วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เนื้อหางานแม็คโดนัลที่ปัจจุบัน

 พอคิดที่จะเปลี่ยนงานจากที่เดิมเป็นที่ใหม่ เราก็เริ่มค้นหาจาก Google ว่ามีร้านแม็คที่สามารถเดินทางไปได้เปิดรับสมัครอยู่หรือเปล่า ก็มาเจอที่ปัจจุบันที่ทำอยู่ ก็สมัครลงวันเวลาที่เราสามารถติดต่อได้ สักพักก็มีผู้จัดการร้านโทรมานัดสัมภาษณ์ ก็เหมือนเดิม เตรียมเอกสารสมัครงาน เขียนเรซูเม่ พอถึงวันก็ไปสัมภาษณ์ ก็เป็นปกติที่เขาจะถามว่าทำไมถึงลาออกจากที่เก่า เราก็ให้เหตุผลไปว่าเราไม่สะดวกเข้าตอนเช้า (ที่นี่เริ่ม 10 โมง) คุย ๆ สัมภาษณ์ ครั้งนี้ไม่มีแบบทดสอบ คงเพราะเคยทำมาก่อนหน้านั้น ก็สัมภาษณ์อย่างเดียว แล้วผู้จัดการร้านก็บอกเราเลยว่า รับเข้าทำงาน ... เย้ ^^

พอกำหนดวันเริ่มงาน ก็มาเข้างาน ตอนแรกก็จะมีคนมาเทรนงานให้เรา เราพอเป็นแล้วเขาก็ไม่ได้เทรนอะไรให้เป็นพิเศษ แต่เรารู้สึกงานระบบงานไม่ค่อยเหมือนที่เก่า ถึงจะเป็นแม็คเหมือนกัน เราก็ต้องมาเรียนรู้งานเองจากรอบ ๆ ตัว ว่าเขาทำอะไรยังไง ก็ดู ๆ แล้วก็มาปฏิบัติตาม

งานที่นี่จะวนกันทุก ๆ 1 ชั่วโมง อย่าง 1 ชั่วโมง ถ้าเราทำ イニシエーター เอาขนมปังใส่เครื่อง เตรียมกระดาษ ใส่ซอส พอครบหนึ่งชั่วโมง ก็จะเปลี่ยนหน้าที่เป็น グリル―アッセン(アッセンブラー)หน้าที่นี้ก็คือการย่างเนื้อ ทอดไข่ วางผัก วางเนื้อที่ขนมปัง ห่อกระดาษ พอครบหนึ่งชั่วโมงก็จะเปลี่ยนมาเป็น フライポテト หน้าที่นี้ก็คือการทอด กับทอดเฟรนฟราย 



แล้วก็จะมีอีกหน้าที่หนึ่งก็คือ ストッカー หน้าที่นี้ก็คือทำทั้งย่างกับทอด แต่ร้านนี้ส่วนของการย่างกับทอดอยู่คนละฝั่งกันเลย หัวหน้างานก็จะมอบหมายให้ทำก็ช่วงที่ลูกค้ายังน้อย ๆ อยู่ 

ที่ร้านนี้จะมีให้ทำความสะอาด グリストラップ  (ตามรูปด้านล่าง รูปจาก Google) เหมือนพนักงานจะต้องทำงวน ๆ กันไปค่ะ 


ค่าจ้างรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 1000 เยน (ต.ค. 2022)

เพิ่มเป็น 1050 เยน (ต.ค. 2023)







วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

เนื้อหางานที่แม็คโดนัล (ที่แรก)

 แม็คโดนัลที่เราทำที่แรก พออบรมเสร็จ ก็จะเป็นส่วนให้มาทำงานด้านในแบบจริงๆ แล้วหัวหน้างานที่สอนเราก็จะมาดู ๆ มาสอนเรา พอใกล้จะครบจำนวนชั่วโมงที่เรากำหนด หัวหน้างานก็จะมาประเมินงาน พูดให้เราฟังมาเราทำงานยังไง มีอะไรที่ต้องปรับปรุง 

ครั้งแรกที่เขาให้เราฝึก ก็คือการย่างเนื้อ เนื้อที่เขาใช้มีกี่ประเภท แล้วเขาจะมีเอกสารแปะเลยนะ ว่าจะต้องวางเนื้อยังไง ถ้า 8 ชิ้น (มากสุด) ถ้า 7 ชิ้นวางยังไง 6 ชิ้นวางยังไง เป็นต้น 

แล้วก็วิธีการตักเนื้อย่างจากเตา วิธีการวางในถาดของแม็คที่เขากำหนด 

จากนั้นก็มาเป็นของทอด ของทอดแต่ละชิ้นเรียกว่าอะไร กดปุ่มตรงไหน ของทอดประเภทนี้จะใช้กับอุปกรณ์ตัวไหน อย่างนักเก็ต ก็จะไม่มีฝาปิด ใช้อุปกรณ์แบบนี้ เนื้อไก่แบบนี้ก็จะใช้แบบนี้ ทอดที่ช่องนี้ 

ที่เขาต้องแยกช่องอย่างชัดเจนเลยก็คือของทะเล (กุ้ง ปลา) เพราะมีเรื่องแพ้อาหารของลูกค้า ช่องทอดพายก็ต้องช่องนี้โดยเฉพาะ 

ส่วนเฟรนฟรายเขายังไม่สอน เพราะเขาบอกเฟรนฟรายคือของหลักของแม็คเลย ไว้ชินก่อนแล้วค่อยมาทำ

พอทำส่วนของย่าง กับของทอดแล้ว ก็มาให้เราทำใส่ขนมปังลงในเครื่อง กระดาษที่ใช้ห่อ แบบนี้ใช้กับ 

ダブルちーズバーガー แบบกล่องแบบนี้ใช้กับ ビッグマック ฯลฯ เป็นต้น

เราจะต้องจำว่าขนมปังแบบไม่มีงา ต้องใช้กับเมนูไหน แบบมีงาใช้กับเมนูไหน หน้าจอที่ขึ้นมอนิเตอร์ (ชื่อย่อ) หมายถึงเมนูไหน 

เราทำตรงส่วนนี้ (เอาขนมปังใส่เครื่อง) เกือบทุกครั้งที่เราเข้างาน จนเราชินกับงานส่วนนี้ที่สุด งานส่วนนี้เขาจะเรียกว่า イニシエーター (イニシ)

(รูปจาก Google)


มีบ้างที่หัวหน้างานให้เราไปทำความสะอาด ห้องน้ำ เพดาน ถังขยะ เฮ้อ ก็ต้องทำอะนะ 

พอเริ่มชินกับเมนูมื้อกลางวัน เขาก็เริ่มให้เรามาเข้าตอนเช้า เมนูอาหารเช้า เนื้อหาที่จะต้องทำต้องจำ เยอะพอ ๆ กับเมนูมื้อกลางวันเลย แต่สำหรับเรา เมนูมื้อเช้าจำยากกว่าเมนูมื้อกลางวันนะ ไม่รู้เพราะอะไร 555

งานที่เรา่ทำตอนเมนูมื้อเช้า ก็จะมีย่างมัฟฟิน ทอดไข่ ทำไข่คน ทำแพนเค้ก ย่างเนื้อ ใส่ขนมปัง เตรียมกระดาษย่อ ตลอดจนถึงทำเป็นเบอร์เกอร์เลย หลายครั้งมีเราอยู่คนเดียวตอนเช้า ยุ่งสุด ๆ เพราะทุกอย่างคือเวลา ไม่รีบทำตรงนี้ ตรงนี้ก็จะไหม้ อ้าวตรงนี้เดือดแล้ว อ้าว... เราเลยไม่ไหวกับมื้อเช้า เราเลยเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนไปทำแม็คที่ไม่มีเมนูมื้อเช้า 

ก็เป็นที่มาของที่ทำงานปัจจุบัน ^^


ค่าจ้างรายชั่วโมงครั้งแรกเลย 960 เยน/1 ชั่วโมง พอเดือนต.ค. ปี 22 ก็ขึ้นเป็น 964 เยน/ชั่วโมง





วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วิธีรักษาเบอร์มือถือของไทยไว้ + ไว้คอยรับ SMS จากไทยได้ด้วย

 จากคำแนะนำของเพื่อนเรื่องการรักษาเบอร์มือถือไทย + รับ SMS ของไทยได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ที่ญี่ปุ่น ก็เลยทำให้คิดที่จะรักษาเบอร์ที่ซื้อที่สนามบิน แล้วครั้งนี้เบอร์ก็จำง่ายดี เลยตัดสินใจสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์เพิ่มเติม 

เราใช้ของ AIS ขั้นตอนก็ไม่มีอะไร ก็คือเติมเงิน 10 บาท วันก็อยู่เพิ่ม 30 วัน ถ้าจะให้อยู่เป็นปี ก็เติม 10 บาท 12 ครั้ง ซิมเบอร์นั้นก็ใช้ได้ 30 * 12 = 360 วัน แล้วทำเรืองเปิดโรมมิ่ง กลับญี่ปุ่นก็จะรับ SMS ได้ แต่ถ้าใช้อินเตอร์เน็ทก็จะเสียเงิน เจ้าหน้าที่เลยบอกวิธีโทรปิดอินเตอร์เน็ทให้ พอมาไทยครั้งต่อไป ก็โทรไปเปิดอินเตอร์เน็ท (แต่วิธีนี้เราไม่ได้ใช้ ลืม)

เพื่อนก็แนะนำวิธีมาเพิ่มคือ ให้ 2 หน้าจอนี้เปิด - ปิด สลับกันตอนอยู่ญีปุ่นกับตอนมาไทย 

ก็เป็นอันว่ามีเบอร์ของไทยหล่ะ จำง่าย ถ้าถูกถามเบอร์ไม่ว่าจะติดต่อเรื่องอะไรก็สามารถบอกได้ทันที ที่ผ่านมาจำไม่ได้ เลยบอกเบอร์ของพี่ชายไป คือเป็นการรบกวนพี่ชายอย่างมาก เป็นการติดต่อเรื่องของตัวเองแท้ ๆ แต่กวนเขาตลอด

แล้วอีกอย่างคราวต่อ ๆ ไป ก็ไม่ต้องเสียเวลาซื้อซิมที่สนามบินแล้ว รอคิวนานมาก ๆ ที่สำคัญทำธุรกรรม ลงแอพของธนาคารได้ด้วย 

เครื่องในรูป ซัมซุง Galaxy A22