แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรงเรียนชั้นประถมที่ญี่ปุ่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ โรงเรียนชั้นประถมที่ญี่ปุ่น แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568

การซ้อมหนีภัยของเด็กที่ญี่ปุ่น (避難訓練)

เด็กนักเรียนที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทางโรงเรียนก็จะมีให้ซ้อมหนีภัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้น แล้วต้องทำยังไง  สิ่งที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ก็คือการซ้อมบ่อย ๆ นั่นเอง





วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568

เรื่องเล่าจากชั้นเรียนใหม่ (ชั้นเรียนของเด็กออทิสติก โรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น)

 เรื่องเล่าจากชั้นเรียนใหม่

ตั้งแต่ ป.1 -ป.4 ผมก็เรียนคลาส 情緒学級(เป็นคลาสสำหรับเด็กพิเศษที่เรียนวิชาการได้ แต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ แต่อย่างที่หม่าม้าเคยพูดถึงครูประจำชั้น ป.4 ว่าเป็นยังไง  สรุป พอขึ้น ป.5 ผมก็เปลี่ยนมาเรียนคลาส 知的学級 (เป็นคลาสสำหรับเด็กพิเศษ ที่เรียนวิชาการไม่ทันเพื่อน แต่เรื่องการควบคุมอารมณ์ ไม่มีปัญหา) ตอนป.4 คุณครูประจำชั้นคนเก่าบอกหม่าม้าว่าควรให้ผมเปลี่ยนคลาส  ดูหม่าม้าป่ะป๊าก็ไม่ลังเลเลยที่จะเปลี่ยน เพราะถ้าขึ้น ป.5 แล้วต้องมาเจอเป็นครูประจำคนนี้อีก  ป่ะป๊าหม้าม้า ก็คงเครียดไปอีก 1 ปี ^^

ได้เจอครูประจำชั้นคนใหม่  หม่าม้าป่ะป๊าขอ 面談 (พูดปรึกษาหารือ) ตั้งแต่เปิดเทอมเลย  ( จริง ๆ 面談 จะเริ่มประมาณเดือน มิย.) คุณครูใจดี  หาเวลาให้ได้คุยกัน

เรื่องที่คุยกัน

 1. เรื่องนี้หม่าม้าขอร้องคุณครูเป็นอันดับแรกเลยก็คือการให้ใช้ Chromebook ขอให้ใช้เฉพาะการเรียนหรือที่จำเป็นเท่านั้น ไม่เอากลับบ้าน แต่มีการชาร์จ เลยกำหนดให้วันศุกร์นำกลับบ้านไปชาร์จ แล้ววันจันทร์นำมาโรงเรียน  คุณครูน่ารักมาก เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการให้ใช้  เลยเห็นด้วยกับผู้ปกครอง

2. เรื่องการไปเรียนร่วมกับคลาสเด็กปกติ  สรุปคือ คุณครูขอดูว่าผมเรียนเป็นยังไง  แล้วค่อยพิจารณาดูว่าวิชาไหนบ้างที่ไปเรียนรวมได้

3. เรื่องการไปค้างคืนตจว 1คืน  (ป.5 จะมีการไปค้างคืนตจว 1 คืน เรียก 林間学校) เรื่องนี้คุณครูค่อนข้างกังวลมาก  สรุปคือ ขอให้ผู้ปกครองไปค้างคืนด้วย แต่ที่พักหาเอง ไม่ใช่ที่เดียวกับเด็ก ๆ ให้ตามไปดูแลห่าง ๆ ถ้ามีปัญหาอะไร ก็จะได้มาได้ทันเวลา

จากการได้พูดคุยในวันนี้  รู้สึกโล่งอกไปเยอะมาก  ได้เจอครูประจำชั้นที่เป็นคุณครูสำหรับสอนเด็กพิเศษจริง ๆ 

ส่วนเรื่องการบ้าน แล้วแต่คุณครูเลย  การบ้านตั้งแต่เปิดเทอมมา  ทั้งหม่าม้า  ทั้งผมก็ไม่ค่อยเครียดเท่าไหร่ ไม่เยอะเกินไป  แล้วก็ไม่ยากจนเกินไป


รูปภาพ : การบ้านสำหรับเด็กพิเศษชั้น ป. 5 ช่วงเปิดเทอมใหม่ ๆ 












วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2568

อุปกรณ์ที่เอาไปร.ร.วันแรก กับหนังสือเรียนชั้นป.5 ร.ร.ญี่ปุ่น คลาสเด็กออทิสติก

 วันแรกของการเปิดเทอม คลาสเรียนของเด็กออทิสติกก็มีให้เตรียมอุปกรณ์การเรียนไป  สิ่งที่เตรียมไปก็เหมือนคลาสเด็กปกติเลย  

ขากลับทางร.ร.ก็แจกหนังสือเรียนใส่มาในกระเป๋ารันโดะเซะรุ  อย่างหนักมาก  


รายการที่ทางร.ร.บอกมาว่าให้เตรียมอะไรไปบ้าง ใบนี้จะได้ตอนจบชั้นป.4 เพื่อให้ผุ้ปกครองช่วยเตรียม
















หนังสือเรียน



หนังสือเรียน


วิชาที่เพิ่มเติมจากชั้นป.4 วิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน

เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน
เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน



















วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2568

ก่อนขึ้นป. 5 กับความในใจช่วงตอนป. 4

 พรุ่งนี้ 8 เมษา ลูกชายก็จะขึ้น ป.5 แล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก

จากการที่ลูกเรามีภาวะทางออทิสติก ซึ่งเรารู้ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าเรียนชั้นประถม  ก็เลยให้ลูกชายเรียนคลาสสำหรับเด็กพิเศษ (ที่นี่เขาจะเรียก 支援級(ชิเอ็งคิว) ก็คือตามตัวหนังสือเลย  จะเป็นคลาสที่เด็ก ๆ จะได้รับความช่วยเหลือทั้งเรื่องการเรียน การกีฬาหรือกิจกรรมต่าง ๆ)  

อย่างด้านจำนวนนักเรียนห้องนึงไม่เกิน 8 คน (อาจจะมีเด็กชั้นเดียวกัน หรือชั้นที่สูงกว่า  หรือชั้นที่เล็กกว่าปน ๆ กันไป) โดยคลาสสำหรับเด็กพิเศษ (支援級) ก็จะมีการแบ่งประเภทของเด็กอีก จะมี 2 ประเภท

 ประเภทที่หนึ่ง เรียก 情緒学級 (โจ้โฉะกักคิว) คลาสนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเรียน  แต่จะมีปัญหาอย่างเรื่องของการควบคุมอารมณ์ 

ประเภทที่สอง เรียก 知的学級 (จิเตคิกักคิว) 

คลาสนี้จะมีปัญหาในเรื่องการเรียน คือเรียนไม่ทันเพื่อน  

ตั้งแต่ป.1 - ป.3 ลูกเราเรียนคลาส 情緒学級 แต่พอตอนป.4 เปลี่ยนครูประจำชั้นคนใหม่ เท่านั้นแหละ ตอนมีนัดคุยกับผู้ปกครอง ครูป.4 บอกให้เราพิจารณาคลาส 知的学級  เพราะดูเหมือนลูกชายเราจะเรียนไม่ทันเพื่อน  

เรากับสามีไม่รอช้าเลย เปลี่ยนก็เปลี่ยน เพราะลูกเราคงไม่ถูกจริตกับครูคนใหม่นี้ การเรียนแย่ลง  สมาธิสั้นมากขึ้น  คือทุกอย่างแย่ลงกว่าตอน ป.3 มาก แล้วเราก็มารู้ภายหลังเพราะมีแอบไปรับลูกถึงห้องเรียนก่อนเวลา (เพราะต้องพาไปโรงพยาบาล) รู้เลยว่าครูให้เล่นโน้ตบุ๊ค (นักเรียนทุกคนจะมีกันคนละเครื่อง) 

แล้วไม่ได้ให้เล่นแป๊ปเดียวนะ  ลองถามลูก  ลูกบอกเล่นเกือบทั้งวัน แล้วน่าจะทุกวัน  โห นี่สินะที่มาของอาการแย่ลง

เลยขอครูว่าถ้าเป็นไปได้ ไม่อยากให้เล่นนอกเหนือจากที่ใช้เรียน  ครูตอบว่าถ้าไม่ให้เล่น  เด็กจะเครียด ครูเขายืนยันว่าจะยังคงให้เล่นต่อไปเพื่อไม่ให้เด็กเครียด นี่คือวิธีการของเขา

เรากับสามีคือทำอะไรไม่ได้ นอกจากอดทน 1 ปี  เพราะการย้ายคลาสต้องรอขึ้นชั้นถัดไปถึงย้ายได้ มีแม่คนญี่ปุ่นที่ลูกเขาอยู่คลาสเดียวกันกับลูกเราบอกเราว่าปีหน้าเขาจะย้ายโรงเรียนแล้วนะ  เหตุผลเราไม่กล้าถามนะ  แต่น่าจะมาจากครูประจำชั้นคนใหม่คนนี้ คิดว่านะ

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากังวลมากเลยกับชั้น ป.5 นี้ ก็คือครูประจำชั้น  เพราะถ้าเจอครูที่ดี ใส่ใจนักเรียนเด็กพิเศษ เด็กก็จะพัฒนาต่อไปอีกได้ แต่ถ้าเจอเหมือนตอนป.4 น่าสงสารเด็กมากอ่ะ  แทนที่จะได้รับการช่วยเหลือให้พัฒนาให้ดีขึ้นกลับแย่ลง แล้วเด็กโต ก็ค่อนข้างแก้ยากอยู่แล้ว

ขึ้นป.5 สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

1. จาก情緒学級 เป็น 知的学級

2. เพื่อนร่วมชั้น 

3. ครูประจำชั้น

ก็ขอให้ลูกเราเจอครูที่เมตตา ต้องการพัฒนาเด็กให้ดีขึ้น แล้วก็ขอให้เจอเพื่อนร่วมชั้นที่เข้ากันได้ดีด้วยเทอญ 

ภาพด้านล่าง การบ้าน  งานประดิษฐ์ตอน ป.4 บางส่วน เก็บไว้เป็นความทรงจำ

แต่งานประดิษฐ์ครูผู้ช่วยเป็นคนทำซะส่วนใหญ่  ก็คงต้องทิ้งไป  เพราะไม่ใช่ฝีมือลูกตัวเอง













วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567

เพิ่มความรู้ให้ตัวเอง สำหรับสอนการบ้านให้ลูก

 วันนี้พาลูกชายไปขึ้นรถไฟ ไปห้างแถว ๆบ้านก่อนกะว่าถ้ามีเวลา วันหยุด จะค่อย ๆ พาเขาไปที่ที่ไกลขึ้นหน่อย  อยากให้เขาฝึกการขึ้นรถไฟไปไหนเองได้  เพราะส่วนใหญ่เรากับสามีจะขับรถพาเขาไป  พอเขาจะขึ้นป.4 รู้สึกว่าจะต้อง เตรียมอะไรหลาย ๆอย่าง 

อาจจะเพราะมีเรื่องม.ต้นที่เคยไปฟัง  ฟังแล้วลูกเรายังทำอะไรเองไม่ได้เยอะมาก เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้เลยต้องพยายามฝึกลูกให้มากกว่านี้

วันนี้เข้าร้านหนังสือได้ 2 เล่มนี้มา ก่อนอื่นเราต้องอ่านเลย เพราะตอนนี้ป.3 ตอนสอนการบ้านลูก จะมีปัญหามาก  ตอน ป.1 ป.2 ยังไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่. พอตอนป.3 นี่แหละ. อธิบายศัพท์ไม่ถูก. ได้แต่เขียนวิธีการให้ แต่ลูกเราเขาก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดี  เราเลยเริ่มหงุดหงิด  แล้วตามมาด้วยอารมณ์  สอนปนน้ำตา (ลูกชาย)   

ต่อไปเราคงต้องใจเย็นและศึกษาภาษาญี่ปุ่นให้มากกว่านี้








วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567

ชุดของเด็ก ๆ (หญิง ชาย) ที่จะใส่ในวันปฐมนิเทศขึ้น ป.1 โรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น

ชุดของเด็ก ๆ (หญิง ชาย) ที่จะใส่ในวันปฐมนิเทศขึ้น ป.1 โรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่นในเดือนเมษายน  ตอนนี้มีขาย น่ารักมาก ๆ ตอนลูกเราอนุบาล ไม่ได้ใส่ชุดแบบที่เขาขาย ทางโรงเรียนให้ใส่ชุดนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลเลย แต่ตอนจะขึ้นป.1 ก็ไปหาซื้อชุดแบบนี้เหมือนกัน ลูกเราเป็นเด็กผู้ชาย ก็มีให้เลือกไม่เยอะเท่าไหร่ ก็คือใส่แบบสูท เลือกไม่ยากเลย แต่ของเด็กผู้หญิงน่ารัก ๆ ทั้งนั้นเลย เป็นเราก็คงเลือกไม่ถูกเหมือนกัน












 

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

่ชุดที่แม่แม่ใส่ตอนวันปฐมนิเทศที่โรงเรียนที่ญี่ปุ่น

 นี่ก็ใกล้จะปิดเทอมใหญ่กันแล้ว อย่างชั้นอนุบาล 3 ก็จะจบไปขึ้นป. 1  ชั้นป.6 ก็จะจบไปขึ้นชั้นม. ต้น

เด็กเข้าอนุบาล 1  กับเด็ก ป.1 (เอาจากประสบการณ์ตัวเองนะ) ก็จะไปเรียนในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เพื่อนใหม่ ผู้ปกครองแม่แม่ก็ต้องไปหาซื้อเสื้อผ้ามาใส่ในตอนที่ลูกจะขึ้น อ. 1  ขึ้น ป.1  

แล้วตอนจบ อ.3 เราก็ไปเสื้อแค่สูทที่สีออกเทา ๆ มาใส่ตอนลูกจบชั้น อ. 3  

ตอน อ.1 กับ ป.1 เป็นการเข้าเรียน เราเลยเลือกสูทแบบสีครีม ๆ อ่อน ๆ 

ตอนนี้ทางร้านก็ขายชุดที่ว่านี้เยอะมาก เราเลยเก็บมาฝากเผื่อเป็นแนวเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะ





วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564

หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น

หนังสือเรียนและอุปกรณ์ที่ใช้ตอนป.1 
(อุปกรณ์บางตัวก็ใช้ตลอดไม่เฉพาะแค่ตอนป.1)

กล่องใส่อุปกรณ์ วางไว้ใต้โต๊ะเรียน










แผ่นรอง กล่อง ดินน้ำมัน




กล่องดิอสอ โรงเรียนกำหนดมาให้ประมาณนี้




ดินสอให้ใช้ 6B





แผ่นรองเขียน  






อุปกรณ์การเรียนก็จะเก็บใส่กล่องนี้ กล่องนี้จะเป็นเหมือนลิ้นชัก เพราะจะวางไว้ช่องด้านล่างของโต๊ะเรียน จะเอาไปตอนโรงเรียนเปิดเทอม แล้วก็ใช้จนกว่าจะปิดเทอม เอากลับมาบ้าน พอเปิดเทอมใหม่ก็จะเอาไปที่โรงเรียน