แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลูกออทิสติก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ลูกออทิสติก แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

อนุบาลญี่ปุ่นสอนผมตีลังกาครับ

 ตอนที่ลูกชายอยู่อนุบาล เป็นเพราะที่อนุบาลเขาจะสอนการตีลังกา สอนการปีนป่าย การม้วนหน้า ฯ

ลูกเราถึงแม้จะทำไม่ได้ แต่เขาก็ดู ๆ เพื่อน ๆ แล้วก็มาทำนอกห้องเรียน ^^

เราก็ตกใจที่เขาสามารถทำได้ด้วย แต่ช่วงเวลาที่ทำได้ของเขาก็จะแค่ตอนอนุบาล เพราะพอขึ้นประถม ตัวโตขึ้น ความกลัวก็เริ่มมีมากขึ้น ก็เลยจะทำไม่ค่อยได้แล้ว แต่ก็เก็บบันทึกนี้ไว้ว่า เขาเคยทำได้ 




วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568

การซ้อมหนีภัยของเด็กที่ญี่ปุ่น (避難訓練)

เด็กนักเรียนที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทางโรงเรียนก็จะมีให้ซ้อมหนีภัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้น แล้วต้องทำยังไง  สิ่งที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ก็คือการซ้อมบ่อย ๆ นั่นเอง





วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2568

放課後ディサービス (After School Program) ป.5 กิจกรรมครั้งที่ 1

 放課後ディサービス

(After School Program)

จะเป็นโปรแกรมสำหรับเด็กที่มีพัฒนาการช้า เข้ารับบริการตอนหลังเลิกเรียน (ชั้นประถมขึ้นไป) ของลูกเราจะเรียน 1 วัน/สัปดาห์  จะเรียนเยอะกว่านี้ก็ได้แล้วแต่เด็กกับผู้ปกครองตัดสินใจ 


พอขึ้นอนุบาล 3  ก็จะเริ่มหาที่เสริมพัฒนาการต่อเนื่องหลังจากที่ขึ้นชั้นประถม  ก็มาเจอที่นี่ ลูกเราใช้บริการมาตั้งแต่ ป.1  (ใช้บริการโปรแกรมแบบนี้ได้ตั้งแต่ ป.1 - ม.6)


ที่นี่ก็จะมีการปรึกษากับผู้ปกครองว่าต้องการให้เน้นพัฒนาด้านไหน  ของเราเน้นเรื่อง อยากให้สามารถพูดสื่อสาร โต้ตอบกับคนอื่นให้ได้มากกว่านี้ ทางครูผู้ฝึกจะแพลนการสอน  เป้าหมาย  ทุกครึ่งปีก็จะมีการประเมินและพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อรายงานถึงผลการฝึกพัฒนาการที่ผ่านมา  และเป้าหมายต่อไป  


หลังจากขึ้น ป.5 นอกจากวันธรรมดาที่ใช้บริการ  ก็มีวันเสาร์หรืออาทิตย์ หรือวันหยุดที่มีกิจกรรมให้เข้าร่วมด้วย


ครั้งที่ 1 ของปีนี้ก็คือการทำเนย  ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าไปดูการทำกิจกรรมได้  แต่จากที่ถามลูกดูน่าจะสนุกอะนะ  เพราะมีให้ทานของที่ทำด้วย  ท่าทางน่าอร่อย ^^

 


ลูกชายอยากปลูกแตงโม

ลูกชายอยากปลูกแตงโม เพราะอยากทานทั้งลูก เพราะถ้าซื้อที่เขาขาย หม่าม้าจะให้ซื้อแบบที่เขาหั่นครึ่งนึง ไม่อยากให้ซื้อทั้งลูก กลัวทานไม่หมด เลยขอปลูกเองเลย ^^





 

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568

เรื่องเล่าจากชั้นเรียนใหม่ (ชั้นเรียนของเด็กออทิสติก โรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น)

 เรื่องเล่าจากชั้นเรียนใหม่

ตั้งแต่ ป.1 -ป.4 ผมก็เรียนคลาส 情緒学級(เป็นคลาสสำหรับเด็กพิเศษที่เรียนวิชาการได้ แต่มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ แต่อย่างที่หม่าม้าเคยพูดถึงครูประจำชั้น ป.4 ว่าเป็นยังไง  สรุป พอขึ้น ป.5 ผมก็เปลี่ยนมาเรียนคลาส 知的学級 (เป็นคลาสสำหรับเด็กพิเศษ ที่เรียนวิชาการไม่ทันเพื่อน แต่เรื่องการควบคุมอารมณ์ ไม่มีปัญหา) ตอนป.4 คุณครูประจำชั้นคนเก่าบอกหม่าม้าว่าควรให้ผมเปลี่ยนคลาส  ดูหม่าม้าป่ะป๊าก็ไม่ลังเลเลยที่จะเปลี่ยน เพราะถ้าขึ้น ป.5 แล้วต้องมาเจอเป็นครูประจำคนนี้อีก  ป่ะป๊าหม้าม้า ก็คงเครียดไปอีก 1 ปี ^^

ได้เจอครูประจำชั้นคนใหม่  หม่าม้าป่ะป๊าขอ 面談 (พูดปรึกษาหารือ) ตั้งแต่เปิดเทอมเลย  ( จริง ๆ 面談 จะเริ่มประมาณเดือน มิย.) คุณครูใจดี  หาเวลาให้ได้คุยกัน

เรื่องที่คุยกัน

 1. เรื่องนี้หม่าม้าขอร้องคุณครูเป็นอันดับแรกเลยก็คือการให้ใช้ Chromebook ขอให้ใช้เฉพาะการเรียนหรือที่จำเป็นเท่านั้น ไม่เอากลับบ้าน แต่มีการชาร์จ เลยกำหนดให้วันศุกร์นำกลับบ้านไปชาร์จ แล้ววันจันทร์นำมาโรงเรียน  คุณครูน่ารักมาก เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการให้ใช้  เลยเห็นด้วยกับผู้ปกครอง

2. เรื่องการไปเรียนร่วมกับคลาสเด็กปกติ  สรุปคือ คุณครูขอดูว่าผมเรียนเป็นยังไง  แล้วค่อยพิจารณาดูว่าวิชาไหนบ้างที่ไปเรียนรวมได้

3. เรื่องการไปค้างคืนตจว 1คืน  (ป.5 จะมีการไปค้างคืนตจว 1 คืน เรียก 林間学校) เรื่องนี้คุณครูค่อนข้างกังวลมาก  สรุปคือ ขอให้ผู้ปกครองไปค้างคืนด้วย แต่ที่พักหาเอง ไม่ใช่ที่เดียวกับเด็ก ๆ ให้ตามไปดูแลห่าง ๆ ถ้ามีปัญหาอะไร ก็จะได้มาได้ทันเวลา

จากการได้พูดคุยในวันนี้  รู้สึกโล่งอกไปเยอะมาก  ได้เจอครูประจำชั้นที่เป็นคุณครูสำหรับสอนเด็กพิเศษจริง ๆ 

ส่วนเรื่องการบ้าน แล้วแต่คุณครูเลย  การบ้านตั้งแต่เปิดเทอมมา  ทั้งหม่าม้า  ทั้งผมก็ไม่ค่อยเครียดเท่าไหร่ ไม่เยอะเกินไป  แล้วก็ไม่ยากจนเกินไป


รูปภาพ : การบ้านสำหรับเด็กพิเศษชั้น ป. 5 ช่วงเปิดเทอมใหม่ ๆ 












วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2568

อุปกรณ์ที่เอาไปร.ร.วันแรก กับหนังสือเรียนชั้นป.5 ร.ร.ญี่ปุ่น คลาสเด็กออทิสติก

 วันแรกของการเปิดเทอม คลาสเรียนของเด็กออทิสติกก็มีให้เตรียมอุปกรณ์การเรียนไป  สิ่งที่เตรียมไปก็เหมือนคลาสเด็กปกติเลย  

ขากลับทางร.ร.ก็แจกหนังสือเรียนใส่มาในกระเป๋ารันโดะเซะรุ  อย่างหนักมาก  


รายการที่ทางร.ร.บอกมาว่าให้เตรียมอะไรไปบ้าง ใบนี้จะได้ตอนจบชั้นป.4 เพื่อให้ผุ้ปกครองช่วยเตรียม
















หนังสือเรียน



หนังสือเรียน


วิชาที่เพิ่มเติมจากชั้นป.4 วิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน

เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน
เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน


เนื้อหาวิชางานบ้านงานเรือน



















วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2568

ก่อนขึ้นป. 5 กับความในใจช่วงตอนป. 4

 พรุ่งนี้ 8 เมษา ลูกชายก็จะขึ้น ป.5 แล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก

จากการที่ลูกเรามีภาวะทางออทิสติก ซึ่งเรารู้ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าเรียนชั้นประถม  ก็เลยให้ลูกชายเรียนคลาสสำหรับเด็กพิเศษ (ที่นี่เขาจะเรียก 支援級(ชิเอ็งคิว) ก็คือตามตัวหนังสือเลย  จะเป็นคลาสที่เด็ก ๆ จะได้รับความช่วยเหลือทั้งเรื่องการเรียน การกีฬาหรือกิจกรรมต่าง ๆ)  

อย่างด้านจำนวนนักเรียนห้องนึงไม่เกิน 8 คน (อาจจะมีเด็กชั้นเดียวกัน หรือชั้นที่สูงกว่า  หรือชั้นที่เล็กกว่าปน ๆ กันไป) โดยคลาสสำหรับเด็กพิเศษ (支援級) ก็จะมีการแบ่งประเภทของเด็กอีก จะมี 2 ประเภท

 ประเภทที่หนึ่ง เรียก 情緒学級 (โจ้โฉะกักคิว) คลาสนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเรียน  แต่จะมีปัญหาอย่างเรื่องของการควบคุมอารมณ์ 

ประเภทที่สอง เรียก 知的学級 (จิเตคิกักคิว) 

คลาสนี้จะมีปัญหาในเรื่องการเรียน คือเรียนไม่ทันเพื่อน  

ตั้งแต่ป.1 - ป.3 ลูกเราเรียนคลาส 情緒学級 แต่พอตอนป.4 เปลี่ยนครูประจำชั้นคนใหม่ เท่านั้นแหละ ตอนมีนัดคุยกับผู้ปกครอง ครูป.4 บอกให้เราพิจารณาคลาส 知的学級  เพราะดูเหมือนลูกชายเราจะเรียนไม่ทันเพื่อน  

เรากับสามีไม่รอช้าเลย เปลี่ยนก็เปลี่ยน เพราะลูกเราคงไม่ถูกจริตกับครูคนใหม่นี้ การเรียนแย่ลง  สมาธิสั้นมากขึ้น  คือทุกอย่างแย่ลงกว่าตอน ป.3 มาก แล้วเราก็มารู้ภายหลังเพราะมีแอบไปรับลูกถึงห้องเรียนก่อนเวลา (เพราะต้องพาไปโรงพยาบาล) รู้เลยว่าครูให้เล่นโน้ตบุ๊ค (นักเรียนทุกคนจะมีกันคนละเครื่อง) 

แล้วไม่ได้ให้เล่นแป๊ปเดียวนะ  ลองถามลูก  ลูกบอกเล่นเกือบทั้งวัน แล้วน่าจะทุกวัน  โห นี่สินะที่มาของอาการแย่ลง

เลยขอครูว่าถ้าเป็นไปได้ ไม่อยากให้เล่นนอกเหนือจากที่ใช้เรียน  ครูตอบว่าถ้าไม่ให้เล่น  เด็กจะเครียด ครูเขายืนยันว่าจะยังคงให้เล่นต่อไปเพื่อไม่ให้เด็กเครียด นี่คือวิธีการของเขา

เรากับสามีคือทำอะไรไม่ได้ นอกจากอดทน 1 ปี  เพราะการย้ายคลาสต้องรอขึ้นชั้นถัดไปถึงย้ายได้ มีแม่คนญี่ปุ่นที่ลูกเขาอยู่คลาสเดียวกันกับลูกเราบอกเราว่าปีหน้าเขาจะย้ายโรงเรียนแล้วนะ  เหตุผลเราไม่กล้าถามนะ  แต่น่าจะมาจากครูประจำชั้นคนใหม่คนนี้ คิดว่านะ

เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากังวลมากเลยกับชั้น ป.5 นี้ ก็คือครูประจำชั้น  เพราะถ้าเจอครูที่ดี ใส่ใจนักเรียนเด็กพิเศษ เด็กก็จะพัฒนาต่อไปอีกได้ แต่ถ้าเจอเหมือนตอนป.4 น่าสงสารเด็กมากอ่ะ  แทนที่จะได้รับการช่วยเหลือให้พัฒนาให้ดีขึ้นกลับแย่ลง แล้วเด็กโต ก็ค่อนข้างแก้ยากอยู่แล้ว

ขึ้นป.5 สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

1. จาก情緒学級 เป็น 知的学級

2. เพื่อนร่วมชั้น 

3. ครูประจำชั้น

ก็ขอให้ลูกเราเจอครูที่เมตตา ต้องการพัฒนาเด็กให้ดีขึ้น แล้วก็ขอให้เจอเพื่อนร่วมชั้นที่เข้ากันได้ดีด้วยเทอญ 

ภาพด้านล่าง การบ้าน  งานประดิษฐ์ตอน ป.4 บางส่วน เก็บไว้เป็นความทรงจำ

แต่งานประดิษฐ์ครูผู้ช่วยเป็นคนทำซะส่วนใหญ่  ก็คงต้องทิ้งไป  เพราะไม่ใช่ฝีมือลูกตัวเอง













สัญญาณเตือนออทิสติก (EP 2)

 กว่าจะรู้ว่าลูกเราเริ่มมีภาวะทางออทิสติกก็ 3 ขวบกว่า ๆ เข้าไปแล้ว ขนาดเราที่ใกล้ชิดเขามากที่สุดยังดูไม่ออกเลย ถ้าเรารู้ก่อนหน้าให้มากกว่านี้ก็คงจะดีไม่น้อย จะได้รู้ว่าควรฝึกพัฒนาการให้เขายังไงให้ดีขึ้นให้มากที่สุด






วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2568

ลูกออทิสติกสอนอะไรหลาย ๆ อย่างให้กับแม่อย่างเรา (EP1)

ลูกของเราคุณหมอเขาวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก สเปคตรัม ตอนแรกที่เราได้รู้ผลจากการทดสอบ เรางงเลย คือออทิสติก เราแทบไม่เคยรู้จักว่าเป็นยังไง แบบไหนถึงเรียกว่าเป็น พอมาเจอกับตัวก็ช็อคมาก 
แต่ก็คิดอย่างเดียวคือเราอยากให้ลูกดีขึ้น ที่ไหนมีพัฒนาการ ก็ไปตามที่นั้น ๆ เลย แต่เข้าคิวนานมาก เพราะเด็กที่นี่เริ่มมีอาการแบบนี้เยอะขึ้น 
ก็ต้องพัฒนาเขาให้ดีที่สุดเท่าที่แม่อย่างเราจะทำได้ สู้สู้ (บอกกับตัวเอง)

 


วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เริ่มจากการที่เจ้าหนูไม่ชอบพัดลม เลยเป็นที่มาของการรู้ว่าเจ้าหนูเป็นเด็กพิเศษ

หลังจากที่เจ้าหนูไม่ชอบพัดลมมาตั้งแต่เด็ก คือตอนประมาณ 1 ขวบ ตอนที่บ้านมีการใช้พัดลม เจ้าหนูก็มักชอบมาปิดพัดลม ตอนนั้นก็คิดแค่ว่าน่าจะชอบเล่นกดปุ่ม เลยไม่ได้คิดอะไร พอมาเข้าหน้าร้อนตอนที่เจ้าหนู 2 ขวบ คราวนี้เห็นพัดลมเป็นร้องไห้ ไม่กล้าเข้าใกล้ ประกอบกับช่วงนั้นเจ้าหนูก็มีเรื่องพูดช้าถ้าเทียบ ๆ ดู ๆ จากเด็กที่รุ่นเดียวกัน
เราก็เลยคุยกับคุณซูเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือไปปรึกษาที่保険センタ (ต่อไปจะใช้คำว่า "ศูนย์") ศูนย์นี้ก็จะมีรับปรึกษาเรื่องลูก ไม่ว่าจะเรื่องการกินยาก เรื่องสุขภาพฯ
ซึ่งเราก็จำไม่ได้แล้วว่าโทรไปปรึกษาหรือว่าปรึกษาเรื่องการกินของเจ้าหนู เลยปรึกษาเรื่องพัดลมกับเรื่องภาษา ก็เลยเป็นที่มาของการที่เจ้าหน้าที่มาที่บ้าน (9 มิถุนายน 2017) แล้วก็ให้เอกสารที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่มีปัญหา อย่างที่เราพาไปร่วมกิจกรรมก็จะมี
- オリオン教室จัดทุกวันอังคาร (9.45 - จำไม่ได้ว่าถึงกี่โมง) เดือนละ 1 ครั้ง เราพาเจ้าหนูไปร่วมกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 13 มิถุนายน 2017 (เจ้าหนู 2 ขวบ 11 เดือนกว่า ๆ ) แต่เราอยู่ถึงแค่ 10.30 น. เพราะ 11.00 เจ้าหนูมีเรียนภาษาอังกฤษต่อ
เนื้อหาของกิจกรรมนี้ ตอนแรกก็จะมีให้เล่นของเล่นที่จัดวางไว้ มีให้กระโดดทะลัมโปะริง (แท่นฝึกกระโดด) บางวันก็จะมีกิจกรรมให้ใช้กรรไกรตัดกระดาษ แปะกาว ติดกระดุม พอถึงเวลาให้เก็บของเล่น ก็จะมีดีดเปียโนเป็นเพลงให้เด็ก ๆ เก็บของเล่น แล้วก็นั่งเป็นวงกลม เรียกชื่อเด็ก ให้เด็กตอบรับแล้วก็ยกมือ จากนั้นก็เป็นการให้แม่กับลูกเล่นเต้นตามเพลงเด็กของที่ญี่ปุ่น แต่ว่าตอนจบนี้เราก็จำไม่ค่อยได้แล้วเพราะไม่ค่อยได้อยู่ถึงจบ แต่เท่าที่จำได้ก็จะเป็นให้แม่กับลูกเล่นเต้นด้วยกันตามเพลง ช่วงท้ายก็ให้ช่วยกันเก็บพรม เก็บของ
เจ้าหนูมีความสุขอยากไปอีก แต่ว่าเราไปอีกครั้งที่ 2 ก็วันที่ 12 กันยายน 2017 แล้วก็ไม่ได้ไปแล้ว เพราะเขาให้เลือกที่ใดที่หนึ่ง คือเราก็พาเจ้าหนูไปเข้าร่วมกิจกรรมที่ 発達センター
แต่เจ้าหนูร้องอยากจะไปอีก เลยคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ขอไปอีก เจ้าหน้าที่ใจดีอนุญาต เลยได้ไปอีก
ครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2017
ครั้งที่ 4 วันที่ 9 มกราคม 2018
ครั้งที่ 5 วันที่13 มีนาคม 2018 (ครั้งสุดท้าย เพราะกิจกรรมนี้ให้เด็กก่อนเข้าอนุบาล)

- 発達センターก็มารู้จักจากที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ให้เอกสารมา โทรติดต่อไปแล้วก็มีนัดพาเจ้าหนูไปสัมภาษณ์ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2017 แล้วก็เริ่มเข้ากิจกรรม いちごひろば ครั้งแรกในวันที่ 7 กรกฏาคม 2017 (14.30-15.50)
ครั้งที่ 2 วันที่ 1 กันยายน 2017,
ครั้งที่ 3 29 กันยายน 2017
ครั้งที่ 4 10 พฤศจิกายน 2017
ครั้งที่ 5 1 ธันวาคม 2017
ครั้งที่ 6 2 กุมภาพันธ์ 2018
ครั้งที่ 7 11 พฤษภาคม 2018 (เจ้าหนูเข้าอนุบาลแล้ว)
ครั้งที่ 8  1 มิถุนายน 2018
ครั้งที่ 9 6 กรกฏาคม 2018
ครั้งที่ 10 7 กันยายน 2018
เนื้่อหาของกิจกรรมนี้ก็จะเน้นให้เด็กได้เล่น มีเล่นกับผู้ปกครอง เล่นกับอุปกรณ์ที่ทางนี้เตรียมไว้ให้
อย่างล่าสุดก็จะมีให้เล่นเป่าลูกโป่ง ติดลูกโป่ง นอนบนผ้าให้เจ้าหน้าที่ไกว
เป็นต้น