ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าเราสงสัยว่าลูกเราจะต่อมอะดีนอยด์โตหรือเปล่า เพราะลูกเราพัฒนาการช้าตั้งแต่เล็ก ก็เลยหาข้อมูลของญี่ปุ่นว่าเราจะช่วยเรื่องพัฒนาการของลูกเรายังไง ก็มีข้อมูลทางเน็ตว่าอาจจะเกี่ยวกับต่อมอะดีนอยด์โตด้วย ก็เลยเอาเรื่องนี้ไปถามคุณหมอหู คอ จมูกที่ญี่ปุ่น คุณหมอที่นี่ก็บอกว่าเด็กยังเล็กเกินไป (4 ขวบ) แล้วเด็กเล็ก ๆ ก็จะมีต่อมอะดีนอยด์โตอยู่แล้ว พอโตขึ้นสัก 10 ขวบก็จะเล็กลง ปกติเอง ก็คือคุณหมอเขาไม่ตรวจให้อ่ะนะ เลยลองหาข้อมูลทางไทยดู โชคดีมากที่ลูกสาวของลูกพี่ลูกน้องเราเขาก็เคยผ่าตัดตอน 5 ขวบมาแล้ว เลยแนะนำโรงพยาบาล และคุณหมอมาให้
ปีนั้นพอกลับมาที่ไทย ก็พาลูกเรา (4 ขวบ) ไปโรงพยาบาล แล้วก็ระบุคุณหมอท่านนั้นด้วย คุณหมอเข้าเย็น ก็มาได้ตรวจอีกทีก็เกือบ 1 ทุ่ม ผลเอ็กซเรย์ คุณหมอบอกว่าโตจริง น่าจะได้รับการผ่าตัด แต่เราอยู่ไทยแค่ 10 วัน ก็เลยคุยกับคุณหมอให้ออกใบรับรองแพทย์ให้ เผื่อจะได้มาคุยกับคุณหมอที่ญี่ปุ่นเรื่องการผ่าตัด่ต่อ คุณหมอที่ไทยก็เลยให้ยาปฏิชีวนะมา 1 เดือน แล้วก็บอกว่าถ้าทานยาแล้วยุบลงก็ไม่จำเป็นต้องผ่า ก็ลองไปเอ็กซเรย์ที่ญี่ปุ่นดู
พอกลับมาที่ญี่ปุ่น พอครบเดือนยาที่ไทยหมด ก็หาโรงพยาบาลที่เขาดูเรื่องต่อมอะดีนอยด์ แถวบ้านเราไม่มี ต้องนั้งรถไฟไปอีก 2 สถานีถึงจะมี ที่นี่เป็นอะไรที่เข้าโรงพยาบาลรักษายากมาก ถ้าไม่มีใบรับรองแพทย์มา ที่ยากมาก ๆ เพราะเขาจะไม่รับคนไข้ต่อจากที่อื่น โชคดีที่เรามีใบรับรองมาจากที่ไทย ก็เลยได้เข้ารักษา (ของเด็กที่ญี่ปุ่นจะรักษาฟรี) ก็เลยให้คุณหมอที่ญี่ปุ่นดู CD ของฝั่งไทย เขาก็บอกว่าโต ก็เลยให้ไปเอ็กซเรย์อีกครั้ง ก็สรุปว่าโต ก็เลยได้รับการรักษาต่อเนื่อง แต่หมอที่ญี่ปุ่นยังไงก็ไม่ยอมผ่าตัดให้ บอกลูกเรายังเล็ก (คิดอยู่เลย แล้วทำไมที่ไทยเขาผ่าตัดให้ได้ เซ็ง)
สรุปก็ให้ทานยาปฏิชีวนะไปเรื่อย ๆ 3 เดือน แล้วก็ไปตามนัด (ยาหมด) ทานยาตัวนี้เป็นปี ก็เปลี่ยนเป็นยาแก้แพ้ ก็ให้แต่ยาแก้แพ้มาตลอด 3 ปี ก็คือจากวันที่ไปเอ็กซเรย์ที่ไทย ก็ทานแต่ยามาตลอดเกือบ 5 ปี เคยถามเรื่องการผ่าตัด คุณหมอก็จะอ้างเหตุผลว่าลูกเรายังเล็ก แล้วอีกอย่างอยู่ไม่นิ่งด้วย ตอนผ่าตัดอาจจะมีปัญหา แล้ววันนึงคุณหมอญี่ปุ่นก็มาบอกว่าไม่ต้องนัดมาแล้วก็ได้นะ ถ้ามารับแต่ยา สามารถไปยาที่คลินิคแถวบ้านก็ได้ อ้าว คือจะไม่ดูให้แล้วใช่มั้ย
ต่อมอะดีนอยด์โต เนี่ย (รู้สึกโมโห) ช่วงก่อนหน้านั้นก็ติดโควิด ไม่ได้กลับไทย 3 ปี ถ้าไม่ติดโควิด คงได้พาลูกเราไปตรวจและผ่าตัดที่ไทยเร็วกว่านี้แล้ว
จบที่มาของการรู้ว่าลูกมีต่อมอะดีนอยด์โต
พอได้แพลนกลับเมืองไทย เราก็ติดต่อกับโรงพยาบาลว่าจะต้องนัดล่วงหน้าหรือเปล่า โชคดีที่มาตรการโควิดเริ่มคลายความเข้มงวดแล้ว ก็เลยไม่ต้องนัดล่วงหน้า พยาบาลบอกว่า Walk in เข้ามาได้เลย ช่วงนั้นเราโทรถามกับโรงพยาบาล เป็นระยะ ๆ ว่าคุณหมอจะเข้ามั้ยวันนี้ เพราะเรามีเวลาจำกัด อย่างมากสุดก็ 3 อาทิตย์เอง (ช่วงลูกปิดเทอมหน้าร้อน)
ก็เลยแพลนว่าปิดเทอมปุ๊บ วันรุ่งขึ้นก็เดินทางเลย แต่เราไม่บอกให้ลูกเรารู้นะว่าจะพาเขาไปผ่าตัด เพราะเดี๋ยวเขาจะกังวล จะไม่ให้ความร่วมมือ
วันก่อนผ่าตัด (22 กค.)
พอลูกเรารู้แล้วว่าพามาที่โรงพยาบาล ความอยากอาหารก็ไม่มีเลยทั้งวัน ไม่ค่อยทานอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่จะต้องทานให้อิ่ม เพราะก่อนผ่าตัดต้องอดน้ำ อดอาหารหลายชั่วโมง พอเจอคุณหมอ ก็พาไปเอ็กซเรย์ ก็ปรากฏว่ายังโตอยู่ แต่เล็กลงกว่าเมื่อ 4 - 5 ปีที่แล้ว แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ใหญ่กว่าเด็กทั่วไป 30 % แล้วก็เหมือนว่าต่อมทอมซิลก็โตด้วยนะ ถ้าผ่าตัดก็จะดูให้ว่าทอมซิลโตหรือเปล่า ถ้าโตก็จะผ่าออกเลยทีแล้ว จากนั้นคุณหมอก็ให้ไปเช็คค่าใช้จ่ายกับการเงิน แล้วก็คุย ๆ เตรียมผ่าตัดวันรุ่งขึ้นเลย ่ของลูกเรา ผ่าเวลา 16.00 น. แต่ให้งดอาหารตั้งแต่ 8.00 น. แล้วก็ให้มาถึง รพ. 9 .00 น.
การเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการผ่าตัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น