วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เตรียมของเด็ก-หมวดผ้าอ้อม

พอเตรียมเสื้อผ้าเด็กแล้ว ก็มาเรื่องผ้าอ้อม
เราจะพยายามใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าในช่วงกลางวัน แล้วค่อยใช้แบบสำเร็จรูปในช่วงกลางคืน หรือตอนออกไปข้างนอก น่าจะประหยัดไปได้พอสมควร
ที่ซื้อมาแล้วก็จะมี

1. กางเกงผ้าอ้อม (おむつカバー) ซื้อมาทั้งหมด 4 ตัว


 แพ็ค 2 ตัวด้านล่างนี้ซื้อที่ Nishimatsuya ไซส์ 50-60 ราคา 1,498 เยน



ตัวลายสีน้ำเงินนี้คุณซูเลือกให้เลย 555 ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน


ตัวสีขาวซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน



แกะออกมาแล้ว หน้าตาจะแบบนี้

2. แผ่นรองซับ (布おむつ) ซื้อมาทั้งหมด 26 ผืน (แต่คิดว่าคงไม่พอ เดี๋ยวไปซื้อแพ็ค 10 ชิ้นมาเพิ่ม)


 2 แพ็คนี้ซื้อจากร้าน Nishimatsuya แพ็คนึงมี 10 ผืน ไซส์ S-M (เขาบอกว่าใช้ได้ถึงอายุ 6 เดือน) 
แพ็คละ 1,599 เยน 



พอแกะออกมาหน้าตาจะเป็นแบบตามรูปล่าง จะวางบนกางเกงผ้าอ้อม สำหรับรองซับพวกอึหรือฉี่



 แพ็คสีชมพูนี้ก็เป็นแผ่นรองซับ แต่พอคลี่ออกมาผืนค่อนข้างใหญ่เหมือนกัน มีทั้งหมด 6 ผืน ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 1,480 เยน


 คลี่ออกมาเป็นแบบนี้ ก็ต้องพับทบทั้งหมด 2 ชั้นให้ได้ขนาดเท่ากับกางเกงผ้าอ้อม


3. กระดาษรองอึ (おむつライナー)

ซื้อที่ร้าน  Akachanhonpo มีทั้งหมด 220 แผ่น ราคากล่องละ 680 เยน

 

4. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กแรกเกิด 1 แพ็ค (紙おむつ) มี 68 ชิ้น ราคา 1,280 เยน




 5. ทิชชูเปียกเช็คก้น (おしりふき)

ลองซื้ออันนี้มาใช้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าเด็กจะแพ้หรือเปล่า กล่องนี้มี 50 แผ่น ราคา 399 เยน
แต่น่าจะไม่พอแน่ ๆ คงต้องไปซื้อมาเพิ่ม


6. ที่รองสำหรับไว้เปลี่ยนผ้าอ้อม อย่างตอนออกไปข้างนอก (おむつ替えシート)

พอคลี่ออกมาจะขนาดเท่ากับเบาะเล็ก ๆ ซื้อที่ร้าน Akachanhonpo ราคา 1,542 เยน


7. ถุงใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วสำหรับทิ้ง (ตอนออกไปข้างนอก) หรือไว้ใส่ผ้าอ้อมผ้าที่เปียก เพราะสามารถเก็บกลิ่นได้ (おむつ処理用ポリふくろ) ซื้อที่ร้าน Nishimatsuya ราคา 159 เยน



8. ถังใส่ผ้าอ้อมที่ใช้แล้ว
เราซื้อมา 2 ใบ สำหรับผ้าอ้อมที่เปื้อนฉี่ กับผ้าอ้อมที่เปื้อนอึ ซื้อจากร้าน 100 เยน


9. น้ำยาซักผ้า(おむつ、肌着洗い洗剤)
ไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดี เลยซื้ออันนี้มาลองใช้ดูก่อน เป็นแบบเซ็ทคือมีรีฟิวด้วย ราคาอยู่ที่ 1,007 เยน


10. ไม้แขวนเสื้อสำหรับเด็ก (赤ちゃんハンガー)
มี 12 อัน ราคา 409 เยน



ในหมวดนี้น่าจะไม่มีอะไรแล้วน้า...



เตรียมของเด็ก - หมวดเสื้อผ้าและผ้าชิ้นเล็ก ๆ

พอท้องได้ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ก็เริ่มที่จะหาซื้อของใช้สำหรับเด็ก แล้วก็ของตัวเอง
โชคดีที่ไปเจอนิตยสารเล่มนึงที่จะบอกถึงว่าน่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างถ้าเด็กคลอดช่วงเดือนนี้ ๆ จะมีของอะไรบ้าง ถ้าเป็นที่เมืองไทยร้อนตลอดปีไม่ต้องดูเรื่องอากาศก็ดีเหมือนกันเนอะ  แต่ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องของฤดูเข้ามา แถมเด็กก็โตเร็ว (มีคนบอกมานะ) ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้ออะไรมาก อย่างของเราจะคลอดประมาณเดือน ก.ค. ของที่เราเตรียมก็จะมี

หมวดเสื้อผ้าเด็ก (ไซส์เด็กแรกเกิดถึงประมาณ 2 เดือน จะอยู่ที่ 50~60)

1. 短肌着 แบบแขนสั้น  6 ตัว, แบบแขนยาว 1 ตัว

(รูปบนแพคนี้เป็นแบบแขนสั้น มี 2 ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)

(รูปแพคบนนี้เป็นแบบแขนยาว มี 1ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)

 (รูปแพคบนนี้เป็นแบบเซ็ท มีหลาย ๆ อย่างปนกัน ทั้งหมด 10 ชิ้น ถ้าเป็น 短肌着 จะมี 4 ตัว ราคา 1,799 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


2. 長下着 1 ตัว, コンビ肌着 4 ตัว, 半袖コンビドレス 1 ตัว

จะมีที่อยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น แล้วก็ที่ซื้อแยกแบบนี้

(รูปแพคบนนี้จะเป็น コンビ肌着 มี 2 ตัว ราคา 899 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


 (รูปนี้จะเป็น 半袖コンビドレス มี 1 ตัว ราคา 779 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


ผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่ควรมี

1. หมวก (ใช้ของคุณซูตอนเล็ก ๆ) ^ ^
2. ถุงเท้า 1 คู่ 
3. ถุงมือ (ミトン) 1 คู่ (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
4. ผ้ากันน้ำลาย (スタイ หรือ よだれかけ) 2 ชิ้น  (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
5. ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)=> โรงพยาบาลจะมีให้ตอนออกจากโรงพยาบาล ก็เลยยังไม่ซื้อ



รูปข้างล่างนี้จะเป็นของคุณซู คุณแม่เขาเก็บอย่างดีเลย ^0^



ส่วนหมวดอื่น ถ้าเตรียมครบแล้ว จะทยอยอัพนะคะ ^^



 



วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (แล้วแต่ที่นะ) (入院案内)

พออายุครรภ์ครบ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ถ้านับไทยก็ 6 เดือน ก็จะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมของตอนที่เราอยู่โรงพยาบาล  ของใช้สำหรับเด็ก และของตอนที่ออกจากโรงพยาบาล
ก่อนอื่นเราก็เอาเอกสาร (คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (入院案内)) ที่ได้รับจากโรงพยาบาลเมื่อตอนไปตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 มาดูอีกครั้งนึง เพราะจะมีของบางอย่างที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เราจะได้ไม่ต้องเตรียมเยอะ
เนื้อหาในเอกสารจะมีเรื่อง
-การตรวจครรภ์
โดยปกติแล้วตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะตรวจ 4 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จนถึง 35 สัปดาห์ จะตรวจ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป จะตรวจ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง
แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ อย่างเลือดออก น้ำคร่ำเดิน ท้องแข็งเป็นเวลานาน ก็ต้องรีบไปหาหมอ


-สัญญาณแสดงว่าใกล้คลอด
น้ำคร่ำเดิน, เลือดออก, ถ้าเป็นท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด 10 นาทีต่อครั้ง ถ้าไม่ใช่ท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด ตั้งแต่ 10 นาที - 15 นาทีต่อครั้ง
※แต่ถ้ามีอาการที่ผิดปกตินอกเหนือจากนี้ แล้วไม่ใช่ช่วงเวลาที่ตรวจของทางโรงพยาบาล ก็จะต้องโทรศัพท์ไปก่อน


-ของที่ต้องเตรียมไปตอนที่เข้าโรงพยาบาล (แล้วแต่โรงพยาบาล)
สิ่งที่เราต้องเตรียมไปเอง : สมุดสุขภาพแม่และเด็ก, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรคนไข้, อิงคัง (ตราประทับชื่อหรือนามสกุลของเรา), เข็มขัดคาดเอวหลังคลอด 



ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (แล้วแต่โรงพยาบาล)
ชุดนอน (お寝巻)、ผ้าขนหนู (バスタオル)、ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดหน้า (フェイスタオル)ซึ่งจะเปลี่ยนให้ทุกวัน,
เสื้อคลุมยาว (ガウン)、กางเกงใน (ショーツ) 2 ตัว、เสื้อใน (ブラジャー)2 ตัว、แผ่นซับน้ำนม (マニーパット)、ผ้าอนามัย (ナプキン(LSM))、ตะเกียบ (お箸)、ของใช้อย่างแปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ที่แปรงผม, ถ้วยน้ำ, ทิชชู) (洗面用具:ハブラシ、歯磨き粉、ヘヤーブラシ、コップ、ティッシュ)、สลิปเปอร์ (スリッパ)、
เซ็ทของที่จำเป็นในการคลอด (お産セット)、สำลีทำความสะอาด (清浄綿、消毒綿)
※ในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมเบบี้แวร์ (ベビーウェアー)、ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)、ของขวัญในการคลอดลูกไว้ให้
※ที่ห้องอาบน้ำ จะมีพวกยาสระผม สบู่อาบน้ำ โลชั่นเตรียมไว้ให้


-ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาล
ประมาณ 5 วัน วันที่คลอดถือเป็น 1 วัน
ในกรณีที่ผ่าคลอดจำนวนวันที่อยู่จะแตกต่างออกไป


ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ อาจจะดูเหมือนครบแล้ว แต่เราก็คิดว่าคงเตรียมของตัวเองไปด้วยเป็นการเผื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกถ้าบังเอิญขาดขึ้นมา


แล้วก็ต้องดู ๆ ตามนิตยสารแม่ลูกว่าส่วนใหญ่เขาเตรียมอะไรสำหรับทารกบ้าง แล้วก็คงต้องทำเป็นรายการออกมา เพราะเคยไปเดิน ๆ ดู เลือกไม่ถูกว่าต้องใช้อะไรบ้าง ภาษาญี่ปุ่นเรียกแบบนี้หน้าตาเป็นยังไง เพราะอยากซื้อแค่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะเดี๋ยวพอเปลี่ยนฤดูก็ต้องหาซื้ออีก
+กับเดี๋ยวเดือน เม.ย. นี้ภาษีผู้บริโภคขึ้นอีก 3 % เป็น 8% ของบางอย่างที่ใหญ่ ๆ หรือซื้อมาก่อนได้ ก็คงต้องรีบซื้อ  แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะเอาที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ดีกว่า...เนอะ

























วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

เริ่มต้นทำสวนหลังจากที่หมดหน้าหนาวแล้ว (By คุณซู)

หลังจากที่หน้าหนาวผ่านไป คุณซูก็เริ่มที่จะทำสวนหละ นอกจากคุณซู เราก็เห็นผู้ชายข้างบ้านเริ่มทำสวนเหมือนกัน ตลาดต้นไม้เริ่มกลับมาคึกคัก คนเริ่มมาหาซื้อต้นไม้ไปปลูกกัน เราก็มีซื้อมาบ้างเหมือนกัน ให้คุณซูช่วยปลูกให้หละ ดอกไม้ 3 สี (จริง ๆ มีหลายสีมาก ๆ ) เป็นต้นไม้ที่ต้องการแดด
ชื่อดอกไม้ "เปจูนีอะ" (ペチュニア) ต้นละ 68 เยน






แล้วก็มาต่ออีกร้านนึง ร้านนี้มีขายดอกไม้เป็นช่อ ๆ แช่น้ำ มีต้นซากุระแช่น้ำด้วย คุณซูก็เลยซื้อมา ต้นละ 598 เยน กะจะดู Hanami (花見) ที่บ้าน แล้วค่อยลองเอาไปปลูกลงดิน แต่ไม่รู้ว่าจะขึ้นหรือเปล่า









ต้นซากุระที่บ้านก็มีดอกตูมหล่ะ แต่ยังเป็นต้นเล็กอยู่เลยออกไม่เยอะเท่าไหร่





ต้นทิวลิปกับซุยเซนก็โตขึ้นหล่ะ รอออกดอก (แต่ไม่รู้เมื่อไหร่) ^^






กำลังทำค้างอยู่เลย



เป็นรูปเป็นร่างมากกว่านี้เดี๋ยวมาอัพใหม่ ^^






















วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

ได้เข้าร้านซูชิแล้ว (หลังจากที่ไม่ได้เข้านานมาก ๆ)

ตั้งแต่ท้องก็ไม่ได้แวะไปทานซูชิหมุนเลย เพราะว่าเป็นปลาดิบอ่ะเนอะ ก็เลยเลี่ยงดีกว่า
ซึ่งจริงๆ แล้วทางเจ้าหน้าที่ที่อบรมคอร์สคุณแม่ก็บอกว่าทานได้ แต่ไม่ควรทานที่ปริมาณเยอะ ๆ 
ซึ่งอย่างนั้นก็เถอะ เราก็ขอเลี่ยงดีกว่า
จนวันนี้อดใจไม่ไหว ชวนคุณซูไปทานแต่ก็ต้องอดใจเลือกเฉพาะอย่าง อย่างวันนี้เราเลือกทาน
1. แซลมอนย่างขอบ (焼きはらす)  2 จาน
2. ปู (かににぎり)           1 จาน
3. กุ้งอะโวคะโด้  (えびアボカド)       1 จาน
4. ปลาไหล  (あなご)                     1 จาน
5. นัตโตะ   (納豆)                         1 จาน
6. ปลาอะจิ   (あじ)                        1 จาน
7. อุด้ง   (うどん)                           1 ชาม

จริง ๆ เราจะชอบ มะงุโระ มาก ๆ แต่เพราะเป็นปลาตัวใหญ่ (ปลาตัวใหญ่จะมีพวกสารปรอทเยอะกว่า) ก็เลยต้องอดใจไว้ก่อน 

แล้ววันที่  28 มี.ค. เอาอีกแล้ว เข้าร้านอีกรอบ (><) คราวนี้ก็ทาน

1. แซลมอนย่างขอบ (焼きはらす)  1 จาน
2. ปู (かににぎり)           1 จาน
3. กุ้งอะโวคะโด้  (えびアボカド)       1 จาน
4. ปลาไหล  (あなご)                     1 จาน
5. นัตโตะมาคิ   (納豆巻)                0.5 จาน เพราะแบ่งกับคุณซู
6. ปลาอิวะชิ (真いわし)                  1 จาน
7. อิกะเทมปุระ (いか天手巻寿司)   1 จาน

เราถ่ายเมนูมาดูประกอบด้วย จะได้รู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง แล้วเดี๋ยวครั้งต่อไป จะทานที่เมนูที่ยังไม่เคยลองมาก่อน  จะได้ลดความอยากลงได้บ้าง อิอิ
หลังจากทานเสร็จ เจ้าหนูนี่ดิ้นตอบรับเลยสงสัยคงชอบ^-^






วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไปฟังคอร์สอบรมแม่ของสำนักงานเขต ครั้งที่ 4 (พูดเกี่ยวกับการเจ็บเตือน และการคลอด)

ไปฟังครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว แต่หลังจากคลอดเหมือนทางสำนักงานเขตก็จะมีไปรษณีย์บัตรนัดให้ไปเจอกันกับพวกแม่ ๆ เพราะพอจบการอบรมครั้งนี้ ก็มีไปรษณีย์บัตรเปล่ามาให้เขียนชื่อและที่อยู่ เพื่อจะได้แจ้งกำหนดการมาให้เราได้

เนื้อหาของการอบรมครั้งนี้ ตอนแรกก็จะให้เราดูวีดีโอตอนที่คลอด  โดยจะเน้นให้ดูตอนที่คลอดว่าจะต้องหายใจเข้า หายใจออกยังไง ตอนที่หัวเด็กออกมาแล้วให้ทำยังไง พอดูเสร็จรู้สึกกลัวแล้วก็กังวลขึ้นมาเลย กลัวเจ็บ กังวลว่าเราจะทำแบบนั้นได้หรือเปล่า...

เจ้าหน้าที่บอกว่าช่วงที่เบ่ง พอสูดลมหายใจเข้าไปแล้ว ตอนที่จะเบ่งออกให้ปิดปาก เพราะถ้าเปิดปากหายใจออกลมเบ่งก็อาจจะผ่อนลงไปด้วย (ถ้าฟังแล้วเข้าใจไม่ผิดนะ ถ้าผิดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย)
แล้วช่วงที่หัวของเด็กเริ่มออกมาแล้ว ไม่ต้องหายใจเข้าแรง ๆ ให้พยายามมองด้านล่าง เพราะช่วงนี้หัวเด็กจะออกมา แล้วก็พยายามอย่าปิดตา เพราะเหมือนถ้าเราปิดตา แรงมันจะขึ้นไปที่ตาด้วย (ถ้าฟังแล้วเข้าใจไม่ผิดนะ ถ้าผิดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย)

หลังจากที่ดูวีดีโอจบแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะพูดถึงเรื่องของการเจ็บเตือน
ในเอกสารที่ได้รับแจก จะบอกว่าการคลอดจากกำหนดวันคุณหมอบอกล่วงหน้าก่อน 3 อาทิตย์หรือช้ากว่านั้น 2 อาทิตย์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ในการเจ็บเตือนนั้นจะทิ้งช่วงเจ็บท้องประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วค่อยปวดใหม่ประมาณ 10-15 นาทีสำหรับท้องแรก แต่ถ้าคนที่เคยคลอดมาแล้วจะทิ้งช่วงเจ็บท้องประมาณ 1-1.5 ชั่วโมงแล้วค่อยปวดใหม่ ถ้าเป็นแบบนี้ถือเป็นสัญญาณเตรียมคลอด ช่วงนี้ก็อาจจะเช็คของใช้ที่จะต้องนำไปโรงพยาบาลว่าเรียบร้อยดีมั้ย แต่ถ้ามีน้ำไหลออกมาให้รีบติดต่อโรงพยาบาล แล้วลองไปโรงพยาบาลดู ถ้าไม่มีอะไรคุณหมออาจจะให้กลับบ้านไปก่อน
แต่ถ้าเจ็บทุก ๆ 7-10 นาทีในท้องแรก และ 10-15 นาทีสำหรับคนที่เคยคลอด ให้ดูอาการประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าเจ็บรุนแรงขึ้นให้รีบไปโรงพยาบาล

และมีเรื่องนึงที่เราก็เพิ่งรู้จากเจ้าหน้าที่ว่า ตอนที่คลอดนอกจากแม่แล้วที่พยายามเบ่งคลอด เด็กเองก็พยายามที่จะออกมาเหมือนกัน ฟังแบบนี้แล้วก็รู้สึกทั้งแม่และเด็กต่างก็พยายามด้วยกันทั้งคู่เลย ^0^

ปล. หลังจากที่คลอดแล้วอกจะร้อน ๆ ประมาณ 3-4 วัน
ถ้าต้องการจะให้ปากมดลูกเปิดง่ายขึ้นเพื่อเตรียมคลอด ควรที่จะนวดหัวนม อกในอายุครรภ์ที่เดือน 10 (นับแบบญี่ปุ่น) ให้นวดบ่อย ๆ นวดเบา ๆ


เนื้อหาในวันนี้ก็มีประมาณเท่านี้

สิ่งที่นำไปด้วย
1. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก
2. อุปกรณ์การเขียน







วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไปอบรมคอร์สคุณแม่ของโรงพยาบาลครั้งที่ 2 (อาการผิดปกติในขณะตั้งครรภ์, อาหาร, กายบริหาร)

คอร์สคุณแม่ของโรงพยาบาลครั้งที่ 2 นี้จะสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 6-7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น)
เนื้อหาในครั้งนี้จะพูดถึงเรื่องอาการผิดปกติในขณะตั้งครรภ์  อาหารในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาส 2  อาหารตอนที่ให้นมลูก  และการบริหารร่างกายเพื่อเตรียมคลอด


อาการที่ผิดปกติจะเน้นเรื่องการปวดท้อง ถ้าใน 1 วันปวด 2-3 ครั้งก็ถือว่าไม่เป็นไร ให้พัก แต่ถ้าใน 1 ชั่วโมง ปวด 2-3 ครั้งนี่ถือว่าไม่ดีให้ไปโรงพยาบาล


สำหรับในเรื่องอาหารในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้จะเน้นธาตุเหล็ก และแคลเซียม และก็ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้ครบ 3 มื้อ ใน 1 วัน


ส่วนในช่วงให้นมลูก อาหารที่ทำให้เลือดของแม่ไม่ข้นมาก ไหลดี จะมีพวกผัก พืชตระกูลถั่ว เนื้อสัตว์ สาหร่าย สารอาหารที่มี DHA. EPA
และผักนั้นควรที่จะทานในตอนเช้า และกลางวัน ไม่ควรที่จะทานตอนเย็น เพราะจะทำให้ร่างกายเย็น
และก็มีผักที่ทำให้ร่ายกายอุ่น เช่น กระเทียม หอม หัวไช้เท้า ขิง เป็นต้น


และสำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ต้องการจะควบคุมในเรื่องของอาหาร อยากให้น้ำหนักกลับมาเหมือนเดิม เจ้าหน้าที่แนะนำให้คิดเรื่องนี้หลังจากที่คลอดไปแล้ว 3 สัปดาห์


สำหรับการบริหารร่างกายเพื่อเตรียมคลอดจะคล้าย ๆ ของที่สำนักงานเขตเลย (ตามลิ้งค์)
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/03/3.html


สิ่งที่เอาไปด้วยในวันนี้
1. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก
2. อุปกรณ์การเขียน
3. เอกสารที่ทางโรงพยาบาลแจกมาในครั้งแรก







วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไปฟังคอร์สอบรมแม่ของสำนักงานเขต ครั้งที่ 3 (พูดเกี่ยวกับฟัน และสอนท่าที่ช่วยทำให้การคลอดง่ายขึ้น)

ในครั้งที่ 3 นี้จะอบรมช่วงบ่าย ครั้งนี้ครึ่งแรกจะพูดถึงเรื่องการฟัน  ส่วนครึ่งหลังจะเป็นการสอนท่าที่ช่วยทำให้การคลอดง่ายขึ้น


เนื้อหาที่พูดถึงในช่วงแรก


ปัญหาเกี่ยวกับฟันที่จะเกิดขึ้นเป็นพิเศษในช่วงที่ตั้งครรภ์  เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เป็นโรคปริทันต์ (โรคเหงือกอักเสบ) เพิ่มง่ายขึ้น นอกจากสาเหตุที่ว่าแล้ว ช่วงที่แพ้ท้อง หรือช่วงที่การทานอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ก็ส่งผลให้การดูแลช่องปากเป็นไปได้ยากขึ้น


ปัญหาเกี่ยวกับฟันที่จะเกิดขึ้นในช่วงหลังคลอดและช่วงเลี้ยงลูก  หลังจากที่คลอดลูกแล้ว คงไม่มีเวลาพอที่การดูแลฟันของตัวเอง และคงไม่มีเวลาพอที่จะไปหาหมอฟัน ก็จะทำให้ฟันของแม่นั้นผุได้ง่าย เมื่อฟันของแม่ผุ ก็จะส่งผลไปถึงลูกด้วย


ซึ่งจริงๆ แล้ว การดูแลฟันของแม่เป็นยังไงตั้งแต่ตั้งท้อง ก็มีผลต่อฟันของลูกตั้งแต่ตอนที่ลูกอยู่ในครรภ์แล้ว เพราะฟันของทารกในครรภ์เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ตอนที่อายุครรภ์ 6-7 สัปดาห์ ดังนั้นคุณแม่จะต้องดูแลฟันของตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังอาหารและก่อนนอนควรแปรงฟัน  ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์  ในการทานอาหารควรที่จะค่อย ๆ เคี้ยว


ฟันของเด็กจะขึ้นเมื่อไหร่นั้น ไม่ต้องสนใจว่าขึ้นช้าหรือเร็ว เพราะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย แต่ถ้าฟันขึ้นช้ามากให้ไปปรึกษาแพทย์




หลังจากที่เด็กคลอดออกมาแล้ว ช่วงที่ทำให้ฟันผุถ่ายทอดไปยังเด็กได้ง่ายก็คือช่วงที่เด็กอายุ 19 เดือน - 31 เดือน อย่างตอนที่เราจะป้อนอาหารให้เด็ก หรือก่อนที่จะให้เด็กทานอะไร พ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงก็อาจจะเอาเข้าปากของตัวเองก่อน เป่าให้หายร้อน แล้วค่อยให้เด็กทาน  ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้แหละ จะเป็นการถ่ายทอดฟันผุของคน ๆ นั้น ให้กับเด็ก


สารอาหารที่จำเป็นต่อฟันจะมี โปรตีน วิตามิน A,C,D  แคลเซียม


การดูแลฟันของเด็กตั้งแต่ที่เริ่มมีฟัน - 1 ขวบครึ่ง ก็คือการแปรงฟันให้เด็กโดยเลือกใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กอ่อน และพออายุครบ 1.5 ขวบแล้วก็พาไปตรวจฟัน


เนื้อหาที่พูดถึงในช่วงหลัง จะเป็นการสอนท่าที่ช่วยทำให้การคลอดง่ายขึ้น
ที่ญี่ปุ่นจะเน้นให้คลอดเอง จะไม่นิยมผ่าคลอด นอกจากกรณีพิเศษจริง ๆ เพราะฉะนั้นท่าที่สอนในวันนี้จะเป็นท่าที่ช่วยทำให้การคลอดง่ายขึ้น
ท่าขัดสมาธิ


 ท่าตั้งเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง แล้วยกก้นขึ้นแล้วลง




ท่ายกเข่าทั้ง 2 ขี้น แล้วก็เอียงวางกับพื้นข้างละ 5 - 10 ครั้ง พอทำเสร็จด้านนึง ก็ให้ทำแบบเดียวกันอีกด้านหนึ่ง


 ท่ายกเข่าข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้ววางราบกับพื้นประมาณ 5 - 10 ครั้ง พอทำเสร็จด้านนึง ก็ให้ทำแบบเดียวกันอีกด้านหนึ่ง





ท่าแมว (รูปกลับด้านไปหน่อย) สูดหายใจเข้าแล้วก้มหน้า ให้หลังโก่ง ๆ แล้วก็เงยหน้าขึ้นพร้อมกับปล่อยลมหายใจออก ประมาณ 10 ครั้ง






ท่านอนที่ช่วยให้ผ่อนคลาย (รูปกลับหัวไปหน่อย) แล้วแต่ว่าคุณแม่ตะแคงนอนด้านไหนแล้วทำให้รู้สึกดี ก็นอนด้านนั้น



เนื้อหาวันนี้ก็ประมาณนี้ค่ะ

สิ่งที่ต้องนำไปในวันอบรม
1. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก
2. อุปกรณ์การเขียน










วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

โรคแพ้เกสรดอกไม้ที่มาพร้อมกับฤดูใบไม้ผลิ

เราเริ่มรู้สึกว่าช่วงกลางวันจะนานขึ้น สังเกตได้จากพระอาทิตย์ตกช้าลง ซึ่งก็เป็นการดี เพราะจะได้อุ่นขึ้น แต่เรากลับรู้สึกว่าไม่เห็นจะอุ่นขึ้นเลย อย่างดูพยากรณ์ช่วงอาทิตย์นี้ อุณหภูมิก็ยังคล้าย ๆ กับช่วงหน้าหนาวอ่ะ มีสูงบ้างก็แค่เล็กน้อย
แต่ว่าคุณซูไม่ค่อยดีใจเท่าไหร่ เพราะพอเข้าฤดูนี้ก็จะเป็นโรคแพ้เกสรดอกไม้ (คะฟุงโช) ซึ่งเราว่าอีกหน่อยเราก็คงจะเป็น เพราะเห็นคนไทยคนอื่น ๆที่มาอยู่นาน ๆ  ก็เป็นกัน ดูจากคุณซูแล้ว รู้สึกทรมานเหมือนกัน
อาการคือ
จามบ่อย มีน้ำมูกตลอด
คันตา
หายใจลำบาก

ช่วงนี้ก็เลยเปลี่ยนจากทิชชูที่เคยใช้ เป็น โลชั่นทิชชู




ซื้อยาหยอดตาสำหรับโรคภูมิแพ้มาใช้



ซื้อตัวนี้มาแปะที่จมูกตอนนอนเพราะช่วยลดการคัดจมูก




ซื้อยาลดน้ำมูก ลดการจาม (เป็นยากลุ่มสำหรับโพรงจมูกอักเสบ) (รูปกลับด้านไปหน่อย)




ดมยาดมที่เราซื้อมาจากไทย
บ้วนปากทุกครั้งหลังจากกลับมาจากข้างนอก






ช่วงนี้ถึงอากาศจะดีมาก ๆ แดดออก ก็จะต้องตากผ้าในบ้าน เพราะกลัวละอองเกสรปลิวมาติดที่เสื้อ
เดี๋ยวคุณซูกะว่าถ้าไม่ดีขึ้นก็คงต้องไปหาหมอ
ก็ขอให้หายเร็ว ๆ นะ





วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตรวจครรภ์ครั้งที่ 5 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ที่ 20 สัปดาห์กว่า ๆ)

วันนี้มีนัดตรวจครรภ์ (อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ กว่า ๆ )
พอไปถึงเคาน์เตอร์ ก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก แล้วก็สมุดช่วยค่าตรวจ  จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะขอบัตรประกันสุขภาพ เพราะว่าเป็นการมาตรวจในเดือนใหม่
ขั้นตอนจากนั้นก็เหมือนเดิมคือ ไปเก็บปัสสาวะ แล้วก็วัดความดัน (ลืมบอกไปว่าที่ญี่ปุ่นจะให้เราความความดันเอง จะมีเครื่องวางอยู่แถว ๆ นั้น วัดเสร็จก็เอากระดาษที่ปริ้นท์ออกมายื่นให้พนักงาน)
จากนั้นก็รอเรียกพบคุณหมอ ระหว่างที่รอคุณหมอ (คุณหมอมีธุระที่ชั้น 2) นอนรอไปรอมา เริ่มปวดหลัง จริงๆ พยาบาลก็บอกให้นอนท่าสบาย ๆ แต่เราขี้เกียจพลิกไปพลิกมาเอง แหะ ๆ
พอคุณหมอมาถึงก็อัลตราซาวด์ดู ดูหลายมุม หลายด้านที่คุณหมอให้ดู  เจ้าหนูโตกว่าครั้งที่แล้วเยอะเชียว คุณหมอก็พูดว่า ครั้งต่อไปภาพถ่ายที่จะให้คงเห็นไม่เต็มตัวแล้ว เพราะเด็กจะโตขึ้นมาก
แล้วคุณหมอก็ให้ฟังเสียงหัวใจ เต้นแข็งแรงดี น้ำหนักของเจ้าหนูตอนนี้ก็ 398 กรัม คุณหมอไม่ได้พูดว่าตัวเล็กไปหรือใหญ่ไป แต่คุณหมอเตือนเราเรื่องน้ำหนักของแม่ เพราะจากครั้งที่แล้วที่มาตรวจ ผ่านไป 1 เดือน ขึ้นมาถึง 2.5 กิโล โดนคุณหมอให้ควบคุมน้ำหนัก (น้ำหนักก่อนท้องจนถึงตอนนี้ขึ้นมา 6.5 กิโล)
พอซาวด์เสร็จ เราก็มาปรึกษาคุณหมอเรื่องการตรวจฟันช่วงนี้ เพราะเริ่ม ๆ ปวดหน่อย ๆ เคยอ่านเจอว่าถ้าจะตรวจฟันให้ทำได้ประมาณช่วงอายุครรภ์ช่วงนี้ แต่คุณหมอที่นี่กลับไม่แนะนำให้ไปตรวจอ่ะ (ถ้าเป็นไปได้) เพราะเคยมีเคสที่ว่ามีคนไปตรวจที่คลินิคที่หนึ่งหลังจากนั้นก็ส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะถ้าจะไปตรวจกับคลีนิคที่ผู้หญิงคนนั้นไปตรวจด้วยแล้ว คุณหมอยิ่งไม่แนะนำเลย
สรุปเราก็เลยไม่ไปตรวจฟันแหละ รักษาความสะอาดของฟันให้บ่อยขึ้นแทน
ก็เป็นอันเสร็จการตรวจครรภ์วันนี้ ค่าตรวจ 1,820 เยน
แล้วนัดครั้งต่อไปก็อีก 4 สัปดาห์


อ้อเราลืมบอกไปว่าตอนที่ไปตรวจครั้งที่ 4 เราก็ปรึกษาคุณหมอเรื่องเจาะน้ำคร่ำ คุณหมอไม่แนะนำอ่ะ เพราะอะไรเราก็ฟังไม่ค่อยทันเหมือนกัน ก็เลยถามคุณซูเพื่อความชัวร์ว่า คุณหมอไม่แนะนำใช่มั้ยแล้วคุณหมอพูดว่าอะไร  คุณซูก็บอกว่าใช่แล้วก็อธิบายมา ซึ่งเราก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีว่าทำไม แล้วอีกอย่างคุณซูก็ไม่อยากให้เจาะด้วย ก็เลยไม่ได้เจาะ





วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไปฟังคอร์สอบรมคุณแม่ของสำนักงานเขตครั้งที่ 2 (พูดเรื่องอาหารที่ควรทานใน 1 วัน)

ครั้งที่ 2 ก็ยังคงนั่งเป็นกลุ่ม ๆ แต่ไม่ค่อยให้พูดเหมือนครั้งที่แล้ว ครั้งนี้เจ้าหน้าที่จะพูดถึงเรื่องของปริมาณอาหารที่จำเป็นในช่วงของการตั้งครรภ์ เอกสารที่ได้รับมาในครั้งนี้เยอะมาก จะบอกถึงว่าใน 1 วัน ควรทานอะไร ปริมาณกี่กรัม ถ้าทำได้อย่างที่เอกสารเขียนเราว่าก็ดีอ่ะนะ แต่เราคงทำไม่ได้แหง ๆ เลยคงเอาไว้มาดูอ้างอิงแล้วกัน
เริ่มจากการคำนวณหาพลังงาน (กิโลแคลอรี่) ปริมาณอาหารใน 1 วันที่จำเป็นต่อตัวเรา โดยวิธีคำนวณก็คือ
ขั้นตอนที่ 1  เอา ส่วนสูง (เมตร) * ส่วนสูง (เมตร) * 22  = น้ำหนักมาตรฐานของเรา


ขั้นตอนที่ 2  ให้นำน้ำหนักมาตรฐานของเรา * ค่ามาตรฐาน * ค่าระดับกิจกรรมประจำวัน = ปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายใน 1 วันก่อนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์
หมายเหตุของขั้นตอนที่ 2 ค่ามาตรฐาน ดูได้จาก ถ้าอายุ 18-29 ปี จะใช้ตัวเลข 22.1 มาคำนวณ,  แต่ถ้าอายุ 30-49 ปี จะใช้ตัวเลข 21.7 มาคำนวณ
ส่วนค่าระดับกิจกรรมประจำวัน ดูได้จาก ถ้ากิจกรรมประวันเป็นแม่บ้าน ทั้งวันจะนั่งเป็นส่วนใหญ่ จะใช้ตัวเลข 1.3 มาคำนวณ
ถ้ากิจกรรมประจำวันมีเดินบ้าง ทำงาน ยืน ๆ จะใช้ตัวเลข 1.5 มาคำนวณ
และถ้ากิจกรรมประจำวัน ทั้งวันจะยืนเป็นส่วนใหญ่ ใน 1 ชั่วโมงทำงานหนัก จะใช้ตัวเลข 1.7 มาคำนวณ


ขั้นตอนที่ 3 ถ้าช่วงตั้งครรภ์ ให้นำปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายใน 1 วันก่อนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ มาบวกกับตัวเลขต่อไปนี้ตามช่วงอายุครรภ์
ช่วงไตรมาสแรก ให้บวกเพิ่ม 50 กิโลแคลอรี่
ช่วงไตรมาสที่สอง ให้บวกเพิ่ม 250 กิโลแคลอรี่
ช่วงไตรมาสที่สาม ให้บวกเพิ่ม 450 กิโลแคลอรี่
ช่วงให้นมลูก ให้บวกเพิ่ม 350 กิโลแคลอรี่


ตัวอย่างสมมุติว่าเราสูง 1.63 เมตร อายุ 30 ปี เป็นแม่บ้านส่วนใหญ่จะนั่ง  ถ้าคำนวณตามข้างบนจะได้
ขั้นตอนที่ 1  =>   1.63 * 1.63 * 22 = 58.45
ขั้นตอนที่ 2  =>   58.45 * 21.7 * 1.3 =  1,648.87 กิโลแคลอรี่ ซึ่งจะเป็นปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายก่อนตั้งครรภ์
ขั้นตอนที่ 3 => ปริมาณอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในช่วงอายุครรภ์
ช่วงไตรมาสแรก 1,648.87+ 50 กิโลแคลอรี่  = 1,698.87 กิโลแคลอรี่
ช่วงไตรมาสที่สอง  1,648.87 + 250 กิโลแคลอรี่ =  1,898.87  กิโลแคลอรี่
ช่วงไตรมาสที่สาม  1,648.87 + 450 กิโลแคลอรี่ =  2,098.87  กิโลแคลอรี่
ช่วงให้นมลูก  1,648.87 +  350 กิโลแคลอรี่ = 1,998.87  กิโลแคลอรี่


จากวิธีคำนวณที่ว่ามา จริง ๆ เราก็ไม่ได้ดูละเอียดมากขนาดนี้ เพียงแต่รู้แค่เพียงว่า ที่ญี่ปุ่นเขาดูกันเป็นกรัม ๆ เป็นกิโลแคลอรี่กันเลย สุดยอดมาก ๆ
มิน่าถึงไม่ค่อยมีคุณแม่คนไหนที่อ้วนเลย (เท่าที่เห็นนะ)


ส่วนเรื่องน้ำหนักว่าควรขึ้นเท่าไหร่ ก็มีให้คำนวณด้วยนะ
คือเราจะต้องรู้ค่า BMI ของเราก่อน ซึ่งคำนวณได้จาก น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์  (กิโล) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร) แล้วหารด้วยส่วนสูง (เมตร)
ยกตัวอย่าง น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์เรา 56 กิโล ส่วนสูง 1.63 เมตร
ค่า BMI = 56/1.63/1.63 = 21.077
ซึ่งถ้าค่า BMI อยู่ในช่วง 18.5 - 24.9 ถือว่าปกติ น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์คือ 7-12 กิโล
ถ้าค่า BMI ตั้งแต่ 25.0 ขึ้นไป ถือว่าอ้วน น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์ควรประมาณ 5  กิโล
ถ้าค่า BMI น้อยกว่า 18.5  ถือว่าผอม น้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์คือ 9-12 กิโล
และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ลดให้เหลือเท่าเดิมก่อนตั้งครรภ์หลังจากที่คลอดแล้วประมาณ 6 เดือน


ก็คงเป็นเกร็ดความรู้ใหม่สำหรับเรา แต่เราจะทำได้ตามหรือเปล่านี่อีกเรื่องนึง 555


สิ่งที่ต้องนำไปด้วย
1. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก
2. อุปกรณ์การเขียน

















วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไปศาลเจ้า Suitengu (水天宮) ขอพรให้คลอดปลอดภัย

ทางบ้านคุณพ่อคุณแม่ของคุณซูจะพาพวกเราไปไหว้ขอพรให้คลอดปลอดภัยที่ ศาลเจ้า Suitengu (水天宮)ในวันที่ 8 ก.พ. แต่วันนั้นพยากรณ์อากาศบอกว่าจะมีหิมะตกก็เลยเลื่อนออกไป ซึ่งวันนั้นหิมะตกหนักมาก ๆ ในรอบ 13 ปี (ของโตเกียว) ก็เลยเลื่อนมาเป็นวันนี้แทน (22 ก.พ.)
ที่เลือกวันนี้เพราะดูปฏิทินเขียนว่าเป็นวัน 大安 ถือว่าเป็นวันดี
พอไปถึงคนเยอะมาก มีทั้งที่กำลังท้อง แล้วก็มีทั้งที่อุ้มลูกมา เพราะที่ศาลเจ้านี้จะขึ้นชื่อในเรื่องของการมาขอพรให้คลอดปลอดภัย และพอคลอดแล้วก็จะพามาขอบคุณ
ขั้นตอนแรกพวกเราก็จะไปที่โต๊ะสำหรับเขียน จะมีกระดาษให้เขียนอยู่ 2 แบบ ของเราเป็นแบบขอพรให้คลอดปลอดภัย ก็จะมีเขียนชื่อตัวเอง แล้วก็เลือกชุดที่ต้องการจะซื้อ เราก็จำรายละเอียดไม่ได้แล้วว่าชุดไหนเท่าไหร่ เพราะเราเลือกที่มีผ้าคาดด้วย (เต็มชุด) ของก็จะได้ประมาณรูปด้านล่างค่ะ
(ขอบคุณรูปจาก Google นะคะ)


แล้วก็เข้าคิวยื่นกระดาษใบนี้ให้เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็จะให้ของชุดนั้นมาให้เรา แล้วก็เขียนชื่อเราลงในกระดาษ ซึ่งกระดาษนี้จะนำไปทำพิธี รวม ๆ ทั้งหมดก็ 9,000 เยน
พอถึงเวลาทำพิธีรอบของเรา ก็เข้าแถวแล้วก็เข้าไปในห้องทำพิธี คุณซูก็เข้าไปด้วย เขาจะมีแจกกล่องเหล้าของเทพเจ้าด้วย นอกจากเราแล้วก็จะมีคนที่ท้องคนอื่น ๆ กับสามีเขาเข้าไปด้วย
ในพิธี ผู้ทำพิธีผู้ชาย (เราก็ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไร) ก็จะทำพิธี  แล้วเจ้าหน้าที่ผู้หญิงในห้อง ก็จะบอกว่าเราต้องทำอะไรบ้าง ช่วงนี้ให้ก้มหน้าทำความเคารพ ขอพร ช่วงนี้ทำอย่างนี้ ในระหว่างพิธีผู้ทำพิธีมีอ่านชื่อของคนที่ท้อง มีชื่อเราด้วย คิดว่าน่าจะเป็นการขอพรเทพเจ้าให้กับพวกเราอ่ะนะ ได้ยินชื่อตัวเองแล้วรู้สึกดีจัง
พอพิธีเสร็จก็มีให้แสดงความเคารพ เราก็อาศัยมองคนข้าง ๆ ว่าเคารพกี่ที ตบมือกี่ครั้งช่วงไหน
สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เวปนี้นะคะ
http://www.suitengu.or.jp/honour/index.html
หลังจากกลับมาบ้านแล้ว เราก็นำเครื่องรางที่มีสีแดงคาดตรงกลางมาวางไว้บนที่สูง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ส่วนเครื่องรางที่มีเชือกห้อย ก็เก็บไว้ในกระเป๋าพร้อมกับสมุดสุขภาพแม่และเด็ก
ส่วนที่เป็นผ้าคาด ก็นำมาคาดท้องในวัน Inu no hi



วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไปฟังอบรมคอร์สคุณแม่ของทางสำนักงานเขต ครั้งที่ 1 (รกในครรภ์)

ที่สำนักงานเขตเขาก็มีอบรมคอร์สคุณแม่ฟรีเหมือนกัน มีทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งก็ต้องโทรไปจองคอร์สเหมือนกัน
เขาจะจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งก็คือจะให้มีการคุยกันในกลุ่มแลกเปลี่ยนเรื่องของตัวเอง ฟังเรื่องของคนอื่น แล้วก็พูดให้กลุ่มอื่นฟังว่าเรื่องของคนกลุ่มนี้มีอะไรบ้าง เราเป็นคนต่างชาติคนเดียวในนั้น รู้สึกแปลก ๆ แต่ก็ถือว่ามาฟังเพื่อประโยชน์ของตัวเองอ่ะนะ
แล้วก็จากที่เราเป็นคนต่างชาติ ก็โชคดีไปที่ไม่ต้องเขียนสรุป แล้วก็ไม่ต้องเป็นตัวแทนพูดของกลุ่ม อิอิ
อย่างครั้งแรกนี้จะให้แนะนำตัวเอง บอกถึงเรื่องที่เราลำบากตอนท้องให้กับแม่ ๆ ในกลุ่มฟัง  แล้วเราก็ฟังแม่ ๆ ในกลุ่มพูดว่าลำบากอะไร ส่วนใหญ่จะก็เป็นเรื่องของการแพ้ท้อง
จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะพูดเรื่อง "รกในครรภ์" ว่า
1.ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดของแม่ และทิ้งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียอย่างยูเรียโดยผ่านทางรก พูดง่าย ๆ ก็คือรกจะเป็นตัวฟิวเตอร์นั้นเอง เพราะของเสียที่ว่าจะส่งกลับไปที่เลือดของแม่โดยผ่านรก และท้ายสุดไตของแม่จะก็เป็นผู้จัดการ
2. รกจะไม่นำของเสียที่มีอยู่ในเลือดของแม่ไปสู่ทารก ยกเว้นแต่แอลกอฮอล์กับสารนิโคติน ทั้ง 2 ตัวนี้จะผ่านรกเข้าสู่ทารกได้


ครั้งที่ 1 ของทางสำนักงานเขตก็จะพูดประมาณเท่านี้


และสิ่งที่จะต้องนำไปด้วยก็มี
1. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก เพราะจะมีปั้มวันที่ที่เข้าอบรมลงในสมุดด้วย
2. อุปกรณ์การเขียน






วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

戌の日(いぬのひ) (ธรรมเนียมของญี่ปุ่นเมื่อตั้งครรภ์ได้สัปดาห์ที่ 16)

ที่ญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมที่ว่าพอตั้งครรภ์ได้ 16 สัปดาห์ ก็จะเลือกวันที่เป็นวัน 戌(いぬ)แล้วก็จะคาดผ้าคาดท้อง ผ้าคาดท้องจะคาดเพื่อรองรับน้ำหนักของครรภ์ เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกบั้นเอวขยายใหญ่มากเกินไป เพื่อป้องกันการตึงของมดลูก  เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องเย็นช่วยให้ท้องอุ่น  ฯลฯ
ผ้าคาดเอวที่ขายตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป หน้าตาก็จะประมาณนี้ มีหลายแบบ หลายสีให้เลือก ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2,500 - 3,000 เยน






ส่วนวิธีการดูว่าวัน 戌(いぬ)ตรงกับวันที่เท่าไหร่ของเดือน เราก็จะดูว่าครบ 16 สัปดาห์ของเราตรงกับเดือนอะไร แล้วก็ดูที่ปฏิทินของเดือนนั้น ถ้าบ้านใครมีปฏิทินแขวนคล้าย ๆ ของจีนก็ให้ดูที่เขียนว่า いぬ แบบรูปข้างล่าง แต่ถ้าไม่มีก็เสริ์จจากอินเตอร์เน็ทก็ได้ค่ะ อย่างในรูปนี้วัน いぬ ก็จะตรงกับวันที่ 9


แล้วทำไมต้องเลือกวันที่เป็น いぬ เราก็ไปอ่านเจอ แต่ไม่รุ้ว่าจะแปลอ่านเข้าใจผิดหรือเปล่า ถ้าผิดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
คือว่าใน 12 ราศี สุนัข (ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า Inu เหมือนกัน) จะเป็นสัตว์ที่คลอดง่ายที่สุด ก็เลยเป็นที่มาของวันนี้ค่ะ

และการนับอายุครรภ์ว่ากี่เดือนแล้วของที่ญี่ปุ่นกับที่ไทยจะไม่ค่อยเหมือนกัน ที่ญี่ปุ่นจะนับแบบนี้ค่ะ
สัปดาห์ที่ 0-3  อายุครรภ์ 1 เดือน
สัปดาห์ที่ 4-7 อายุครรภ์ 2 เดือน
สัปดาห์ที่ 8-11 อายุครรภ์ 3 เดือน
สัปดาห์ที่ 12-15 อายุครรภ์ 4 เดือน
สัปดาห์ที่ 16-19 อายุครรภ์ 5 เดือน
สัปดาห์ที่ 20-23 อายุครรภ์ 6 เดือน
สัปดาห์ที่ 24-27 อายุครรภ์ 7 เดือน
สัปดาห์ที่ 28-31 อายุครรภ์ 8 เดือน
สัปดาห์ที่ 32-35 อายุครรภ์ 9 เดือน
สัปดาห์ที่ 36-39 อายุครรภ์ 10 เดือน (ช่วงที่คลอด)
ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลแนะนำให้เรานับเป็นสัปดาห์ดีกว่าที่จะนับเป็นเดือนค่ะ







วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไปฟังอบรมคอร์สคุณแม่ของทางโรงพยาบาล ครั้งที่ 1 (การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่และการดูแลทารกในครรภ์)

ทางโรงพยาบาลที่เราไปฝากครรภ์ เขามีคอร์สอบรมคุณแม่ฟรี แต่จะต้องลงทะเบียนก่อน เพื่อที่ว่าจะได้เตรียมเอกสารหรืออะไรให้เพียงพอ
ในการอบรมครั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง  ชั่วโมงแรกจะเป็นคุณหมอที่ตรวจเรามาบรรยาย เอกสารที่ใช้จะเป็นของโรงพยาบาล ซึ่งในเอกสารก็จะเขียนตั้งแต่ปฏิทินการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ที่จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับตอนที่ตั้งครรภ์ ความผิดปกติในระหว่างการตั้งครรภ์ ฯ ไปจนถึงการเปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำให้ลูก พูดง่าย ๆ ก็คือ เนื้อหาตั้งแต่ตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ หลังการคลอด ในครั้งแรกนี้คุณหมอก็พูดเรื่องที่ควรระวังหลังจากที่ผ่านช่วงไตรมาสแรกไปแล้ว  ซึ่งเราก็เก็บข้อมูลมาได้ตามนี้


เรื่องของการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ที่จะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับตอนที่ตั้งครรภ์
1. จะมีในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
2. เรื่องการเปลี่ยนแปลงกับผิวอย่างที่รักแร้ ที่แขน ที่หน้า คุณหมอแนะนำให้ทาครีมกันแดดที่ค่า SPF ไม่เยอะที่หน้าและที่แขน เพราะถ้าเกิดเป็นฝ้าแล้วจะรักษาหายยาก  ส่วนเส้นตรงที่ขึ้นตรงกลางท้องนั้นจะหายไปเองภายใน 2-3 เดือนหลังจากคลอด
3. การเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก ควรจะอยู่ที่บวกลบ 10 กิโล หรือถ้าอย่างมากที่สุดก็ 15 กิโล
4. ท้องผูก


เรื่องการดูแลทารกในครรภ์
ควรมีการกดท้องเช็คดูว่าท้องแข็งหรือเปล่า กดได้หรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องดูว่าปวดท้องหรือเปล่า เพราะอาจจะไม่ปวดแต่ท้องแข็ง  ซึ่งกรณีแบบนี้ควรจะต้องมาให้คุณหมอตรวจดู เพราะถ้าปล่อยไว้อาจจะไม่ดีต่อเด็กได้


เรื่องการใช้ชีวิตในช่วงตั้งครรภ์
ในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28 - 29 ถ้าคุณหมอไม่ได้พูดอะไรก็ให้เคลื่อนไหวทำงานบ้านได้ตามปกติ แต่ถ้าคุณหมอมีการพูดอะไรก็ให้พยายามอย่าเคลื่อนไหว เพราะช่วงนั้นปากมดลูกเริ่มจะเปิดแล้ว




ส่วนช่วงที่ 2 ก็จะเป็นคุณหมอคนอื่นมาบรรยาย ช่วงนี้ก็จะพูดเกี่ยวกับอาหารในช่วงที่ตั้งครรภ์
ที่สำคัญ ๆ หลัก ๆ ก็คือ
1. ทานอาหารให้สมดุลย์กัน ไม่เน้นอะไรที่มากเกินไป 3 มื้อใน 1 วัน
2. ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ ควรจะลดอาหารรสเค็ม
3. ในการจะรักษาน้ำหนักให้เป็นไปอย่างเหมาะสมให้ทานพวกไขมัน น้ำตาลในปริมาณที่พอดี
4. ในการป้องกันโลหิตจาง และการช่วยสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ควรทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียมอย่างเพียงพอ
5. ให้เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
6. ให้รักษาอาการท้องเสีย หรือท้องผูกโดยเร็ว อย่างน้อยควรให้มีการถ่าย 1 ครั้งใน 1 วัน และออกกำลังกายพอเหมาะ


การอบรมในแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องนำไปด้วยก็จะมี
1. สมุดแม่และเด็ก เพราะทางโรงพยาบาลจะปั้มวันที่ที่เข้าฟังลงในสมุดด้วย
2. อุปกรณ์เครื่องเขียน





















วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 16 สัปดาห์กว่า ๆ)

เราลืมบอกไปว่าตอนที่ตรวจครรภ์ครั้งที่ 2 หลังจากที่จ่ายค่าตรวจแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ถามว่าจะคลอดที่ไหน พอบอกว่าที่นี่ เขาก็ถามถึงกำหนดคลอด  แล้วก็ให้เอกสารมา จะเป็นเอกสารรายละเอียดของการมาตรวจแต่ละครั้งว่าจะตรวจอะไรบ้าง กี่สัปดาห์ครั้ง แล้วก็ให้เตรียมเงินมาจ่ายล่วงหน้า 100,000 เยน จ่ายตอนที่มาตรวจครั้งที่ 4 ซึ่งเขาก็มีอธิบายว่า 100,000 เยนนี้ค่าอะไรยังไงบ้าง แต่เราไม่ค่อยเข้าใจระบบเขาเท่าไหร่ ก็เลยไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมาก

ถึงวันนัดตรวจ ก็ยื่นบัตรนัด สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ แล้วก็มีขอบัตรประกันสุขภาพเพิ่มเติมด้วย วันนี้มีนัดจ่าย 100,000 เยนที่ว่า เจ้าหน้าที่เลยให้เอกสารการรับรองการบันทึก ระบบการชดเชยการรักษาพยาบาลแผนกสูติกรรม (産科医療補償制度 登録証) มากรอก แล้วต้นฉบับให้เราเก็บไว้ 5 ปี สำเนาทางโรงพยาบาลเป็นคนเก็บ เราก็งงอีกนั่นแหละว่าคืออะไร เขาให้เก็บก็เก็บเอาไว้ตามที่เขาบอกอ่ะนะ

หลังจากนั้นอันดับแรกก็ไปเก็บปัสสาวะ  วัดความดัน  แล้วก็นั่งรอเรียก พอถึงคิวเราแล้ว ก็ชั่งน้ำหนัก
แล้วคุณหมอก็วัดขนาดของท้อง แล้วก็ซาวด์ที่หน้าท้อง ครั้งนี้เห็นกระดูกของเจ้าหนูชัดเจนมาก ๆ แขนขาขยับไปมา เจ้าหนูตัวใหญ่ขึ้นกว่าครั้งที่แล้วมาก มีเห็นก้อนหัวใจ ก้อนที่เป็นกระเพาะ เสียงหัวใจเต้นดังมาก ^^

หลังจากดูหน้าจอเสร็จแล้ว คุณหมอก็คืนผลตรวจจากการเจาะเลือดครั้งที่แล้วมาให้  จากนั้นก็บอกคุณหมอว่าเป็นหวัดอีกแล้ว คุณหมอก็เลยจัดยาแบบครั้งที่แล้วมาให้ แล้วก็เตือนไม่ให้ไปที่คนเยอะ ๆ แล้วก็ให้ใส่หน้ากาก

พอถึงตอนที่จ่ายค่าตรวจ ก็มีการเก็บ 100,000 เยน แล้วเจ้าหน้าที่ก็ให้เอกสารอธิบายเรื่องตอนที่คลอดว่าโรงพยาบาลมีเตรียมอะไรไว้บ้าง เวลาเข้าเยี่ยมกี่โมงถึงกี่โมง ตอนกลางคืนจะไม่ให้ญาติหรือพ่อของเด็กเฝ้าไข้ ถ้าคลอดตอนกลางคืน ญาติหรือแม้แต่พ่อของเด็กต้องมาเยี่ยมตอนเช้า ระบบแบบนี้ไม่เหมือนที่เมืองไทยเลยอ่ะ ที่เมืองไทยยังมีให้ญาตินอนค้างเฝ้าได้ แบบนี้ต้องขอให้เจ้าหนูคลอดตอนเช้าแล้วหล่ะ ^^

วันนี้เราก็เลยจองอบรมเรื่องการตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลด้วย ไม่รู้ว่าเนื้อหาจะเหมือนกับของทางสำนักงานเขตหรือเปล่า

ค่าตรวจ+ค่ายาครั้งนี้  2,130 เยน
แล้วก็มีให้คาเฟโอเล่แบบไม่มีคาเฟอีนมาให้ด้วย
 (รูปกลับหัวไปหน่อย)
นัดครั้งต่อไปก็อีก 4 สัปดาห์





วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ไปหาหมอเพราะผื่นขึ้นที่สะโพก

ก่อนหน้าที่จะถึงกำหนดนัดตรวจครั้งที่ 4 (จากครั้งที่ 3 มาครั้งที่ 4 การนัดตรวจก็จะนานขึ้นเป็น 4 สัปดาห์มาตรวจ)  เราเกิดคันแล้วก็มีผื่นขึ้นที่สะโพก ไปให้คุณหมอสูติดู (คุณหมอเดียวกับที่ตรวจครรภ์) เขาก็บอกว่าไม่เคยเจอ เพราะส่วนใหญ่จะคันแล้วก็มีผื่นบริเวณท้อง คุณหมอก็เลยบอกว่าอาจจะเป็นเพราะการไปเสียดสีกับผ้ามั้ง เลยให้ยาทามาทาดู
ซึ่งเราก็ไม่ได้ทาอ่ะ เพราะไม่ได้คันมาก  เราลองทาวาสลินที่เอามาจากเมืองไทยดู รู้สึกว่าดีขึ้น คงเพราะผิวแห้ง หรือไม่ก็คงไปเสียดสีกับกางเกงอย่างที่คุณหมอบอกจริงๆ



ค่าตรวจวันนี้ 620 เยน

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

แนะนำเสื้อที่ใส่แล้วอุ่นขึ้น (นิดนึงก็ยังดี)

หน้าหนาวของที่ญี่ปุ่นปีนี้สุด ๆ จริงๆ หนาวมาก โดยเฉพาะอาทิตย์ที่แล้ว
วันก่อนไปทานข้าวกับเพื่อนของคุณซูมา เขาก็ถามเราว่าวันนี้ใส่มากี่ตัว
วันนั้นเราใส่ เสื้อกล้าม, เสื้อแขนยาว Heattech ที่ซื้อมาจากยูนิโคลที่ไทย, เสื้อแขนยาวคอเต่า Heattech ที่ซื้อมาจากยูนิโคลที่ไทย, เสื้อขนปุย ๆ ที่ซื้อมาจากยูนิโคลที่ไทย เราก็ไม่รู้เรียกว่าอะไรนะ
แล้วก็เสื้อโค้ทขนเป็ด ถ้าไม่นับรวมเสื้อโค้ท ก็ประมาณ 3 ชั้นที่เราใส่ ขนาดอยู่บ้านยังหนาวเลย เปิดฮีทเตอร์ก็แล้วก็ยังหนาว
เพื่อนคุณซูเลยแนะนำว่าให้ไปซื้อที่เขียนว่า  極暖 (ごくだん)(Heattech Extra Warm)  ของยูนิโคลมาใส่สิ  อุ่นขึ้นนะ
วันรุ่งขึ้นเรากับคุณซูเลยไปหาซื้อมาเลย
หลังจากที่ใส่ก็รู้สึกอุ่นขึ้นมานิดนึงเหมือนกันนะถ้าเปรียบเทียบกับ Heattech เฉย ๆ
ส่วนราคาก็จะแพงกว่า Heattech เฉย ๆ เท่านึง อยู่ที่ตัวละ 1,500 เยน
ร้านที่เราไปซื้อ ของผู้หญิงสีดำหมดแล้ว เหลือแต่สีเขียวเข้ม เอาก็เอา เพราะไม่ไหวหนาวจริง ๆ


คุณซูก็ซื้อด้วย ของผู้ชายยังมีสีดำ



วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

สมัครสมาชิกของศูนย์ที่คล้าย ๆ ศูนย์ค้าส่งแบบแม็คโครบ้านเรา

กะจะเขียนเรื่องนี้นานแล้ว แต่ลืมทุกทีเลย
เรื่องก็มีอยุ่ว่า เพื่อนคุณซูแนะนำให้ไปสมัครสมาชิกของศูนย์ที่คล้าย ๆ ศูนย์ค้าส่งแบบแม็คโครบ้านเรา
เพราะในนั้นของจะเยอะ แล้วก็ถูกกว่าข้างนอก ด้วยความที่ว่าถูกกว่า ก็เลยไปสมัครกับคุณซู
เราก็ไม่รู้ว่าแม็คโครเขาเก็บค่าสมาชิกหรือเปล่า แต่โดยทั่ว ๆ ไปเราจะคุ้นกับการสมัครสมาชิกฟรีมากกว่า ครั้งนี้ก็นึกว่าฟรีเหมือนกัน ต่อแถวเรียบร้อย ปรากฏว่าเสียค่าสมาชิกต่อปี ปีแรกจ่าย 4,200 เยน ปีต่อไปไม่รู้เท่าไหร่ ก็ต้องจ่ายอ่ะเนอะ มาถึงเค้าท์เตอร์แล้ว
ที่บัตรสมาชิกจะมีรูปเจ้าของบัตรติดไว้ด้วย ต้องยื่นทุกครั้งที่จะเข้าไปซื้อ  เจ้าของบัตรสามารถพาผู้ติดตามมาได้อีก 2 คน
พอทำบัตรเสร็จก็ลองสำรวจดูว่ามีของอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นของขายแบบเป็นแพ็ค ๆ หรือไม่ก็เป็นถุงใหญ่ ๆ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นของนำเข้า มีของญี่ปุ่นด้วย แต่รู้สึกจะน้อยกว่าของนำเข้า
แล้วตอนจะออกจากศูนย์ ก็ต้องยื่นใบเสร็จให้พนักงานเช็คดูด้วย คงกันการขโมยของมั้งนะ

เราก็กะว่าจะดูว่าปีนี้ใช้บริการมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อยมาก ๆ ปีต่อไปคงไม่ต่ออายุดีกว่า คิดว่าน่าจะไม่คุ้มกับค่าสมาชิก

ตัวอย่างของที่เราซื้อมา




มันฝรั่งถุงใหญ่มาก (เทียบกับถุงเถ้าแก่น้อย)




ผลไม้แปลกดีเลยซื้อมา เบบี้ กีวี  สามารถทานทั้งเปลือกได้ อร่อยดี ไม่ค่อยเปรี้ยวเท่าไหร่




วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

ตรวจครรภ์ครั้งที่ 3 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 12 สัปดาห์กว่า ๆ)

หลังจากตรวจครั้งที่ 2 คุณหมอก็นัดครั้งที่ 3 หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ ก็เปิดปีใหม่แล้วก็กลับมาจากไทยพอดี  ครั้งนี้ที่ไปตรวจก็ยื่นสมุดสุขภาพแม่และเด็กแล้วก็สมุดช่วยเรื่องค่าตรวจไปด้วย
จะมีการให้ชั่งน้ำหนัก วัดความใหญ่ของท้อง
เครื่องที่ใช้ตรวจจะไม่เหมือนเดิมหละ เพราะจะเป็นการซาวด์ดูจากหน้าท้องเราหล่ะ
ภาพที่เห็นทางหน้าจอ เจ้าหนูดิ้นไปดิ้นมา แขนขาขยับไปมา หัวใจเต้นเร็ว แล้วก็ดังด้วย คุณหมอบอกว่าแข็งแรงดี ก็ค่อยโล่งอกหน่อย เพราะอย่างที่เคยบอกไปว่าเราก็กังวลเกี่ยวกับการขึ้นเครื่องบินอยู่เหมือนกัน 
แล้วช่วงหน้าหนาวนี้เราก็เหมือนจะเป็นหวัด ก็เลยบอกคุณหมอไปว่าเราเป็นหวัด คุณหมอก็ให้ยาแบบนี้มา เป็นยาจีน



แล้วในวันนี้ก็มีเก็บปัสสาวะ, วัดความดัน (เราไปวัดเองกับเครื่องที่ทางโรงพยาบาลตั้งไว้) , เจาะเก็บเลือดทั้งหมด 5 หลอด เหมือนจะตรวจว่าแม่มีกรุ๊ปเลือดอะไร, หาเชื้อ HIV, หาว่ามีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันหรือเปล่า, แล้วก็อะไรอีกเราก็ไม่ค่อยรู้รายละเอียดหละ

ค่าตรวจในครั้งนี้รวมค่ายา 3,830 เยน

อาการในช่วงนี้ก่อนจะตรวจครั้งที่ 4
-รอบ ๆ บริเวณปากกับจมูก จะแดง ๆ ไม่รุ้ว่าเป็นเพราะอากาศแห้ง หรือว่าเป็นที่โฮรโมนเปลี่ยน
-เวลาสั่งน้ำมูก จะมีเลือดปนออกมาด้วย ก็ไม่รู้ว่าเป็นที่อากาศแห้งหรือเปล่า
-จะมีเรื่องของกรดไหลย้อน แต่อาการไม่มาก แค่รู้สึกว่าไหลมาถึงที่บริเวณคอ
-มีปวดท้องจิ๊ด ๆ คงเป็นเพราะมดลูกกำลังขยายมั้ง
-มีผื่นแดง ๆ ขึ้นที่บริเวณสะโพก ยิ่งตอนหลังจากที่แช่น้ำร้อนใหม่ ๆ
-อาการไม่อยากอาหาร เริ่มดีขึ้น สามารถทานได้มากขึ้น


วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

เริ่มกลับมาเขียนบล็อก พร้อมแนะนำวิตามินที่ทานก่อนตั้งท้อง

หลังจากที่หายจากการเขียนบล็อกไปเกือบ 2 เดือน
วันนี้ก็เริ่มหายขี้เกียจหล่ะ
ตอนแรกที่เริ่มขี้เกียจ ๆ ก็นึกว่า คงเหนื่อยจากที่ออกไปข้างนอกทุกวัน (พาที่บ้านที่มาเที่ยวญี่ปุ่นไปเที่ยว) ไป ๆ มา ๆ เริ่มขี้เกียจหนักขึ้น ช่วงนั้น (เดือน พ.ย. 56) รู้สึกล้า ๆ ไม่อยากทำอะไรเลย อยากนอนอย่างเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้วที่เป็นแบบนี้ส่วนหนึ่งก็คือ เรามีข่าวดีแล้ว เย้...

ก็ขอเริ่มเขียนอาการก่อนที่เราจะใช้ชุดทดสอบว่าตั้งท้องหรือเปล่า ก็จะมี
-ปวดท้องเหมือนประจำเดือนจะมา แต่ไม่มา
-ง่วงนอน ไม่อยากทำอะไร ไม่ค่อยอยากอาหาร ถ่ายมีเลือดปนออกมา ปวดหัวเหมือนเป็นหวัด กลางดึกลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ
-แล้วช่วงนี้ก็จะรู้สึกเหม็น ๆ อยากจะอ๊วก (แต่ไม่ได้อ๊วกออกมา) อาการที่ไม่ค่อยอยากอาหารทำให้พอทานอาหารไปแล้วก็รู้สึกอึดอัดท้อง

ก่อนที่จะคุณซูจะพาเราไปโรงพยาบาล เราก็อยากจะเขียนถึงยา แล้วก็วิตามินที่เราคิดว่าน่าจะช่วยในเรื่องของการมีน้องนะ เก็บไว้เป็นข้อมูลนิดนึง

ตั้งแต่เดือน พ.ค. 56 เรากับคุณซูก็ทานวิตามิน (จริง ๆ ก็ทานกันก่อนหน้านั้นแล้วหล่ะ แต่ที่ทานกันจริงจังก็จะมี)

1.




ช่วงหลังเปลี่ยนมาเป็นซองนี้เน้น 葉酸 (โฟเลต) อย่างเดียว
2.






3.





4.




5. ตัว コラーゲン (คอลลาเจน)  นี้ช่วงหลัง ๆ ก็ไม่ได้ทานแล้ว





6. น้ำมันปลา




7. น้ำมันพริมโรส




8. โคคิวเทน

 


ส่วนของคุณซูก็มีทานเพิ่ม マカ

9.







ส่วนเรา โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นคนเลือดน้อย เลยเสริมตัวนี้เข้าไปอีกในช่วงหลัง ๆ

10.






สรุปก็คือช่วงแรก ๆ เรากับคุณซูจะทานหมายเลข 1, 4, 5, 6, 7
พอเริ่มครึ่งปีหลัง  (ปี 56) เราก็ทานหมายเลข 2,4, 6-8 ประมาณเดือน ก.ย. ก็เสริมหมายเลข 10
ส่วนของคุณซูก็ทานหมายเลข 2 - 4, 6-8  + หมายเลข 9


แล้วก็มาทานยาจีนเพิ่มตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค.  - 9 พ.ย.  56 ที่หยุดไปเพราะเริ่มไม่แน่ใจว่าจะมีน้องหรือเปล่าก็เลยหยุดไปก่อน แล้วก็มีจริงๆ ด้วย หน้าตาตัวยาเป็นแบบนี้นะคะ ตัวยานี้จะช่วยเรื่องทำให้ประจำเดือนมาปกติ ให้โฮโมนสมดุล



พอมาเขียน ๆ รู้สึกตัวเองทานเยอะเหมือนกันเนอะ จะตามอย่างหรือไม่ตามอย่างก็ได้นะคะ