เราก็ไม่รู้ว่าที่เมืองไทย เวลาที่ภรรยาคลอด แล้วสามีต้องการเข้าไปในห้องคลอดด้วย จะต้องมาฟังการอบรมหรือเปล่า แต่ที่โรงพยาบาลนี้เขาให้พาสามีมาฟังด้วย เพื่อที่ว่าสามีจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างในตอนนั้น
เมื่อถึงเวลาอบรม พยาบาลก็มาเปิดวีดีโอให้ดู จะเป็นเรื่องบทบาทของคุณพ่อที่มีต่อทารก ซึ่งคุณแม่หลายคนก็คงรู้อยู่แล้วว่าตอนที่ทารกอยู่ในท้องก็จะได้ยินเสียงจากภายนอก ซึ่งถ้าคุณพ่อมาพูดคุยกับทารกตอนที่ยังอยู่ในท้องด้วย ก็จะยิ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันมากขึ้น เมื่อทารกคลอดออกมาก็จะคุ้นเคยกับเสียงของพ่อแม่ที่คอยพูดคุยกับเขาเมื่อตอนที่เขายังอยู่ในท้อง ในวีดีโอที่เราดูจะสื่อประมาณว่า บทบาทของแม่ก็คือเป็นที่พักพิง ให้ความอบอุ่น ในเวลาที่แม่อุ้มกอด ทารกจะรู้สึกถึงความปลอดภัย ไร้ความกังวล ในขณะที่บทบาทของพ่อนั้นจะเป็นคล้าย ๆ ผู้ที่มาให้ความบันเทิง มาเล่นด้วย อยู่ด้วยแล้วสนุก
พอดูวีดีโอจบ พยาบาลก็ให้สามีแต่ละคู่แนะนำตนเอง แล้วก็กำหนดคลอดลูกวันที่เท่าไหร่ ท้องนี้เป็นลูกคนที่เท่าไหร่ คุณซูพูดรัวเชียว คงเขิน ๆ + ตื่นเต้นมั้ง อิอิ
ในวันนี้เสียดายที่พยาบาลพาไปดูห้องพักหลังจากคลอดไม่ได้ เพราะมีคนที่จะคลอดในวันนี้พอดี คุณซูเลยอดดูเลย ว่าห้องเป็นยังไง แต่จริง ๆ เราก็อธิบายให้คุณซูฟังแล้วหล่ะ ว่าห้องเป็นแบบนี้ ๆ
หน้าที่ของสามีในห้องคลอดของโรงพยาบาลนี้ก็คือ ตอนที่ภรรยาเจ็บท้องคลอด จะให้ช่วยนวดหลัง เพื่อจะได้ทำให้รู้สึกดีขึ้น เวลาที่เบ่งคลอด โดยปกติผู้หญิงจะเงยหน้าขึ้น แต่จะให้สามีคอยจับหัวให้ลง แล้วคอยพูดให้กำลังใจ ป้อนน้ำ ประมาณว่าเป็นผู้ช่วยพยาบาลอีกทีนึง แล้วหลังจากที่คลอดเสร็จ ก็จะมีเวลาให้ถ่ายรูปประมาณ 5 นาที แต่ห้ามมือถือ เพราะเกี่ยวกับเรื่องสัญญาณ เพราะสัญญาณมือถืออาจจะส่งผลกับเครื่องที่ใช้ภายในห้อง ก็เลยให้แต่กล้องดิจิตอล หรือกล้องวีดีโอ
ไม่รู้ว่าพอถึงเวลานั้นจริง ๆ จะเป็นยังไงเนอะ
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เอกสารที่เจ้าหน้าที่ให้เซ็นตอนตรวจครรภ์ครั้งที่ 13
ก่อนหน้าที่จะจ่ายเงิน เจ้าหน้าที่ก็มีเอกสารมาให้เราเขียนแล้วก็เซ็นชื่อ เอกสารที่ว่าจะมี 2 ฉบับ ซึ่งฉบับแรกเจ้าหน้าที่อธิบายว่า ค่าคลอดจะอยู่ที่ 420,000 เยน (ก่อนหน้านี้จ่ายค่ามัดจำไป 100,000 เยน เท่ากับว่าค่าคลอดของที่โรงพยาบาลนี้จะอยู่ที่ประมาณบวกลบ 520,000 เยน) โดยจะให้ทางบัตรประกันสุขภาพที่เราถืออยู่ (เป็นบัตรแบบครอบครัวซึ่งเป็นของบริษัทคุณซู) โอนเข้าบัญชีของโรงพยาบาลโดยตรงเลย
เราก็เลยถามคุณซูว่าแล้วเราต้องไปยื่นขอเบิกกับสำนักงานเขตหรือเปล่า เพราะเคยอ่านเจอของคนอื่น ๆ เขาจะออกไปก่อน แล้วไปยื่นขอคืนกับทางสำนักงานเขต คุณซูก็บอกว่าในกรณีของเราไม่ต้องออกไปก่อน แล้วก็ไม่ต้องไปยื่นขอคืนกับทางสำนักงานเขตในตอนหลังด้วย เพราะเป็นการจ่ายโดยตรงระหว่างบัตรประกันสุขภาพกับโรงพยาบาล
เราก็งง ๆ กับระบบเหมือนกัน แต่การที่โรงพยาบาลเป็นคนดำเนินเรื่องให้ก็สะดวกไปอีกแบบนึง
ต่อมาก็ให้เซ็นอีกฉบับ จะเป็นเอกสารยินยอมให้ตรวจ "ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย" ก็คือ พอเด็กคลอดออกมาแล้วจะทำการตรวจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ จะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
จะทำการตรวจโดยการเจาะเลือดของเด็กหลังจากที่เด็กคลอดออกมาแล้วในช่วงของวันที่ 4 - วันที่ 6
โดยค่าใช้จ่ายทางเราจะเสียค่าเจาะเลือด สำหรับค่าตรวจทางรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะตรวจทั้งหมด 19 โรค ผลของการตรวจจะทราบประมาณ 14 วันเป็นต้นไป โดยให้ติดต่อกับทางโรงพยาบาล
ก็ขอให้ลูกของเราปกติดีทุกอย่างเถิดนะ เพี้ยง
แล้วก่อนกลับเจ้าหน้าที่ก็ให้เอกสารเกี่ยวกับกฏการเข้ามาเยี่ยมหลังคลอดมาให้อ่าน ก็คือโรงพยาบาลนี้เขาจะรักษาความปลอดภัย เรื่องเสียง แล้วก็มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด เพราะฉะนั้นเวลาจะมาเยี่ยมก็จะมีกฏของทางโรงพยาบาลด้วย คือว่าจะมีให้มาได้ประมาณกี่โมง มีให้แสดงบัตรเข้า - ออกโรงพยาบาล (ซึ่งอันนี้ต้องทำเรื่องก่อน)
ก็ดีเหมือนกันเนอะ ^^
เราก็เลยถามคุณซูว่าแล้วเราต้องไปยื่นขอเบิกกับสำนักงานเขตหรือเปล่า เพราะเคยอ่านเจอของคนอื่น ๆ เขาจะออกไปก่อน แล้วไปยื่นขอคืนกับทางสำนักงานเขต คุณซูก็บอกว่าในกรณีของเราไม่ต้องออกไปก่อน แล้วก็ไม่ต้องไปยื่นขอคืนกับทางสำนักงานเขตในตอนหลังด้วย เพราะเป็นการจ่ายโดยตรงระหว่างบัตรประกันสุขภาพกับโรงพยาบาล
เราก็งง ๆ กับระบบเหมือนกัน แต่การที่โรงพยาบาลเป็นคนดำเนินเรื่องให้ก็สะดวกไปอีกแบบนึง
ต่อมาก็ให้เซ็นอีกฉบับ จะเป็นเอกสารยินยอมให้ตรวจ "ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย" ก็คือ พอเด็กคลอดออกมาแล้วจะทำการตรวจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ จะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้
จะทำการตรวจโดยการเจาะเลือดของเด็กหลังจากที่เด็กคลอดออกมาแล้วในช่วงของวันที่ 4 - วันที่ 6
โดยค่าใช้จ่ายทางเราจะเสียค่าเจาะเลือด สำหรับค่าตรวจทางรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะตรวจทั้งหมด 19 โรค ผลของการตรวจจะทราบประมาณ 14 วันเป็นต้นไป โดยให้ติดต่อกับทางโรงพยาบาล
ก็ขอให้ลูกของเราปกติดีทุกอย่างเถิดนะ เพี้ยง
แล้วก่อนกลับเจ้าหน้าที่ก็ให้เอกสารเกี่ยวกับกฏการเข้ามาเยี่ยมหลังคลอดมาให้อ่าน ก็คือโรงพยาบาลนี้เขาจะรักษาความปลอดภัย เรื่องเสียง แล้วก็มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด เพราะฉะนั้นเวลาจะมาเยี่ยมก็จะมีกฏของทางโรงพยาบาลด้วย คือว่าจะมีให้มาได้ประมาณกี่โมง มีให้แสดงบัตรเข้า - ออกโรงพยาบาล (ซึ่งอันนี้ต้องทำเรื่องก่อน)
ก็ดีเหมือนกันเนอะ ^^
ตรวจครรภ์ครั้งที่ 13 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ 6 วัน)
วันนี้ไปโรงพยาบาลมีนัดตรวจครรภ์ครั้งที่ 13 (อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ 6 วัน) ครั้งนี้คุณซูไปด้วย ไปถึงโรงพยาบาลก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ บัตรประกันสุขภาพ พยาบาลก็บอกว่าคุณหมอที่ตรวจประจำอยู่ตอนนี้ติดผ่าตัดอยู่ (น่าจะติดผ่าคลอดอยู่อ่ะนะ) จะรอมั้ย ใช้เวลารอประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าไม่อยากรอก็สามารถตรวจกับคุณหมออีกคนนึงที่เป็นผู้ชาย คุณซูอยากให้ตรวจกับหมอคนเดิม แล้วเราก็ไม่ค่อยอยากตรวจกับคุณหมอผู้ชายเท่าไหร่ ก็เลยตัดสินใจรอ ระหว่างรอก็ไปวัดความดัน แล้วก็ไปเก็บปัสสาวะ ความดันที่วัดได้อยู่ที่ 112/73 (ครั้งที่แล้ว 126/71) จากนั้นก็นั่งรอเรียก พอเจ้าหน้าที่เรียกแล้วก็เข้าห้องตรวจ ชั่งน้ำหนักอยู่ที่ 70.0 (ครั้งที่แล้ว 69.2)
จากนั้นคุณหมอวัดช่วงท้องให้พยาบาลจดที่สมุด แล้วก็จับที่ขาเราแล้วก็พูดว่า Mukumi purasu (ในสมุดสุขภาพแม่และเด็ก ช่อง Mukumi ตรงเครื่องหมายที่เป็น + เลยมีทั้งปากกาสีดำกับสีแดงวง 2 วงเลย ก็น่าจะบวมอ่ะนะ เพราะเราดูแค่ตาเปล่าเท้าบวมเปล่งเลย เจ็บส้นเท้าด้วย
จากนั้นก็มาซาวด์ดูหน้าจอ ครั้งนี้คุณหมอก็ให้ดูส่วนหัว วัดความกว้าง ยาว ให้ดูช่วงท้อง ดูช่วงขา แล้วก็บอกว่าเด็กตัวใหญ่ ไม่ได้ใหญ่เฉพาะส่วนนะ คือเป็นเด็กตัวใหญ่ อยากให้คลอดออกมาเร็ว ๆ
แต่ว่าตอนนี้เด็กยังไม่กลับหัวเลย เพราะถ้าเด็กที่กลับหัวแล้ว ตำแหน่งของหัวใจจะอยู่ด้านล่าง แต่นี่ของเราตำแหน่งหัวใจของเจ้าหนูยังอยู่บน ๆ อยู่เลยอ่ะ จากนั้นคุณหมอก็ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น
น้ำหนักของเจ้าหนูในวันนี้อยู่ที่ 2,925 กรัม (ขึ้นมา 395 กรัมใน 1 สัปดาห์ ขึ้นเยอะมาก ><)
แล้วคุณหมอก็ให้ไปห้องสำหรับตรวจภายใน เพื่อจะได้ดูว่าเด็กตัวใหญ่ประมาณไหน แล้วอยู่ในตำแหน่งไหนแล้ว ตอนตรวจคุณหมอก็ให้สูดลมหายใจเข้า เข้า เจ็บสุด ๆ ผลดูแล้วปรากฏว่าคุณหมอยังไม่เห็นว่าเด็กเลื่อนลงมาข้างล่างเลยอ่ะ
คุณหมอเลยแนะนำแบบสีหน้าเครียดและจริงจังมากว่าให้พยายามเคลื่อนไหว อย่างถูพื้น (ถูแบบสมัยก่อนไม่ใช้ไม้ถู) ถึงท้องจะตึง ๆ ก็ให้พยายามทำ
คุณหมอก็บอกว่าน้ำหนักของเด็กพอถึงกำหนดน่าจะอยู่ที่ 3,600 กรัมแน่ ๆ หรือถ้าไม่ถึงก็น่าจะเกิน 3,100 กรัม ก็เลยบอกอีกว่าให้พยายามขยับ ๆ ตัว เคลื่อนไหว
เป็นอันเสร็จการตรวจในครั้งนี้
ค่าตรวจในวันนี้ 2,370 เยน
นัดครั้งต่อไปอีก 1 สัปดาห์
อ้อ...ก่อนที่จะจ่ายเงินเจ้าหน้าที่ก็เอาเอกสารมาให้เราเขียนแล้วก็เซ็นด้วย เป็นเอกสารอะไรขอเขียนบล็อกต่อไปน้า
อาการในช่วงนี้ :
- เจ้าหนูยังดิ้นแรงเหมือนเดิม
- ตอนเช้าของบางวัน ขาเป็นตะคริว คราวนี้เป็นทั้ง 2 ข้างเลย
- การเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อยขึ้นจากตื่นขึ้นมา 1 ครั้ง เป็น 2 ครั้ง คุณซูบอกว่าอาจจะเป็นการเตรียมตัวเข้าโหมดตอนให้นมลูกที่ต้องตื่นขี้นมาบ่อย ๆ อืม...น่าจะจริงแหะ
- ปวดหลังมากขึ้น แล้วก็ปวดหน่วง ๆ บริเวณด้านล่าง
- ตกขาวยังมามากเหมือนเดิม
วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557
หนังสือสำหรับเจ้าหนู
จากการที่เราได้อ่านหนังสือหรือเว็บที่เกี่ยวกับการเลี้ยงเด็กมา "แม่" จะเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในการเลี้ยงดูและสั่งสอนลูก เราชักกังวล ๆ ว่าเราจะทำได้หรือเปล่า
ขอบคุณพ่อกับแม่ของเรามาก ๆ ที่เลี้ยงพวกเรามาได้ดีขนาดนี้
ในยุคไฮเทคแบบนี้ เราจะได้ยินจากพี่ ๆ น้อง ๆ ว่าการเลี้ยงลูกยากมาก การแข่งขันก็สูง เอาล่ะซิ ความเครียดสำหรับเราก็ตามมา ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกตัวเองเก่งและฉลาด ภาษาอังกฤษเอย กีฬาเอย ดนตรีเอย ฯลฯ (เครียดตั้งแต่ยังไม่ได้เลี้ยง 555)
อย่างเรื่องของภาษา ที่เราตั้งใจไว้ก็คือ ตัวเราเองจะใช้ภาษาไทย ส่วนภาษาญี่ปุ่นก็เป็นหน้าที่ของคุณซูไป บวกกับอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้เราก็คิดว่าภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะได้ตามธรรมชาติ แต่กับภาษาไทยนี่สิ เจ้าหนูจะสนใจหรือเปล่า เพราะเราอยากให้ได้ทั้ง 4 ทักษะฟัง พูด อ่าน เขียนเลย
ภาษาอังกฤษก็อยากให้เจ้าหนูได้เหมือนกัน เพราะทุกวันนี้โลกเปิดกว้างมาก ๆ ความเป็นสากล ความเป็นอินเตอร์ฯ เข้ามามีบทบาทในชีวิตเราสูงมาก อย่างเราไม่ได้ภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้ยังรู้สึกอยากเก่งภาษาอังกฤษจัง อยากพูดได้จัง อยากฟังอยากอ่านรู้เรื่องจังว่าเขาสื่ออะไร
ก็เลยเป็นที่มาของบล็อกบทความนี้ "หนังสือสำหรับเจ้าหนู" ก็ขอให้ตัวเราขยันสอน เจ้าหนูรับและเรียนรู้ด้วยน้า
วันนี้ไปซื้อมา ก็ดีเหมือนกันเราจะได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นกับเจ้าหนูไปด้วยเลย อิอิ
ส่วนเล่มนี้ซื้อมาตอนท้องช่วงแรก ๆ เราก็อ่านให้ฟังได้แค่ช่วงนึง แต่ด้วยความที่เราไม่ใช่เจ้าของภาษา เลยไม่มั่นใจที่จะอ่านให้ฟัง ว่าออกเสียงถูกหรือเปล่า สำเนียงได้มั้ย ก็เลยมีให้คุณซูช่วยอ่านให้บ้าง
ส่วนรูปล่างเราจะใช้อ่านให้ฟังเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นภาษาบ้านเกิดของเราเองอ่ะเนอะ
ซื้อตอนที่กลับไทยตอนปีใหม่ ไม่รู้ข้างบ้านจะบ่นหรือเปล่า เพราะขนาดคุณซูนอน ๆ อยู่ยังบอกว่าได้ยินเสียงเราเลย
ส่วนรูปล่างจะเป็นหนังสือสำหรับเราแต่ขอแทรกในบล็อกนี้ด้วย อิอิ
รูปล่างนี้ก็ได้คำแนะนำจากแม่ ๆ ทั้งหลาย ก็เลยได้รับ + ซื้อมาพร้อมกันตอนที่กลับไทย แต่ยังอ่านไม่จบซักเล่ม 555
และรูปล่างจะเป็นนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การเลี้ยงลูกและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของที่นี่ ก็ดีเหมือนกัน บางอย่างที่ไทยแนะนำ ของญี่ปุ่นไม่มี ของญี่ปุ่นแนะนำ อะไรประมาณนี้ แต่ก็อ่านไม่จบสักเล่ม 555
นี่คงต้องเตรียมตัวที่จะเป็นคุณครูคนแรกของเจ้าหนูแล้วสินะ ^_^
ขอบคุณพ่อกับแม่ของเรามาก ๆ ที่เลี้ยงพวกเรามาได้ดีขนาดนี้
ในยุคไฮเทคแบบนี้ เราจะได้ยินจากพี่ ๆ น้อง ๆ ว่าการเลี้ยงลูกยากมาก การแข่งขันก็สูง เอาล่ะซิ ความเครียดสำหรับเราก็ตามมา ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกตัวเองเก่งและฉลาด ภาษาอังกฤษเอย กีฬาเอย ดนตรีเอย ฯลฯ (เครียดตั้งแต่ยังไม่ได้เลี้ยง 555)
อย่างเรื่องของภาษา ที่เราตั้งใจไว้ก็คือ ตัวเราเองจะใช้ภาษาไทย ส่วนภาษาญี่ปุ่นก็เป็นหน้าที่ของคุณซูไป บวกกับอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้เราก็คิดว่าภาษาญี่ปุ่นก็น่าจะได้ตามธรรมชาติ แต่กับภาษาไทยนี่สิ เจ้าหนูจะสนใจหรือเปล่า เพราะเราอยากให้ได้ทั้ง 4 ทักษะฟัง พูด อ่าน เขียนเลย
ภาษาอังกฤษก็อยากให้เจ้าหนูได้เหมือนกัน เพราะทุกวันนี้โลกเปิดกว้างมาก ๆ ความเป็นสากล ความเป็นอินเตอร์ฯ เข้ามามีบทบาทในชีวิตเราสูงมาก อย่างเราไม่ได้ภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้ยังรู้สึกอยากเก่งภาษาอังกฤษจัง อยากพูดได้จัง อยากฟังอยากอ่านรู้เรื่องจังว่าเขาสื่ออะไร
ก็เลยเป็นที่มาของบล็อกบทความนี้ "หนังสือสำหรับเจ้าหนู" ก็ขอให้ตัวเราขยันสอน เจ้าหนูรับและเรียนรู้ด้วยน้า
วันนี้ไปซื้อมา ก็ดีเหมือนกันเราจะได้เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นกับเจ้าหนูไปด้วยเลย อิอิ
ส่วนเล่มนี้ซื้อมาตอนท้องช่วงแรก ๆ เราก็อ่านให้ฟังได้แค่ช่วงนึง แต่ด้วยความที่เราไม่ใช่เจ้าของภาษา เลยไม่มั่นใจที่จะอ่านให้ฟัง ว่าออกเสียงถูกหรือเปล่า สำเนียงได้มั้ย ก็เลยมีให้คุณซูช่วยอ่านให้บ้าง
ส่วนรูปล่างเราจะใช้อ่านให้ฟังเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นภาษาบ้านเกิดของเราเองอ่ะเนอะ
ซื้อตอนที่กลับไทยตอนปีใหม่ ไม่รู้ข้างบ้านจะบ่นหรือเปล่า เพราะขนาดคุณซูนอน ๆ อยู่ยังบอกว่าได้ยินเสียงเราเลย
ส่วนรูปล่างจะเป็นหนังสือสำหรับเราแต่ขอแทรกในบล็อกนี้ด้วย อิอิ
รูปล่างนี้ก็ได้คำแนะนำจากแม่ ๆ ทั้งหลาย ก็เลยได้รับ + ซื้อมาพร้อมกันตอนที่กลับไทย แต่ยังอ่านไม่จบซักเล่ม 555
และรูปล่างจะเป็นนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องการตั้งครรภ์ การเลี้ยงลูกและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของที่นี่ ก็ดีเหมือนกัน บางอย่างที่ไทยแนะนำ ของญี่ปุ่นไม่มี ของญี่ปุ่นแนะนำ อะไรประมาณนี้ แต่ก็อ่านไม่จบสักเล่ม 555
นี่คงต้องเตรียมตัวที่จะเป็นคุณครูคนแรกของเจ้าหนูแล้วสินะ ^_^
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ไปฟังคอร์สอบรมคุณแม่ของโรงพยาบาล ครั้งที่ 3 (เกี่ยวกับการคลอด, เตรียมของเข้าโรงพยาบาล, ชมห้องคลอด)
วันนี้มีอบรมคอร์สคุณแม่ของทางโรงพยาบาลครั้งที่ 3 จริง ๆ เราตั้งใจจะจองเข้าอบรมในเดือนที่แล้วแล้ว แต่ว่าของเดือนที่แล้วเต็ม ก็เลยมาของเดือนนี้ มาของเดือนนี้ก็ดีเหมือนกัน เพราะยังจำได้อยู่ว่าต้องทำอะไรบ้าง ถ้าเกิดเจ็บท้องคลอดขึ้นมา
พอถึงเวลาพยาบาลก็มาเปิดวีดีโอให้ดู วีดีโอนี้เหมือนของที่สำนักงานเขตเข้าเคยเปิดให้ดูเลย คือให้ดูว่าคลอดธรรมชาติคลอดยังไง หายใจแบบไหน ตอนที่หัวของทารกออกมาแล้วต้องหายใจยังไง ดูแล้วนึกถึงตอนของตัวเองว่าจะเป็นยังไง เสียว >< คงเจ็บน่าดู
พอดูเสร็จแล้ว พยาบาลก็จะพูดถึงว่า ถ้าเจ็บท้องขึ้นมาแล้ว ควรจะเข้าโรงพยาบาลตอนไหน ซึ่งถ้ามีอาการลักษณะแบบนี้คือสัญญาณที่ว่าใกล้จะคลอดแล้ว คือ
1. ในบางครั้งท้องจะเริ่มแข็ง
2. รู้สึกว่ามดลูกอยู่ต่ำลง
3. การดิ้นของทารกจะช้าลง
4. ปวดเอวปวดสะโพก
5. ปัสสาวะบ่อย
6. เจ็บท้องเตือน (คือปวดท้องแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน โดยปกติจะเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่อายุครรภ์ที่ 35 ไปแล้ว) ซึ่งถ้าเจ็บท้องเตือนแล้ว พยาบาลแนะนำว่าให้จดเวลาเอาไว้ การบีบตัวของมดลูกในช่วงนี้จะมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือมากกว่า 1 ครั้งในทุก ๆ 10 นาที ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้แล้วนั่นก็หมายความว่าเป็นการเริ่มต้นของการคลอด
7. เจ็บท้องคลอด
8. จะมีเลือดออกมาเล็กน้อย แบบเหนียว ๆ มาพร้อมกับตกขาว (ซึ่งก็คือสัญญาณเตือน)
9. น้ำคร่ำเดิน จะเป็นลักษณะเดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุด กลิ่นจะออกเปรี้ยว ๆ ซึ่งถ้ามีน้ำคร่ำเดินแล้ว ให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วโทรไปที่โรงพยาบาลก่อน แล้วเดินทางไปโรงพยาบาล
หมายเหตุ บางคนอาจจะมีน้ำคร่ำเดินก่อนที่จะเจ็บท้องคลอดก็ได้ ให้รีบไปโรงพยาบาล
ลำดับการคลอดจะมีด้วยกันอยู่ 3 ช่วงคือ
การคลอดระยะที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่เจ็บท้องคลอด จนถึงปากมดลูกเปิดเต็มที่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร สำหรับคนที่คลอดเป็นครั้งแรก ระยะที่ 1 นี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 10 - 12 ชั่วโมง สำหรับคนที่เคยคลอดลูกมาแล้ว ระยะนี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 5 - 6 ชั่วโมง
การคลอดระยะที่ 2 จะเริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว จนถึงทารกคลอดออกมา สำหรับคนที่คลอดเป็นครั้งแรก ระยะที่ 2 นี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 1 - 2 ชั่วโมง สำหรับคนที่เคยคลอดลูกมาแล้ว ระยะนี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 30 นาที
ในช่วงที่หัวทารกออกมาแล้ว ให้หายใจแบบผ่อนคลาย ช้า ๆ
การคลอดระยะที่ 3 จะเป็นคลอดรกออกมา ซึ่งจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 5 - 15 นาที
เจ้าหน้าที่ก็มีพูดถึงวิธีการหายใจในตอนคลอดด้วย แต่ ณ เวลานั้นแต่ละคนคงตื่น ๆ ทำอะไรไม่ถูก ซึ่งทางที่ดีที่สุดให้ฟังที่พยาบาลบอกว่า ตอนไหนให้หายใจเข้า ตอนไหนให้หายใจออก
ในการอบรมครั้งนี้ มีให้แนะนำตัวเองด้วย ให้บอกว่าชื่ออะไร กำหนดการคลอดเมื่อไหร่ ถ้ารวมเราด้วยแล้ว จะมีคนต่างชาติอยู่ 4 คน คือเรา (ไทย) คนจีน คนกัมพูชา แล้วอีกคนไม่รู้ชาติอะไรเพราะเขาไม่ได้บอกมา ดีใจเหมือนกันที่มีคนต่างชาติมาคลอดที่นี่ จะได้มีเพื่อน
จากนั้นก็พูดถึงเรื่องประเภทการคลอด ซึ่งเราเคยเขียนไว้ในลิ้งค์ด้านล่างนี้
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/06/birth-plan.html
ซึ่งเราเลือกคลอดแบบธรรมชาติแล้วก็ให้สามีเข้าห้องคลอดด้วย ซึ่งใครที่ให้สามีเข้าห้องคลอดด้วย ก็จะมีการอบรมในเรื่องนี้อีกครั้งนึงในสัปดาห์หน้า ครั้งนี้คุณซูก็จะเข้าอบรมด้วย
ต่อมาก็พูดถึงเรื่องของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ตอนที่เข้าโรงพยาบาล โดยพยาบาลโชว์ถุงใหญ่มากให้ดู แล้วก็โชว์ของที่อยู่ในถุง ซึ่งเราก็เคยเขียนไว้ในลิ้งค์ด้านล่างนี้
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/03/blog-post_27.html
ก็คือที่เราจะเตรียมไปก็จะมีสมุดสุขภาพแม่และเด็ก บัตรประกันสุขภาพ บัตรต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง อิงคัง เอกสารพวกใบเสร็จตอนที่จ่าย 1 แสนเยนเมื่อเดือนก่อน ๆ ชุดชั้นใน (เพราะของที่โรงพยาบาลเตรียมให้คงไม่พอ) เสื้อใส่ตอนออกจากโรงพยาบาล
ในช่วงที่อยู่โรงพยาบาล จะไม่ให้แต่งหน้า น่าจะรวมถึงไม่ให้ทาโลชั่นด้วยมั้งนะ
ส่วนของเด็กในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ก็ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเหมือนกัน เพราะทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชุดตอนออกจากโรงพยาบาล ผ้าห่อตัวเด็ก แต่ถ้าใครจะมีชุดพิเศษสำหรับลูกจะไม่ใช้ชุดของทางโรงพยาบาล ก็สามารถแจ้งได้
สุดท้ายก็ให้ชมห้องคลอด ห้องพักฟื้น
ห้องที่เราเลือกจะเป็นห้องส่วนตัว ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ลักษณะของห้องก็จะมีเตียง โซฟา ห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ลืมดูว่ามีพวกทีวี ตู้เย็นหรือเปล่า ส่วนที่อาบน้ำก็จะเป็นที่อาบรวม แยกออกไป
ส่วนห้องแบบที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ก็คล้าย ๆ ของที่เราเลือกแต่จะเพิ่มห้องอาบน้ำ อ่างล้างหน้าใหญ่ขึ้น ห้องกว้างขึ้น
นี่ก็ใกล้แล้วเนอะ พยาบาลบอกว่าอายุครรภ์ที่สามารถคลอดได้แบบไม่มีปัญหาก็คืออยู่ที่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป จนถึงที่ประมาณ 41 สัปดาห์ ก็ขอให้คลอดตามกำหนดเถิดนะ เพี้ยง
พอถึงเวลาพยาบาลก็มาเปิดวีดีโอให้ดู วีดีโอนี้เหมือนของที่สำนักงานเขตเข้าเคยเปิดให้ดูเลย คือให้ดูว่าคลอดธรรมชาติคลอดยังไง หายใจแบบไหน ตอนที่หัวของทารกออกมาแล้วต้องหายใจยังไง ดูแล้วนึกถึงตอนของตัวเองว่าจะเป็นยังไง เสียว >< คงเจ็บน่าดู
พอดูเสร็จแล้ว พยาบาลก็จะพูดถึงว่า ถ้าเจ็บท้องขึ้นมาแล้ว ควรจะเข้าโรงพยาบาลตอนไหน ซึ่งถ้ามีอาการลักษณะแบบนี้คือสัญญาณที่ว่าใกล้จะคลอดแล้ว คือ
1. ในบางครั้งท้องจะเริ่มแข็ง
2. รู้สึกว่ามดลูกอยู่ต่ำลง
3. การดิ้นของทารกจะช้าลง
4. ปวดเอวปวดสะโพก
5. ปัสสาวะบ่อย
6. เจ็บท้องเตือน (คือปวดท้องแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน โดยปกติจะเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่อายุครรภ์ที่ 35 ไปแล้ว) ซึ่งถ้าเจ็บท้องเตือนแล้ว พยาบาลแนะนำว่าให้จดเวลาเอาไว้ การบีบตัวของมดลูกในช่วงนี้จะมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือมากกว่า 1 ครั้งในทุก ๆ 10 นาที ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้แล้วนั่นก็หมายความว่าเป็นการเริ่มต้นของการคลอด
7. เจ็บท้องคลอด
8. จะมีเลือดออกมาเล็กน้อย แบบเหนียว ๆ มาพร้อมกับตกขาว (ซึ่งก็คือสัญญาณเตือน)
9. น้ำคร่ำเดิน จะเป็นลักษณะเดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุด กลิ่นจะออกเปรี้ยว ๆ ซึ่งถ้ามีน้ำคร่ำเดินแล้ว ให้ใส่ผ้าอนามัยแล้วโทรไปที่โรงพยาบาลก่อน แล้วเดินทางไปโรงพยาบาล
หมายเหตุ บางคนอาจจะมีน้ำคร่ำเดินก่อนที่จะเจ็บท้องคลอดก็ได้ ให้รีบไปโรงพยาบาล
ลำดับการคลอดจะมีด้วยกันอยู่ 3 ช่วงคือ
การคลอดระยะที่ 1 จะเริ่มตั้งแต่เจ็บท้องคลอด จนถึงปากมดลูกเปิดเต็มที่ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร สำหรับคนที่คลอดเป็นครั้งแรก ระยะที่ 1 นี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 10 - 12 ชั่วโมง สำหรับคนที่เคยคลอดลูกมาแล้ว ระยะนี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 5 - 6 ชั่วโมง
การคลอดระยะที่ 2 จะเริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้ว จนถึงทารกคลอดออกมา สำหรับคนที่คลอดเป็นครั้งแรก ระยะที่ 2 นี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 1 - 2 ชั่วโมง สำหรับคนที่เคยคลอดลูกมาแล้ว ระยะนี้จะใช้เวลาอยู่ที่ 30 นาที
ในช่วงที่หัวทารกออกมาแล้ว ให้หายใจแบบผ่อนคลาย ช้า ๆ
การคลอดระยะที่ 3 จะเป็นคลอดรกออกมา ซึ่งจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 5 - 15 นาที
เจ้าหน้าที่ก็มีพูดถึงวิธีการหายใจในตอนคลอดด้วย แต่ ณ เวลานั้นแต่ละคนคงตื่น ๆ ทำอะไรไม่ถูก ซึ่งทางที่ดีที่สุดให้ฟังที่พยาบาลบอกว่า ตอนไหนให้หายใจเข้า ตอนไหนให้หายใจออก
ในการอบรมครั้งนี้ มีให้แนะนำตัวเองด้วย ให้บอกว่าชื่ออะไร กำหนดการคลอดเมื่อไหร่ ถ้ารวมเราด้วยแล้ว จะมีคนต่างชาติอยู่ 4 คน คือเรา (ไทย) คนจีน คนกัมพูชา แล้วอีกคนไม่รู้ชาติอะไรเพราะเขาไม่ได้บอกมา ดีใจเหมือนกันที่มีคนต่างชาติมาคลอดที่นี่ จะได้มีเพื่อน
จากนั้นก็พูดถึงเรื่องประเภทการคลอด ซึ่งเราเคยเขียนไว้ในลิ้งค์ด้านล่างนี้
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/06/birth-plan.html
ซึ่งเราเลือกคลอดแบบธรรมชาติแล้วก็ให้สามีเข้าห้องคลอดด้วย ซึ่งใครที่ให้สามีเข้าห้องคลอดด้วย ก็จะมีการอบรมในเรื่องนี้อีกครั้งนึงในสัปดาห์หน้า ครั้งนี้คุณซูก็จะเข้าอบรมด้วย
ต่อมาก็พูดถึงเรื่องของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ตอนที่เข้าโรงพยาบาล โดยพยาบาลโชว์ถุงใหญ่มากให้ดู แล้วก็โชว์ของที่อยู่ในถุง ซึ่งเราก็เคยเขียนไว้ในลิ้งค์ด้านล่างนี้
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/03/blog-post_27.html
ก็คือที่เราจะเตรียมไปก็จะมีสมุดสุขภาพแม่และเด็ก บัตรประกันสุขภาพ บัตรต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง อิงคัง เอกสารพวกใบเสร็จตอนที่จ่าย 1 แสนเยนเมื่อเดือนก่อน ๆ ชุดชั้นใน (เพราะของที่โรงพยาบาลเตรียมให้คงไม่พอ) เสื้อใส่ตอนออกจากโรงพยาบาล
ในช่วงที่อยู่โรงพยาบาล จะไม่ให้แต่งหน้า น่าจะรวมถึงไม่ให้ทาโลชั่นด้วยมั้งนะ
ส่วนของเด็กในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ก็ไม่ต้องเตรียมอะไรไปเหมือนกัน เพราะทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชุดตอนออกจากโรงพยาบาล ผ้าห่อตัวเด็ก แต่ถ้าใครจะมีชุดพิเศษสำหรับลูกจะไม่ใช้ชุดของทางโรงพยาบาล ก็สามารถแจ้งได้
สุดท้ายก็ให้ชมห้องคลอด ห้องพักฟื้น
ห้องที่เราเลือกจะเป็นห้องส่วนตัว ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ลักษณะของห้องก็จะมีเตียง โซฟา ห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ลืมดูว่ามีพวกทีวี ตู้เย็นหรือเปล่า ส่วนที่อาบน้ำก็จะเป็นที่อาบรวม แยกออกไป
ส่วนห้องแบบที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ก็คล้าย ๆ ของที่เราเลือกแต่จะเพิ่มห้องอาบน้ำ อ่างล้างหน้าใหญ่ขึ้น ห้องกว้างขึ้น
นี่ก็ใกล้แล้วเนอะ พยาบาลบอกว่าอายุครรภ์ที่สามารถคลอดได้แบบไม่มีปัญหาก็คืออยู่ที่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป จนถึงที่ประมาณ 41 สัปดาห์ ก็ขอให้คลอดตามกำหนดเถิดนะ เพี้ยง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ก่อนกลับไทยก็ต้องมีของติดไม้ติดมือกลับไปฝากที่บ้าน ญาติ แล้วก็เพื่อน ๆ ก็จะด้วยเรื่องงบที่ตั้งไว้ ของบางอย่างก็กะว่าจะแบ่งกระจาย ๆ กัน เร...
-
พอดีไปอ่านเจอในนิตยสารของญี่ปุ่น เกี่ยวกับเรื่อง สารอาหารของเด็กในการส่งเสริมสุขภาพกายและใจก็คือ "การนอนหลับ" น่าสนใจดี เลยลองแปลเ...
-
สวัสดีค่ะ อุณหภูมิวันนี้ 19/6 องศา ไม่หนาวมากเกินไป กำลังดี แล้วในวันนี้เราขอแนะนำแฟชั่นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น (ตามนิตยสารที่เรามีอยู่) เห็...