งอกหน่อย แล้วก็มีให้ทานยาแก้ปวด 

ตอนนอนเราก็เลยถ่าย VDO ไว้ เพราะเสียงกรนดังมาก พอมีพยาบาลเข้ามา เลยสอบถามดู เขาก็อธิบายว่าเป็นกันทุกคน เพราะเกี่ยวกับลิ้นไก่ เดี๋ยวก็จะหายไปเอง 

เสียงกรนหลังผ่าตัดก็จะเป็นแบบนี้




พอวันรุ่งขึ้นก็ออกจากโรงพยาบาลได้

เราพาแวะไปที่บ้านพ่อกับแม่เรา ก็รู้สึกว่าลูกเราหน้าแดง ๆ วัดไข้ดู มีไข้นิด ๆ ก็เลยให้ทานยาแก้ไขไป แต่ก็ร่าเริงดีมาก ยิ้มเล่นกับคุณตาคุณยาย 

ช่วงนี้ก็ยังไม่ทานอะไรเลย น้ำหวานก็ไม่ ไอติมก็ไม่เอา แต่เพราะต้องทานยา เราก็เลยแกมบังคับให้ทานบ้างนิดหน่อย อย่างข้าวต้มซองที่เราเอามาจากญี่ปุ่น (รูปจาก Google) ก็ไม่ต้องอุ่นก็ทานได้ ลูกเราก็ทานไปนิ๊ดเดียวจริงๆ ก็โอเค พอมีของตกท้อง แล้วก็ทานยา  แต่ถ้าเป็นของร้อน ก็ต้องรอให้เย็นก่อน แล้วก็ต้องทำให้อาหารนั้นเละ ๆ คือบี้ให้เละที่สุด จะได้กลืนไม่ลำบาก




ส่วนการพูดและน้ำเสียงของลูกเราก็เหมือนคนห่อลิ้นพูด คือเสียงไม่ชัดเจน ไม่เหมือนตอนก่อนผ่า เราก็กังวล จะเป็นแบบนี้ตลอดหรือเปล่าเนี่ย แต่สักพักใหญ่ ๆ ก็กลับมาพูดเป็นปกติ

(ช่่วงนี้เราก็ให้ลูกเราอยู่แต่โรงแรม ไม่ได้ให้ออกไปไหน คุณหมอก็บอกเหมือนกันว่าไม่ควรออกไปข้างนอกประมาณ 10 วัน) 

จนมาคืนวันที่ 29 กค. 23 ลูกเราก็คงยังไม่ค่อยทานอะไร  เลยให้ดื่มนม แต่ดื่มไม่หมดนะ แล้วพอมาถึงตอนมื้อกลางวัน  ลูกเราบอกมาว่าปวดท้อง  หนาว  ตอนแรกเราก็ไม่ได้คิดอะไร  นึกว่าบอกแบบประมาณว่าไม่อยากทานข้าวที่ป้อนให้เลยหาข้ออ้าง

มามื้อเย็น ให้สามีซื้อไข่ตุ่นมา  ก็ให้ทานไข่ตุ๋น  กับนมใส่น้ำแดง  ทานไปได้ไม่เยอะเท่าไหร่   บอกปวดท้อง  หนาว  เหมือนตอนกลางวัน  พอให้ทานยามื้อเย็น  แป๊บเดียวเองก็อ๊วก เป็นสีส้ม ๆ  เลยโทรไปรพ ที่ผ่าตัด  ในส่วนแอ๊ดมิดปิดแล้ว  ก็อธิบายให้พยาบาลฟัง  เขาบอกให้นอนพัก  

แล้วก็อ๊วกอีกเป็นครั้งที่ 2  คราวนี้เริ่มไม่ได้การละ  เลยรีบพาไป รพ ที่ใกล้ที่สุด มาถึงรพ ก็อ๊วกอีก 1 ครั้ง  เจอคุณหมอ คุณหมอบอกเป็นกระเพาะลำไส้ติดเชืัอ  ถามว่าเกี่ยวกับที่ผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ทอมซิลหรือเปล่า  คุณหมอบอกไม่เกี่ยว  แผลผ่าตัดโอเค  น่าจะเป็นจากอาหารไม่สะอาด  หรือมือไม่สะอาด แล้วเอาเข้าปาก  อีกแล้วทุกครั้งที่มา ลูกเราต้องเข้ารพ เพราะสาเหตุนี้ตลอดเลย

คุณหมอให้ยามากลับมาทานที่บ้าน เป็นยาแก้อาเจียน  ลดลมในกระเพาะ ยาแก้ปวดท้อง  เกลือแร่แบบชง ทานยาแล้วก็นอนพัก  ผ่านไป 2 ชั่วโมง  ตอนนั้นเที่ยงคืนได้ อ๊วกอีก ให้จิบน้ำเกลือแร่ นอนต่อผ่านไปอีก 2 ชั่วโมง  ตี 2 ของวันที่ 30 ก็อ๊วกอีก  คราวนี้ไม่นอนหลับต่อ บอกปวดท้อง ดิ้นไปมา  บอกปวดขาอีก  ปัสสาวะอีก  สีของปัสสาวะนี่น้ำตาลเข้มมาก  ฟองเต็มไปหมดเลย  เลยรีบโทรถามรพ  เจ้าหน้าที่บอกว่า ที่ปวดขาด้วย  ปัสสาวะเข้มมีฟอง ก็เพราะร่างกายขาดสมดุลแล้ว  ถ้าจิบเกลือแร่ไม่ได้ก็ต้องให้น้ำเกลือ  กะจะเรียกรถพยาบาล  เพราะดึกมาก + ไม่รู้เดินไหวเปล่า  แต่ถ้าเรียกรถก็ 1200 บาท สามีเราบอกเรียกแท็กซี่ดีกว่า  ระหว่างไปเรียกมีอ๊วกอีก แท็กซี่ก็มีคนรอเรียกอีก  เพราะคงเพิ่งเลิกจากไปเที่ยวกัน  ดีที่มีคันนึงตรงมาที่พวกเราเลยได้ขึ้นแบบไม่ต้องรอนาน

(มีต่อในแชร์ต่อไป) 

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แชร์ประสบการณ์ ลูกชาย 9 ขวบผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอมซิลที่เมืองไทย (วันที่ผ่าตัด)

 หลังจากที่นัดคุณหมอ เอ็กซเรย์ดูว่าอะดีนอยด์เป็นยังไง สรุปก็ยังโตอยู่กว่าเด็กทั่วไป 30 % แต่เล็กลงจาก 4-5 ปีที่แล้ว ก็เลยไปคุยเรื่องค่าใช้จ่ายที่การเงิน ก็โอเคเป็นราคาที่เรารับได้ แต่แอบแพงกว่าตอนของลูกสาวของลูกพี่ลูกน้องเรา แต่ก็อย่างว่าเวลาผ่านไป อะไรก็แพงขึ้น

23 กค. วันผ่าตัด

การผ่าเป็นแบบดมยาสลบ งดอาหารตั้งแต่ 8.00 น.ของวันที่ผ่า  แล้วก็ให้มาถึงที่ร.พ. 9.00 น. ลูกเราคือแทบไม่ทานอะไรเลย เพราะกลัวการไปร.พ. ก็เท่ากับว่าเมื่อวานก็ไม่ได้ทาน วันนี้ก่อนผ่าตัดก็ไม่ทานอีก เรากังวลมาก ก็ไม่รู้จะทำยังไง พอได้ห้องพักเรียบร้อยแล้ว ลูกเราผ่า 16.00 น. ก็เปลี่ยนเป็นชุดของร.พ. แล้วก็รอที่ห้องผู้ป่วย สักพักพยาบาลเอาน้ำแดงมาให้ดื่ม บอกคุณหมอบอกให้ดื่มไว้ก่อน เราก็เลยเอะใจเพราะได้ยินมาว่าต้องงดไม่ใช่เหรอ พยาบาลก็บอกว่า เป็นสไตล์ของคุณหมอท่านนี้ ว่าจะให้ดื่มก่อน ก็โอเค พอจะมีอะไรรองท้องนิดนึง 

พอถึงเวลาผ่า ก็พาไปดมยาสลบ ลูกเราขัดขืนอย่างแรง แต่พอยาออกฤทธิ์  นิ่งตาค้างเลย เราตกใจมาก ตัวไม่ขยับ ตาค้าง เราหน้าซีดเลย จะเป็นอะไรหรือเปล่า พยาบาลก็บอกว่าไม่เป็นไร เป็นแบบนี้กันทุกคน เพราะยาเริ่มออกฤทธิ์แล้ว  แล้วก็พาเข้าห้องผ่าตัด แม่เข้าไปด้วยไม่ได้ ก็รออยู่ห้องข้าง ๆ ใช้เวลาผ่าตัด 30 นาที ระหว่างนั้นภาวนาอย่างเดียวเลยขอให้ปลอดภัย ๆ  พอผ่าตัดเสร็จคุณหมอก็ออกมา แล้วก็บอกว่าต่อมทอมซิลก็โตนะ เลยตัดออกไปด้วย เดี๋ยวจะมีพยาบาลถือมาให้ดูที่ตัดไป จะถ่ายรูปก็ได้ เพราะเขาจะต้องส่งที่ตัดไปตรวจอีกว่าปกติ หรือผิดปกติหรือเปล่า 

ต่อมที่ตัดไป เราก็ถ่ายรูปมาเหมือนกัน แต่คงลงให้ดูไม่ได้ เพราะอ่ะนะ อวัยวะภายใน 

พอยาสลบเริ่มหมดฤทธิ์ หลังจากผ่าแป๊ปนึง ยังไม่ได้ออกจากห้องผ่าตัด พอลูกเรารู้สึกตัว โวยวายร้องเสียงดังลั่นร.พ. เลย เสียงร้องก็ผิดจากเดิม เหมือนจะทุ้ม ๆ พูดฟังไม่ชัด ร้องแต่บอกว่า "ตา ๆ " ก็ถามพยาบาล ว่าเป็นอะไรมากหรือเปล่า พยาบาลก็บอกว่า มีการป้ายยาที่ตาด้วย เพราะตอนผ่าตัดจะร้อนมากเลย ระวังเรื่องตา เพราะฉะนั้นตาก็จะพร่า ๆ สักพักนึง แล้วพยาบาลก็เอาสำลีชุบน้ำเกลือเช็ดเปลือกตา ก็เหมือนจะดีขึ้น  แต่ร้องตลอด คุณหมอก็กังวลว่าจะมีเลือดออกด้านในหรือเปล่า เพราะสียงร้องดังมาก กลัวไปกระเทือนกับแผลที่ผ่าตัด ก็โอเคไม่มีเลือดออก 

แล้วคุณหมอก็มีมาบอกให้ทำ 3 ข้อนี้หลังจากผ่าตัด เราจำได้แค่ 2 ข้อ

1. ทานของเย็นอย่างไอศครีม โยเกริ์ต ข้าวต้ม โจ๊ก  ถ้าเป็นของร้อนอยู่ก็ปล่อยให้เย็นก่อน แล้วก็บี้ให้เละ ๆ  ของทอดงด  อาหารปกติยังทานไม่ได้ ให้ทานของอ่อน ๆ 

2. ดุแลช่องปากให้สะอาด บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ  ถ้ามีเลือดออก น้ำที่บ้วนก็จะเป็นสีแดง ก็ให้ติดแจ้ง ร.พ. 

ข้อ 3 จำไม่ได้อ่ะ

หลังจากนั้นก็เป็นช่วงพักฟื้นที่ห้องคนไข้ นอนค้างที่รพ. 1 คืน มีให้ทานยาแก้ปวด  แล้วก็จะคอยเอาเจลแช่เย็นมาประคบที่ลำคอ ช่วยลดการอาการเจ็บ 

ยาที่ได้หลังจากผ่าตัด 

ยาฆ่าเชื้อ 3 มื้อ ทาน 3 อาทิตย์ (24 กค. - 13 สค.)

ยาห้ามเลือด 3 มื้อ ทาน 10 วัน 

ยาแก้แพ้ ทาน 2 มื้อ เช้ากับเย็น ทาน 10 วัน

นอกนั้นเป็นยาตามอาการ  ยาแก้ปวด ยาแก้ไอแบบน้ำ

ลูกเราก็มียาที่ทานประจำอยู่ เราก็เลยโทรกลับมาญี่ปุ่น ถามเจ้าหน้าที่ที่จ่ายยาให้ว่า ลูกเราผ่าตัดอะดีนอยด์ทีไทย ได้ยาแบบนี้มา สามารถทานร่วมกับยาที่ทานอยู่ได้มั้ย เจ้าหน้าที่ก็เช็คอยู่สักพัก ก็บอกว่าได้ ค่อยโล่งอกหน่อย จริง ๆ คุณหมอที่ผ่าตัดก็บอกแล้วล่ะว่าทานร่วมกันได้ แต่เพื่อความชัวร์อ่ะเนอะ


ปัญหาก็คือหลังจากผ่าตัดแล้ว ลูกเราแทบไม่ทานอะไรเลย ทั้งไอศครีม มีดื่มน้ำบ้าง แต่ดูกลืนลำบาก ๆ  น่าสงสารมาก ๆ อ่ะ แต่ก็ต้องเข้มแข็งไว้ก่อน ลูกเราจะได้ไม่ตกใจไปมากว่านี้

วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แชร์ประสบการณ์ ลูกชาย 9 ขวบผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอมซิลที่เมืองไทย (่ก่อนผ่าตัด)

 ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าเราสงสัยว่าลูกเราจะต่อมอะดีนอยด์โตหรือเปล่า เพราะลูกเราพัฒนาการช้าตั้งแต่เล็ก ก็เลยหาข้อมูลของญี่ปุ่นว่าเราจะช่วยเรื่องพัฒนาการของลูกเรายังไง ก็มีข้อมูลทางเน็ตว่าอาจจะเกี่ยวกับต่อมอะดีนอยด์โตด้วย ก็เลยเอาเรื่องนี้ไปถามคุณหมอหู คอ จมูกที่ญี่ปุ่น คุณหมอที่นี่ก็บอกว่าเด็กยังเล็กเกินไป (4 ขวบ) แล้วเด็กเล็ก ๆ ก็จะมีต่อมอะดีนอยด์โตอยู่แล้ว พอโตขึ้นสัก 10 ขวบก็จะเล็กลง ปกติเอง ก็คือคุณหมอเขาไม่ตรวจให้อ่ะนะ เลยลองหาข้อมูลทางไทยดู โชคดีมากที่ลูกสาวของลูกพี่ลูกน้องเราเขาก็เคยผ่าตัดตอน 5 ขวบมาแล้ว เลยแนะนำโรงพยาบาล และคุณหมอมาให้ 

ปีนั้นพอกลับมาที่ไทย ก็พาลูกเรา (4 ขวบ) ไปโรงพยาบาล แล้วก็ระบุคุณหมอท่านนั้นด้วย คุณหมอเข้าเย็น ก็มาได้ตรวจอีกทีก็เกือบ 1 ทุ่ม ผลเอ็กซเรย์ คุณหมอบอกว่าโตจริง น่าจะได้รับการผ่าตัด แต่เราอยู่ไทยแค่ 10 วัน ก็เลยคุยกับคุณหมอให้ออกใบรับรองแพทย์ให้ เผื่อจะได้มาคุยกับคุณหมอที่ญี่ปุ่นเรื่องการผ่าตัด่ต่อ คุณหมอที่ไทยก็เลยให้ยาปฏิชีวนะมา 1 เดือน  แล้วก็บอกว่าถ้าทานยาแล้วยุบลงก็ไม่จำเป็นต้องผ่า ก็ลองไปเอ็กซเรย์ที่ญี่ปุ่นดู

พอกลับมาที่ญี่ปุ่น พอครบเดือนยาที่ไทยหมด ก็หาโรงพยาบาลที่เขาดูเรื่องต่อมอะดีนอยด์ แถวบ้านเราไม่มี ต้องนั้งรถไฟไปอีก 2 สถานีถึงจะมี  ที่นี่เป็นอะไรที่เข้าโรงพยาบาลรักษายากมาก ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์มา ที่ยากมาก ๆ เพราะเขาจะไม่รับคนไข้ต่อจากที่อื่น โชคดีที่เรามีใบรับรองมาจากที่ไทย ก็เลยได้เข้ารักษา (ของเด็กที่ญี่ปุ่นจะรักษาฟรี)   ก็เลยให้คุณหมอที่ญี่ปุ่นดู CD ของฝั่งไทย เขาก็บอกว่าโต ก็เลยให้ไปเอ็กซเรย์อีกครั้ง ก็สรุปว่าโต ก็เลยได้รับการรักษาต่อเนื่อง แต่หมอที่ญี่ปุ่นยังไงก็ไม่ยอมผ่าตัดให้ บอกลูกเรายังเล็ก (คิดอยู่เลย แล้วทำไมที่ไทยเขาผ่าตัดให้ได้ เซ็ง)

สรุปก็ให้ทานยาปฏิชีวนะไปเรื่อย ๆ 3 เดือน แล้วก็ไปตามนัด (ยาหมด) ทานยาตัวนี้เป็นปี ก็เปลี่ยนเป็นยาแก้แพ้ ก็ให้แต่ยาแก้แพ้มาตลอด 3 ปี ก็คือจากวันที่ไปเอ็กซเรย์ที่ไทย ก็ทานแต่ยามาตลอดเกือบ 5 ปี  เคยถามเรื่องการผ่าตัด คุณหมอก็จะอ้างเหตุผลว่าลูกเรายังเล็ก แล้วอีกอย่างอยู่ไม่นิ่งด้วย ตอนผ่าตัดอาจจะมีปัญหา แล้ววันนึงคุณหมอญี่ปุ่นก็มาบอกว่าไม่ต้องนัดมาแล้วก็ได้นะ ถ้ามารับแต่ยา สามารถไปยาที่คลินิคแถวบ้านก็ได้ อ้าว คือจะไม่ดูให้แล้วใช่มั้ย

ต่อมอะดีนอยด์โต เนี่ย (รู้สึกโมโห) ช่วงก่อนหน้านั้นก็ติดโควิด ไม่ได้กลับไทย 3 ปี ถ้าไม่ติดโควิด คงได้พาลูกเราไปตรวจและผ่าตัดที่ไทยเร็วกว่านี้แล้ว

จบที่มาของการรู้ว่าลูกมีต่อมอะดีนอยด์โต  

พอได้แพลนกลับเมืองไทย เราก็ติดต่อกับโรงพยาบาลว่าจะต้องนัดล่วงหน้าหรือเปล่า โชคดีที่มาตรการโควิดเริ่มคลายความเข้มงวดแล้ว ก็เลยไม่ต้องนัดล่วงหน้า พยาบาลบอกว่า Walk in เข้ามาได้เลย ช่วงนั้นเราโทรถามกับโรงพยาบาล เป็นระยะ ๆ ว่าคุณหมอจะเข้ามั้ยวันนี้ เพราะเรามีเวลาจำกัด อย่างมากสุดก็ 3 อาทิตย์เอง (ช่วงลูกปิดเทอมหน้าร้อน) 

ก็เลยแพลนว่าปิดเทอมปุ๊บ วันรุ่งขึ้นก็เดินทางเลย แต่เราไม่บอกให้ลูกเรารู้นะว่าจะพาเขาไปผ่าตัด เพราะเดี๋ยวเขาจะกังวล จะไม่ให้ความร่วมมือ 

วันก่อนผ่าตัด (22 กค.)

พอลูกเรารู้แล้วว่าพามาที่โรงพยาบาล ความอยากอาหารก็ไม่มีเลยทั้งวัน  ไม่ค่อยทานอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่จะต้องทานให้อิ่ม เพราะก่อนผ่าตัดต้องอดน้ำ อดอาหารหลายชั่วโมง  พอเจอคุณหมอ ก็พาไปเอ็กซเรย์  ก็ปรากฏว่ายังโตอยู่ แต่เล็กลงกว่าเมื่อ 4 - 5 ปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ใหญ่กว่าเด็กทั่วไป 30 % แล้วก็เหมือนว่าต่อมทอมซิลก็โตด้วยนะ ถ้าผ่าตัดก็จะดูให้ว่าทอมซิลโตหรือเปล่า ถ้าโตก็จะผ่าออกเลยทีแล้ว จากนั้นคุณหมอก็ให้ไปเช็คค่าใช้จ่ายกับการเงิน แล้วก็คุย ๆ เตรียมผ่าตัดวันรุ่งขึ้นเลย ่ของลูกเรา ผ่าเวลา 16.00 น. แต่ให้งดอาหารตั้งแต่ 8.00 น. แล้วก็ให้มาถึง รพ. 9 .00 น. 

การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัด



วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เนื้อหางานแม็คโดนัลที่ปัจจุบัน

 พอคิดที่จะเปลี่ยนงานจากที่เดิมเป็นที่ใหม่ เราก็เริ่มค้นหาจาก Google ว่ามีร้านแม็คที่สามารถเดินทางไปได้เปิดรับสมัครอยู่หรือเปล่า ก็มาเจอที่ปัจจุบันที่ทำอยู่ ก็สมัครลงวันเวลาที่เราสามารถติดต่อได้ สักพักก็มีผู้จัดการร้านโทรมานัดสัมภาษณ์ ก็เหมือนเดิม เตรียมเอกสารสมัครงาน เขียนเรซูเม่ พอถึงวันก็ไปสัมภาษณ์ ก็เป็นปกติที่เขาจะถามว่าทำไมถึงลาออกจากที่เก่า เราก็ให้เหตุผลไปว่าเราไม่สะดวกเข้าตอนเช้า (ที่นี่เริ่ม 10 โมง) คุย ๆ สัมภาษณ์ ครั้งนี้ไม่มีแบบทดสอบ คงเพราะเคยทำมาก่อนหน้านั้น ก็สัมภาษณ์อย่างเดียว แล้วผู้จัดการร้านก็บอกเราเลยว่า รับเข้าทำงาน ... เย้ ^^

พอกำหนดวันเริ่มงาน ก็มาเข้างาน ตอนแรกก็จะมีคนมาเทรนงานให้เรา เราพอเป็นแล้วเขาก็ไม่ได้เทรนอะไรให้เป็นพิเศษ แต่เรารู้สึกงานระบบงานไม่ค่อยเหมือนที่เก่า ถึงจะเป็นแม็คเหมือนกัน เราก็ต้องมาเรียนรู้งานเองจากรอบ ๆ ตัว ว่าเขาทำอะไรยังไง ก็ดู ๆ แล้วก็มาปฏิบัติตาม

งานที่นี่จะวนกันทุก ๆ 1 ชั่วโมง อย่าง 1 ชั่วโมง ถ้าเราทำ イニシエーター เอาขนมปังใส่เครื่อง เตรียมกระดาษ ใส่ซอส พอครบหนึ่งชั่วโมง ก็จะเปลี่ยนหน้าที่เป็น グリル―アッセン(アッセンブラー)หน้าที่นี้ก็คือการย่างเนื้อ ทอดไข่ วางผัก วางเนื้อที่ขนมปัง ห่อกระดาษ พอครบหนึ่งชั่วโมงก็จะเปลี่ยนมาเป็น フライポテト หน้าที่นี้ก็คือการทอด กับทอดเฟรนฟราย 



แล้วก็จะมีอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ストッカー หน้าที่นี้ก็คือทำทั้งย่างกับทอด แต่ร้านนี้ส่วนของการย่างกับทอดอยู่คนละฝั่งกันเลย หัวหน้างานก็จะมอบหมายให้ทำก็ช่วงที่ลูกค้ายังน้อย ๆ อยู่ 

ที่ร้านนี้จะมีให้ทำความสะอาด グリストラップ  (ตามรูปด้านล่าง รูปจาก Google) เหมือนพนักงานจะต้องทำงวน ๆ กันไปค่ะ 


ค่าจ้างรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 1000 เยน (ต.ค. 2022)

เพิ่มเป็น 1050 เยน (ต.ค. 2023)