วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ของเล่นล็อตที่ 3 (หนังสือภาพ แบบผ้า)

ของเล่นล็อตนี้ (มีชิ้นเดียว) ซื้อมาเพราะเห็นเป็นสมุดภาพ สีสันสดใสดี มีเสียงด้วย เจ้าหนูคงสนใจ แต่เปล่า ก็ยังไม่ค่อยสนใจอยู่ดี ตอนนี้ที่เจ้าหนูสนใจจริง ๆ ก็คือการเล่นกับพ่อแม่ พูดคุยกับพ่อแม่มากกว่า
ของเล่นราคา 1,933 เยน


วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฉีดวัคซีนครบ 3 เดือน (ヒブ 2回目、小児用肺炎球菌 2回目、四種混合)

เจ้าหนูครบ 3 เดือนมา 1 วัน ก็จะมีฉีดวัคซีนตามที่เขากำหนดมา
ซึ่งรพ. ที่เราพาไปฉีดไม่อยู่ในลีสต์ที่ฉีดฟรี ก็จะต้องออกค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วทาง Hoken Center ถึงจะโอนเข้ามาทางบัญชีให้
ก่อนที่จะพาไปฉีด ก็จะต้องแวะที่ Hoken Center ก่อนเพื่อเขียนเอกสารแล้วเอาไปให้รพ.
เอกสารที่เขียนก็จะมี 2 แผ่น
1. คำร้องเกี่ยวกับการฉีดยา (予防接種について(依頼))
2. ใบแจ้งหนี้ (区域外での予防接種実施報告書兼請求書)

จากนั้นก็ไปรพ. ยื่น 2 แผ่นนี้กับแบบสอบถามเกี่ยวกับการฉีดยา (予診票)ซึ่งเอกสารนี้ก่อนหน้าจะครบ 2 เดือน ทาง Hoken Center จะส่งเอกสารมาให้ที่บ้านก่อน เราก็ต้องกรอกเตรียมไปก่อน จะได้ไม่เสียเวลาตอนที่ไปถึงรพ. แล้ว

วัคซีนที่ฉีดในวันนี้ก็จะมี
เข็มที่ 1 เป็นการฉีดครั้งที่ 2 : ฮิบ ( HIB : Haemophilus Influenza type B ) (ヒブ 2回目)
เข็มที่ 2 เป็นการฉีดครั้งที่ 2 : Streptococcus pheumoniae (小児用肺炎球菌 2回目)
เข็มที่ 3 เป็นการฉีดครั้งแรก : โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ (四種混合)
รายละเอียดของ  HIB กับ Streptococcus pheumoniae เราเคยเขียนไว้ตามลิงค์ด้านล่าง

http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/09/2.html

ฉีดคราวนี้เจ้าหนูร้องไห้ 3 ครั้งเลย เราปิดตาเลย ทนดูไม่ได้อ่ะ เห็นลูกร้องแล้วรู้สึกไม่ดีมาก ๆ
พอฉีดเสร็จก็ให้ดูอาการ 30 นาที ถ้าไม่มีอะไรก็กลับบ้านได้ เจ้าหนูก็โอเคไม่งอแงเท่าไหร่
ปกติดี ก็รอเรียกจ่ายเงิน แล้วก็กลับบ้าน
ค่าฉีดวันนี้ 33,221 เยน
กลับมาบ้านพยาบาลบอกว่าถ้าไม่มีไข้ ก็สามารถลงโอะฟุโระได้ แต่เราเช็ดตัวดีกว่า เพราะเดี๋ยวไม่สบายขึ้นมาแย่เลย

ปล. แทรกนิดนึง สำคัญสุด ๆ เป็นเรื่องการเว้นระยะเวลาการฉีดครั้งที่ 2 ซึ่งเราไม่ได้อ่านรายละเอียดเอกสารที่ทาง Hoken Center ส่งมาให้ โชคดีที่ไปฉีดเพราะครบ 3 เดือนแล้ว
อย่างฮิบกับ Streptococcus pheumoniae ฉีดเข็มที่ 1 ต้องเว้นระยะเวลา 4 สัปดาห์ไปก่อน ถึงจะฉีดครั้งที่ 2 ได้ 

ส่วนฉีดโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ฉีดเข็มที่ 1 ให้เว้น 3 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 8 สัปดาห์ ถึงจะฉีดครั้งที่ 2 ได้

เพราะถ้าเลยไปแล้ว จะฉีดย้อนหลังไม่ได้อ่ะ
หลังจากนี้เราคงต้องอ่านละเอียดนิดนึง เพราะยังมีอีกหลายเข็มที่จะต้องพาเจ้าหนูไปฉีดเมื่อครบกี่เดือน ๆ


ปล. อัพเดทหลังจากที่เจ้าหนูฉีดยา วันต่อไปร่าเริงดี ยังไม่บวมแดง แต่อีกวันหนึ่งเริ่มบวมแดง แต่ตอนเย็นก็ค่อยยังชัวร์หน่อย มีงอแงบ้าง



วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการ 2 เดือน - 3 เดือน (6 Sep - 5 Oct)

พอเข้าเดือนที่ 3 พัฒนาการ + ความเปลี่ยนแปลงของเจ้าหนูมีตามนี้
1. มือยังกำอยู่ไม่แบ
2. ฝ่าเท้าเริ่มมีลายเส้นชัดเจนขึ้น
3. แล๊บลิ้น เล่นน้ำลาย
4. ผดที่หน้ายังเป็น ๆ หาย ๆ
5. ยิ้มให้
6. เริ่มที่จะพลิกหงาย จากที่นอนคว่ำอยู่ จะหงายด้านที่เราจับให้หงาย ตอนนี้หงายได้แค่หัว (9/12)
7. กำของได้แล้ว ข้างขวาจะกำได้นานกว่า (9/17)
8. คุณซูบอกว่าเจ้าหนูแขนยาวขึ้น
9. เราเพิ่งสังเกตเห็น นิ้วเท้างอเข้า + งอลงด้านล่าง
10. เหมือนเห็นมีฟันล่าง 2 ซี่จะเริ่มขึ้นมั้ง เพราะเห็นมีขาว ๆ ที่เหงือก
11. ส่งเสียงพูด "อากึง อากู" ได้ พอเราส่งเสียงตาม ก็จะยิ้มให้
12. หันหัวไปมาตอนนอนเล่น (9/25)
13. เริ่มไม่ค่อยสะอึกแล้ว
14. จับทำท่าตบมือได้
15. ไม่มีเลือดขึ้นหน้าเยอะเท่าเดือนแรก ๆ
16. เริ่มไม่กินนมผง จะกินก็ตอนเข้านอนตอนกลางคืน
17. มือยังกระตุก ตอนที่ตกใจ
18. เริ่มสังเกตุว่ามีขนขึ้นตามแขน ขา (10/1)
19.  เจ้าหนูชันคอได้สูงกว่าเดิมเยอะเลย (10/1)
20. เริ่มตะแคงเองได้ แต่ยังคว่ำไม่ได้ ร้องไห้ซะก่อน (10/5)
21. แบะปากจะร้องไห้ เพราะดุเรื่องว่าไม่ยอมให้หม่าม้ากินข้าวกลางวัน ตลกดี
22. เริ่มเอามือจับสิ่งของ ของเล่น
23. น้ำตาด้านซ้ายเริ่มไหล
24. เม้มปากได้ เพราะเลียนแบบเรา (10/10)
25. ฝ้าที่ลิ้นเริ่มจางลง
26. ยกแขนขาได้ ยกขาสูงเชียว
27. ไม่ยอมกินนมผงแล้ว
28. เป็นผดอีกแล้ว (10/13)


วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ได้รับจม. จาก Hoken Center แจ้งการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสฟรี + แจ้งการตรวจครบ 4 เดือน

วันนี้ได้รับจม. จาก Hoken Center แจ้งการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสฟรี + แจ้งการตรวจครบ 4 เดือน

จม. แจ้งการฉีดวัคซีนอีสุกอีใสฟรี ในเนื้อความของจม. ก็จะประมาณว่าตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2014 จนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2015 สามารถพาลูกไปฉีดวัคซีนฟรีตามลิสต์รพ. ที่ได้ส่งมาด้วย ซึ่งการฉีดจะมี 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 จะฉีดได้ตั้งแต่ลูกอายุ 12 เดือน - 36 เดือน
ส่วนการฉีดครั้งที่ 2 จะเว้นจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 เดือน - 12 เดือน
(ถ้าเลยวันเกิดลูกอายุ 3 ขวบแล้วจะไม่สามารถฉีดได้)
และสิ่งที่ต้องนำไปด้วย
1. เอกสารฉบับนี้
2. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก
3. เอกสารเข้ารับการฉีดวัคซีน

ส่วนจม. แจ้งการตรวจครบ 4 เดือน ในเนื้อความของจม. จะระบุวันที่ให้ไปตรวจ แล้วก็เวลา  ซึ่งด้านหลังของจม. จะเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาการของลูก เช่นลูกคอแข็งแล้วหรือยัง  พูดโต้ตอบได้หรือยัง เป็นต้น แล้วก็ให้เขียนตารางใน 1 วันของลูกว่าตอนนอนกี่โมง ให้นมลูกกี่โมง อาบน้ำกี่โมง เป็นต้น
ซึ่งสิ่งที่ต้องนำไปด้วย
1. จม. ฉบับนี้
2. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก

ในจม. แจ้งการตรวจครบ 4 เดือนก็มีเอกสารแจ้งเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพของพ่อกับแม่ ที่มีอายุ 18 - 39 ปี ซึ่งค่าตรวจ 1,500 เยน ต่อคน
เราก็คิดว่าคงจะไปตรวจ เพราะเขาจะดูแลลูกของเราให้ด้วย ดีเหมือนกัน เพราะถ้าไปตรวจเอง ไม่มีคนดูเจ้าหนูให้









วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

รวมกลุ่มลูกที่รุ่นเดียวกันครั้งที่ 2 (子育てグループの案内)

หลังจากแจ้งเกิดไป ก็จะมีไปรษณียบัตรมาที่บ้านว่าวันที่เท่านี้ ๆ จะมีการรวมกลุ่มลูกที่รุ่นเดียวกัน (子育てグループの案内)ครั้งแรกที่เขากำหนดจะเป็นวันที่ 28 สค. แต่วันนั้นฝนก็ทำท่าจะตก เจ้าหนูก็งอแง เราเลยไปครั้งที่ 2คือวันนี้แทน
ไปถึงก็จะมีแม่ ๆ ที่คลอดลูกช่วงเดือน มิย. แล้วก็ กค. มา คงเป็นการให้ได้รู้จักเพื่อน แลกเปลี่ยนความรู้ หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตัวเองเจอว่าลูกเราเป็นอย่างนี้ ลูกเธอเป็นยังไง อะไรประมาณนี้
ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ก็โอเคนะ ได้เพื่อนใหม่ ได้รู้ว่าลูกคนอื่นก็มีพัฒนาการที่เหมือนหรือแตกต่างจากเจ้าหนู ซึ่งการรวมกลุ่มแบบนี้เขาจะจัดเดือนละครั้งจนกว่าลูกจะอายุ 1 ขวบ 

สิ่งที่ให้เอาไปด้วยในวันนั้นก็จะมี
1. ผ้าขนหนูไว้รองให้เจ้าหนูนอนกับพื้น
2. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

ของเล่นล็อตที่ 2ของเจ้าหนู (แผ่นฝึกสายตาตอนทารก, Block ทำจากข้าว)

ของเล่นล็อตที่ 2 ของเจ้าหนู ซื้อมาเพื่อฝึกพัฒนาการในเรื่องของการเห็น และการได้ยิน 

ชิ้นนี้ตอนแรก ๆ ที่ใช้ เจ้าหนูก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ แต่ก็ให้ดูเรื่อย ๆ ก็เริ่มสนใจมากขึ้น
ซื้อจาก Amazon ราคา 2,592 เยน



ส่วนชิ้นนี้ซื้อเพราะเห็นว่ามีการต่อเป็นบ้านเป็นอะไร ถึงโตขึ้นก็ยังเล่นได้ ตอนแรกคิดว่าราคาไม่เท่าไหร่ พอกลับมาบ้านทำบัญชี ห๋า ราคา 9,029 เยน





ตรวจครบ 2 เดือน และฉีดวัคซีน

หลังจากที่คลอดน้อง ก็ไม่ได้อัพเดทเลย มาอัพอีกทีตอนครบ 2 เดือนแล้ว 555
เดี๋ยวถ้าว่างกว่านี้จะอัพย้อนหลังนะ


หลังจากเจ้าหนูครบ 2 เดือนมา 3 วัน วันนี้ก็พาไปตรวจและฉีดวัคซีน (เป็นการฉีดครั้งแรกหลังจากคลอด)
วัคซีนที่ฉีดก็จะมี 2 ชนิดคือ


1. Haemophilus influenza Type B (Hib) (ヒブ) ซึ่งวัคซีนตัวนี้คือ  
ฮิบ ( HIB : Haemophilus Influenza type B ) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำให้เกิดโรครุนแรงในเด็กได้ มีชื่อเต็มว่า ฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนซา ชนิด บี (Haemophilus Influenza type B) พบการเกิดโรคได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 เดือนถึง 2 ขวบ และสามารถพบได้ถึงอายุ 5 ขวบ แต่หลังอายุ 2 ขวบจะพบในอัตราน้อยลง เชื้อฮิบมีอยู่ในธรรมชาติ อยู่ในปากและลำคอของคนที่เป็นพาหะ ในคนที่มีภูมิต้านทานจะไม่มีอาการ แต่ในคนที่ไม่มีภูมิต้านทานเชื้ออาจลุกลามไปยังส่วนต่างๆก่อให้เกิดโรคได้ สามารถติดต่อไปยังคนใกล้ชิดได้โดยการไอ จามรดกัน หรือติดต่อจากพี่ที่ไปโรงเรียน ซึ่งสามารถนำเชื้อนี้มาติดต่อน้องที่บ้านได้ หรือการพาลูกเล็กๆ ไปข้างนอกบ้านในที่ๆ มีคนพลุกพล่านก็สามารถได้รับเชื้อนี้ได้ อาการ หลังจากได้รับเชื้อฮิบแล้วจะมีอาการใน 3-4 ชั่วโมง ถึง 1-2 วัน
(อ้างอิงจาก กูรู sanook)

2. Streptococcus pheumoniae (小児用肺炎球菌)ซึ่งวัคซีนตัวนี้คือ
เชื้อนิวโมคอคคัสสามารถทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และรวมไปถึงการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
เชื้อนิวโมคอคคัส คืออะไรนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถพบได้ในทางเดินหายใจของคนทั่วไป โดยคนที่มีเชื้อนิวโมคอคคัสนี้อาจมีอาการแสดงของการเป็นโรค หรืออาจไม่เป็นโรคก็ได้ ผู้ที่มีเชื้ออาศัยอยู่โดยไม่ได้เป็นโรค เรียกว่าเป็นพาหะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน
การแพร่กระจายของเชื้อ
เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถกระจายจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ โดยวิธีเดียวกับการติดเชื้อไข้หวัด คือละอองเสมหะของผู้ที่มีเชื้ออยู่จะแพร่กระจายไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้โดยการไอ จาม หรือจากการสัมผัสโดย ตรง เช่น สัมผัสมือของผู้ป่วยที่เปื้อนเชื้อแล้วไม่ได้ล้างมือ หรือ หอมแก้มผู้ที่มีเชื้ออยู่ โรคอาจแพร่กระจายได้อย่าง รวดเร็วในบริเวณที่มีเด็กอยู่มาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาลเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่ แข็งแรงดี จึงมีโอกาสต่อการติดเชื้อสูงขึ้น
การรักษาภาวะการติดเชื้อนิวโมคอคคัสการรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาไปทานที่บ้าน หรือบางรายอาจจำเป็นต้องนอนให้ ยาที่โรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อที่ใดมีอาการรุนแรงเพียงใด
ในปัจจุบัน พบว่ามีปัญหาเชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้รักษายากขึ้น ต้องใช้ยามากขึ้นและผลการรักษาอาจ ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น วิธีการดูแลที่ดีที่สุด คือการป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างไร
  • สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
  • สอนให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่ไม่สบาย
  • พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควันบุหรี่ หรือควันพิษต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตราย ต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ป่วยได้ง่ายขึ้น
วัคซีนป้องกันการเกิดโรคนิวโมคอคคัสในปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งพบว่าได้ผลดีในการป้องกันการติดเชื้อที่ รุนแรง เช่น ป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต ปอดอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ได้ผลเล็กน้อยในการ ป้องกันการติดเชื้อในหูชั้นกลาง หรือในไซนัส
ใครบ้างควรได้รับวัคซีนสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรให้วัคซีนที่ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีทุกราย ซึ่ง สามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ในเด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางอย่าง เช่น มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี ที่มีโรคเรื้อรัง ก็ควรได้รับการพิจารณาให้วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสเช่นกัน
การให้วัคซีนมีอาการข้างเคียงบ้างไหมเด็กส่วนใหญ่ไม่เกิดอาการข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน อาการที่อาจเกิดขึ้น มักเป็นเพียงเล็กน้อยและคง อยู่ไม่นาน ซึ่งได้แก่
  • การบวมแดง และเจ็บบริเวณที่ฉีดยา
  • อาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง
  • เด็กเล็กอาจมีอาการหงุดหงิด งอแง
อาการมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังได้รับวัคซีน และมักหายไปภายใน 48 – 72 ชั่วโมง
(อ้างอิงจาก Bangkok Health)

ตอนฉีดเข็มแรก เจ้าหนูก็ไม่ร้องนะ แต่พอฉีดเข็มที่ 2 ร้องนิดหน่อย แล้วก็หยุด พยาบาลให้ดูอาการ.30นาที. ถ้าไม่มีอะไร.กลับไปวันนี้ก็ให้อาบโอะฟุโระได้
แต่ก่อนที่จะพาไปฉีดวัคซีน  ทางโฮเค็ง เซ็นเตอร์ก็ส่งเอกสารมาให้ ข้างในจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันสำหรับเจ้าหนู ว่าจะต้องมีฉีดอะไรบ้าง โรงพยาบาลไหนบ้างที่สามารถไปฉีดได้ฟรี แต่เราเลือกที่จะฉีดที่เดียวกับที่เจ้าหนูคลอด ซึ่งที่นั้นไม่มีในลีสต์ ก็ต้องไปทำเรื่องของเอกสารจากโฮเค็ง เซ็นเตอร์มาก่อน ถึงจะไปฉีดได้ โรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในลีสต์ ก็จะต้องออกค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วค่อยไปขอคืน ซึ่งโรงพยาบาลเป็นคนเดินเรื่องให้ แต่คงมีค่าธรรมเนียมอ่ะเนอะ
แล้วค่าวัคซีน 2 ตัวนี้แพงสุด ๆ เกือบ 2 หมื่นเยนแหน่ะ เราจำตัวเลขไม่ได้หล่ะ เพราะใบเสร็จโรงพยาบาลเก็บไป

จากนั้นก็มาตรวจครบ 2 เดือน คุณหมอฟังเสียงหัวใจ, จับแขน 2 ข้าง ให้นั่ง เห็นแล้วเสียวคอแทน
วันนี้เจ้าหนูหนัก 6.28 โล ส่วนสูง 58 เซน  คุณหมอบอกให้เราลดปริมาณการให้นมลง เพราะเจ้าหนูไม่เห็นคอ 555 คุณหมอแนะนำให้ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ตอนนี้เราให้นมแม่ + นมผงอยู่ คุณหมอก็แนะนำว่าถ้านมแม่คัดก็นมแม่ล้วน ถ้าไม่คัดก็นมผง 140 มิลลิลิตร
จากนั้นเราก็ถามเรื่องรังแคที่หัวเจ้าหนู มันจะเป็นสะเก็ด แผ่นเล็ก ๆ สีเหลือง ๆ คุณหมอบอกว่าสระผมเสร็จทาด้วยออยล์ แล้วเด็กพอ 6 เดือนไปแล้วก็จะหายไปเอง
คุณหมอแนะนำให้จับนอนคว่ำบ่อย ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกายคอด้วย อย่างถ้ามีการเรอถ้านอนคว่ำอยู่ก็จะไหลออกมาเอง

การตรวจวันนี้ก็มีเท่านี้

กลับมาบ้านเจ้าหนูงอแงเล็กน้อย แต่ไม่ได้เป็นไข้.นึกถึงตอนหมอฉีดยาให้ลูกแล้วเจ็บแทน.><

ปล. เพิ่งมารู้จากแม่.ๆ.คนอื่นว่าเขาฉีดโรต้า.กับไวรัสตับอักเสบบีด้วยตอนที่ครบ.2เดือน.เรามารู้ช้าไป.โรต้าฉีดไม่ทันเพราะมีกำหนดว่าต้องฉีดภายในกี่สัปดาห์หลังจากที่เกิด. ส่วนไวรัสตับอักเสบบี.สามารถฉีดตอนโตได้.ก็ขอให้เจ้าหนูแข็งแรง.ๆน้า



พัฒนาการ 1 เดือน - 2 เดือน (6 Aug - 5 Sep)

พอเข้าเดือนที่ 2 เจ้าหนูก็จะมีพัฒนาการ + ความเปลี่ยนแปลงตามนี้
1. ขนตาเริ่มเป็นสีดำ คิ้วเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมีขนดำ
2. ตอนกินนมเสร็จ จะรู้สึกเหมือนเจ้าหนูอึดอัดมาก แล้วก็แหวะนม
3. ทำเสียงเหมือนมีเสมหะในลำคอ
4. พอปล่อยลงนอนเตียง หรือฟูก จะทำคอแข็ง ๆ ไม่ให้วาง
5. มีผื่นแดงที่ก้น แต่พอทาวาสลีนสำหรับเด็กก็หาย
6. ผมด้านหน้าเริ่มขึ้น
7. ผื่นที่ขึ้นที่หน้าเริ่มดีขึ้น (วันที่ 10 ส.ค.) คงเพราะใช้ออยล์ของทางรพ. แล้วก็ขึ้นอีก 15 ส.ค. เป็น ๆ หาย ๆ
8. ผื่นที่หน้าดีขึ้นก็ลามมาที่คอ ลำตัว แขน
9. รู้สึกว่าคอ แขน นิ่มมาก เหมือนเจ้าหนูไม่มีแรงยังไงยังงั้น
10. กระหม่อมตรงหัวเริ่มแข็งขึ้น บางครั้งเห็นเป็นตุ๊บ ๆ ไม่กล้าจับตรงนั้นมากเลย
11. 20 ส.ค. อึเจ้าหนูเริ่มน้อยลง แล้วก็เป็นสีเหลืองเข้ม แต่ปริมาณต่อครั้งเยอะขึ้น เพราะช่วงเดือนแรก จะปนสีเขียว ๆ เหลือง ๆ จำนวนครั้งที่อึก็เยอะกว่า แต่ปริมาณไม่ค่อยเยอะ
12. ตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. มีสำลัก + ไอ
13. ทำเสียงฝีดฝาด เหมือนเป็นหวัด มีขี้มูกด้วยต้องแคะออก (ใช้คัตเติลบัตแคะ)
14. เริ่มเล่นด้วย + เริ่มส่งเสียงเหมือนเรียก, เล่น
15. บางทีทำหน้าเหมือนจะร้องไห้ แต่ไม่ร้อง ทำเสียงสะอื้น
16. นอนละเมอ
17. ทำมือกระตุก
18. ตาเริ่มเคลื่อนไหวดูของระยะไกล ๆ ได้แล้ว
19. เริ่มยิ้มให้ หัวเราะ
20. มองตามได้แล้ว
21. ส่งเสียงร้องเรียก
22. ชันคอได้แต่ยังไม่แข็ง
23. มีน้ำตาไหล 1 หยด (ข้างขวา)
24. ดูดกำปั้น
25. มีรังแคขึ้นหัวเป็นแผ่น ๆ เหลือง ๆ
26. หันหัวซ้าย - ขวาได้
27. กระพริบตาข้างเดียวได้
28. ผมเริ่มร่วง

ส่วนของเราก็มี
1. รักแร้ที่ดำ ๆ ค่อย ๆ จางลง
2. เส้นดำ ๆ ที่ท้องค่อย ๆ จางลง
3. มือที่เคยชาหลังคลอด ไม่ชาแล้ว
4. เหมือนจะปวดมดลูก ตอนลุกขึ้น
5. ปวดหัวเข่า



วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ยื่นแจ้งเกิดเจ้าหนูที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น

พอเจ้าหนูครบเดือน คุณซูก็ให้รีบแจ้งเกิดเจ้าหนู ซึ่งจริง ๆ เราอยากรอให้ครบ 3 เดือนก่อน แต่ก็ตามใจคุณซูเขา
เอกสารที่เตรียมก็จะตามเว็บของสถานทูตเลย
http://www.thaiembassy.jp/rte3/index.php?option=com_content&view=article&id=146&Itemid=11

ก็เหมือนเดิม แบ่งหน้าที่กัน เอกสารที่เป็นทางด้านญี่ปุ่น คุณซูก็เป็นคนจัดการไป
สำหรับเรา ก็จะติดตรงทะเบียนบ้านที่ในเว็บเขียนไว้ว่า "สำเนาทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือสำเนาที่มีตราอำเภอรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมสำเนา 1 ชุด" แต่เรามีแค่สำเนาอย่างเดียวก็เลยโทรไปถาม เจ้าหน้าที่บอกว่าใช้ได้

เตรียมเอกสารทุกอย่างครบแล้วก็ไปยื่น เจ้าหน้าที่ใจดีมาก แล้วตัวจริงที่เราเตรียมไปด้วย เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ขอดูของเรานะ (แต่ควรเตรียมไปจะดีที่สุด) ใช้เวลาแป๊บเดียวเอง แล้วก็มานั่งรอเรียกรับใบอะไรก็จำไม่ได้แล้วที่ช่องชำระเงิน แต่เราไม่ได้จ่ายเงินนะ ก็เป็นอันเสร็จกลับบ้านได้

อาทิตย์ต่อมาได้รับสตูบัตรของเจ้าหนูอีกที ก็จะเป็นการลงทะเบียนจ่ายเงินปลายทาง เสียค่าไปรษณีย์ลงทะเบียนไป 710 เยน



ตอนนี้เจ้าหนูก็จะมี 2 สัญชาติ ก็ไว้รอให้เขาโตอายุ 20 ปี แล้วให้เขาเลือกเองว่าอยากจะเป็นคนญี่ปุ่นหรือว่าคนไทย



วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เจ้าหน้าที่จากทาง Hoken Center มาเยี่ยมถึงบ้าน

พอแจ้งเกิดของเจ้าหนูได้สักพัก .เจ้าหน้าที่ที่ช่วยเรื่องผดุงครรภ์ จากทาง Hoken Center (保健センターの助産師) ก็มาเยี่ยมถึงบ้าน ก็เป็นการมาให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูก มีชั่งน้ำหนักเจ้าหนูด้วย เพราะเขาเอาที่ชั่งสำหรับทารกมาด้วย น้ำหนักเจ้าหนู 4,810 กรัมคงเยอะกว่าเกณฑ์มั้ง เพราะมีแนะนำว่าควรให้นมผงที่ 60 มล. + นมแม่ (เราให้อยู่ที่ 80 มล.+ นมแม่)
จากนั้นก็ให้เราถอดเสื้อผ้าเจ้าหนู แล้วเขาก็เช็ค ๆ ดู
พอเช็คทุกอย่างเรียบร้อย ก็มีเขียนบันทึกไว้ในสมุดสุขภาพแม่และเด็กด้วย
ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะกลับก็มีให้เอกสาร เป็นเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของรพ. ในเขต, ปฏิทินตารางสุขภาพ 
ซึ่งเรารู้สึกดีจังที่ญี่ปุ่นมีระบบแบบนี้






วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตรวจครบ 1 เดือนของเจ้าหนู + ของเราด้วย

พอครบ 1 เดือน ก็มีนัดพาเจ้าหนูไปตรวจครบเดือน
การตรวจครั้งนี้ก็มีตรวจครบเดือนของเราด้วย ว่าหลังจากคลอดแล้วมีอะไรผิดปกติมั้ย
พอไปถึงรพ. ส่วนของเราก็ต้องวัดความดัน + เก็บปัสสาวะ แล้วก็ตรวจภายใน
ส่วนของเจ้าหนูก็พบคุณหมอได้เลย

สำหรับเราหลังจากที่ตรวจแล้ว พบคุณหมอแล้ว คุณหมอบอกปกติดี จากนี้ไปน้ำคาวปลาคงไหลน้อยลงจนหมดไป แล้วปจด. ของเราก็คงมาหลังจากนี้อีก 1 ปีนะ (เพราะให้นมแม่ด้วย) 

ส่วนของเจ้าหนู ชั่งน้ำหนักอยู่ที่ 4,475 กรัม ส่วนสูง 53.7 ซม. แล้วก็ถามเรื่องการให้นม ของเราเป็นแบบผสมคือนมแม่ + นมผง นมผงอยู่ที่ 60 หรือ 80 มล. ทุก ๆ  3 ชม.
จากนั้นก็คุยกับคุณหมอ  คุณหมอก็บอกว่าแข็งแรงดี มาจับแขน 2 ข้างของเจ้าหนูดึงขึ้นมาให้นั่งด้วย เราเห็นแล้วเสียววาบเลย เพราะคอยังปวกเปียกอยู่เลย
จากนั้นเราก็ถามเรื่องสิว + ผดที่ขึ้นหน้าของเจ้าหนู (เยอะมาก) คุณหมอบอกให้ล้างหน้าด้วยสบู่ + ทาออยล์ที่ทางรพ.ให้ไปตอนออกจากรพ. แล้วจะดีขึ้น
แล้วก็ถามเรื่องฝ้าขาว ๆ ที่ลิ้น คุณหมอก็ตรวจดูไม่ใช่เชื้อรา บอกไม่เป็นไร 

แล้วเราก็ถามเกี่ยวกับการหายใจของเจ้าหนู เหมือนจะเป็นหวัด คุณหมอบอกว่าไม่เป็นไร
แล้วก็แนะนำให้จับเจ้าหนูนอนคว่ำ ซึ่งตอนแรก ๆ เจ้าหนูก็ยอมนอนคว่ำแต่โดยดีอ่ะนะ พอมาหลัง ๆ เริ่มไม่ยอมหล่ะ ก็เลยต้องนอนหงายเหมือนเดิม

วันนี้ทางรพ. มีให้วิตามิน K สำหรับเจ้าหนูมาด้วย กลับมาถึงบ้านก็ผสมน้ำอุ่นให้ เจ้าหน้าที่บอกว่าขม เด็กอาจจะกินยาก แต่เจ้าหนูกินหมดรวดเดียวหน้าตาเฉยเลย สงสัยยังไม่รู้รสว่ารสชาตินี้เรียกว่าขมแหง ๆ 

ค่าตรวจในวันนี้ของเรา + เจ้าหนู  6,480 เยน

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ครบ 1 เดือน พาไปศาลเจ้า

วันนี้ครบ 1 เดือน ก็พาเจ้าหนูไปศาลเจ้าเพื่อขอบคุณและขอให้เจ้าหนูแข็งแรง คุณพ่อคุณแม่ของคุณซูพาไป
ชุดที่ใส่ไปจะต้องเป็นชุดที่เรียบร้อย อย่างผู้ชายก็จะใส่สูท ส่วนผู้หญิงก็จะใส่กระโปรง
แต่เราเห็นคนญี่ปุ่นคนอื่นจะใส่ชุดสีแดง ๆ กัน  แต่คุณแม่สามีไม่ได้บอกอะไร คงเพราะเราเป็นคนต่างชาติมั้ง
ส่วนเจ้าหนูก็จะใส่ชุดที่คุณซูเคยใส่ตอนเป็นทารก




พอไปถึงศาลเจ้า คนที่ทำพิธีบอกให้ย่าเป็นคนอุ้มเจ้าหนู แล้วก็ทำพิธี ไม่นาน แป๊บเดียวก็เสร็จ จากนั้นก็ออกมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกัน


วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พัฒนาการ 0 เดือน - 1 เดือน (6 Jul - 5 Aug)

ตอนที่ออกจากรพ. ทางรพ. ก็จะใส่เสื้อผ้าให้เจ้าหนู 2 ชั้น คือชั้นในจะเป็นแขนสั้น แล้วชั้นนอกแขนยาว
กลับมาบ้านเราก็ใส่ให้เจ้าหนู 2 ชั้นเหมือนกัน แต่ชั้นนอกเป็นแขนสั้น ใส่ 2 ชั้นแบบนี้จนครบเดือน หลังจากนั้นก็ไม่ใส่แล้ว เพราะดูท่าทางเจ้าหนูจะร้อนมาก (คลอดตอนหน้าร้อน) ก็เลยเหลือ 1 ตัวแทน

ช่วงแรก ๆ ที่แขน ขา ผิวจะลอก พยาบาลบอกว่าให้ใช้สบู่ที่รพ. ให้ไป เพราะสบู่ที่ขายทั่วไป อาจจะแรงเกิน

หลังจากออกจากรพ. เจ้าหนูจะนอนตอนกลางวันนานกว่าตอนกลางคืน กลางคืนไม่ยอมนอน

และพอคลอดได้ 2 สัปดาห์ เจ้าหนูมีผื่นขึ้นที่หน้า (乳児湿疹)พาไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกเป็นผื่นทารก ให้รักษาความสะอาด แล้วก็ทาออยล์ที่ทางรพ. ให้ตอนออกจากรพ.  เราก็ลองทาดู เริ่มดีขึ้นในวันที่ 10 ส.ค.

พอผ่านไปสักพักนึง ก็เริ่มนอนตอนกลางคืน คราวนี้ไม่ค่อยยอมนอนตอนกลางวัน จะนอนแค่อย่างมาก 30 นาที

คิ้วเจ้าหนูเริ่มขึ้น มีขนบาง ๆ ขนตามีแล้วแต่เป็นสีน้ำตาล

เจ้าหนูจะไวต่อเสียงมาก ๆ

ต่อมาที่หัวเจ้าหนูก็เป็นสะเก็ด ๆ เหมือนรังแค

หลังกินนมเสร็จ ก็มักจะสะอึก

บางครั้งทำหน้าเหมือนจะร้องไห้ แล้วก็ไม่ร้อง แล้วก็ทำหน้าปกติ แล้วก็มีทำเสียงสะอื้น

เลือดชอบขึ้นหน้าเวลาร้องไห้ หรือตอนปวดท้อง เป็นอย่างนี้จนเข้าเดือนที่ 2

ส่วนของเราก็จะมี 
ช่วงแรกได้นอนประมาณวันละ 1-2 ชั่วโมง
น้ำหนักลดไป 9 กก.
น้ำคาวปลาไหลทุกวัน มีวันที่ 20 กค. ที่ไหลแบบเป็นก้อนเลือด ไปหาคุณหมอ คุณหมอบอกปกติ

ก็จะมีประมาณเท่านี้นะ

 





วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันที่สะดือเจ้าหนูหลุด

หลังจากที่ออกจากรพ. ตอนอาบน้ำให้เจ้าหนู หลังจากอาบน้ำเสร็จก็ต้องเปลี่ยนผ้าพันแผลที่สะดือเจ้าหนูเสมอ ก่อนปิดผ้าพันแผลก็ต้องเช็ดให้แห้งแล้วก็หยอดยาที่รพ. ให้มาคงเป็นยาฆ่าเชื้ออ่ะนะ แล้วก็ใช้คัตเติลบัต เช็ดให้แห้ง แล้วค่อยปิดสะดือ
ช่วงแรก ๆ ไม่ค่อยเท่าไหร่ มาช่วงที่สะดือเริ่มจะหลุดนี่สิ ผ้าพันแผลติดเลือดที่ออกมาจากสะดือ ทำให้แกะออกยาก แกะออกมาก็มีเลือดซึมมากับผ้าด้วย เราตกใจมาก ทำอะไรไม่ถูกเลย คุณซูก็ไปทำงาน เลยส่งรูปที่เลือดซึมให้ดู คุณซูบอกให้โทรไปรพ.  พอโทรไปทางรพ. บอกให้มาให้ทางเจ้าหน้าที่ดูให้ แต่เจ้าหนูยังไม่ครบเดือน เราก็ไม่อยากพอไปเอง เลยถามว่าเป็นวันอื่นได้มั้ย ทางรพ. บอกได้ ก็เลยรอให้คุณซูเป็นคนพาไป

รูปที่สะดือมีเลือดออกปนมากับผ้าพันแผล


พอพาไปรพ. พยาบาลก็เปิดสะดือเจ้าหนูดู เราเห็นแทบจะเป็นลม เลือดออกอ่ะ แต่พยาบาลทำปกติมาก ๆ ทำความสะอาด ปิดแผลให้ แล้วก็บอกว่าตอนที่อาบน้ำให้เจ้าหนู ให้แกะผ้าพันแผลนี่ในน้ำเลย เพราะน้ำอุ่นช่วยให้แกะง่ายขึ้น (ตอนแรกเราแกะตอนที่อาบเสร็จแล้ว) ก็แกะง่ายขึ้นจริงๆ ด้วยแต่ต้องปาดเหงื่อ มือสั่นเหมือนกัน

และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง สะดือหลุดแล้ว เย้ ค่อยยังชั่วหน่อย โล่งอกไปอีก 1 เรื่อง

ใช้เวลา 18 วันกว่าสะดือจะหลุด


วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ของขวัญที่ได้รับหลังจากเจ้าหนูเกิด

หลังจากคลอดเจ้าหนูแล้ว ก็จะมีเพื่อน ๆคุณซู เจ้านาย ส่งของมาให้  มีได้เป็นซองบ้างก็จากญาติ ๆคุณซู แล้วก็จากทางบริษัทคุณซู
อย่างชิ้นแรกจะได้จากเจ้านายคุณซูส่งมาทางไปรษณีย์ เป็นโดราเอมอน มีเสียงพูดด้วย แล้วก็มีเสื้อให้ใส่ น่ารักดี






ต่อมาก็ชิ้นนี้จากเพื่อนคุณซู เป็นเสื้อผ้าครบเซ็ทเลยสำหรับฤดูใบไม้ร่วงที่จะถึงนี้เลย ของ Gap





ชิ้นนี้จากเพื่อนคุณซู เป็นเซ็ทผ้าขนหนู แถมหมีมา 1 ตัว น่ารักดี




นี่ก็จากเพื่อนที่ทำงานคุณซู เป็นรองเท้ากับถุงเท้า ถือเป็นรองเท้าคู่แรกของเจ้าหนูเลย
นี่ก็จากเพื่อนคุณซู เป็นของเล่น

แพมเพิสจากเพื่อนที่ทำงาน เขาหุ้นกัน 3 คน แต่ภาพนี้เราถ่ายไว้เป็นตัวอย่างเฉย ๆ จริง ๆ ที่ได้จะเป็นแพมเพิส 2 กล่องใหญ่, ทิชชูเปียกเช็ดก้นซองลายมิคกี้ 1 กล่อง
ปล. แพมเพิสใช้หมดไปเรียบร้อยแล้ว ทิชชูเปียกกำลังจะหมดตามไป 555




ส่วนภาพด้านล่างเป็นของที่ได้จากโรงพยาบาลตอนออก ก็จะมีเสื้อผ้าเด็ก ผ้าห่อตัว สบู่เด็ก ออยล์ทาผิว
ออยล์ทาผิวนี่ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ทางคุณหมอให้ใช้ทาผิวอย่างตอนที่เป็นผด สิวทารก ทาแล้วก็โอเคขึ้น แต่ก็เป็น ๆ หาย ๆ ก็ยังใช้มาตลอด





นี่ก็จากโรงพยาบาล ชุดถ้วยชาม กระเป๋า แล้วก็อัลบั้มรูปจะมีรูปตอนเจ้าหนูเกิดใหม่ ๆ ใส่มาให้เป็นที่ระลึกด้วย

ของที่ได้รับก็จะมีเท่านี้

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทำบัตรประกันสุขภาพของเจ้าหนู

พอคุณซูไปทำงานหลังจากที่ลาคลอดมาช่วยภรรยา 555 ก็กลับไปทำงานพร้อมกับยื่นเรื่องทำบัตรประกันสุขภาพของเจ้าหนู ซึ่งบัตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการพนักงาน อย่างเราก็มีบัตรนี้เหมือนกัน ใช้ตอนไปรพ. ก็จะจ่ายค่ารักษาถูกลงหน่อย
อย่างของเจ้าหนู เวลาไปรพ. ก็จะต้องยื่นบัตรนี้ด้วย + บัตรสีชมพูที่คุณซูไปยื่นเรื่องตอนแจ้งเกิด (ในกรณีที่รพ. ไม่ได้อยู่ในเขตที่เราอยู่ หรือในกรณีที่รพ. ที่อยู่ในเขตขอ) ค่ารักษาก็ไม่ต้องเสีย แต่จะมีค่าอย่างอื่นเช่น ยา การฉีดวัคซีน ฯ ที่คงยังต้องจ่ายอยู่

นอกจากบัตรประกับสุขภาพที่ว่านี้แล้ว คุณซูยังสมัครรับเอกสารที่เกี่ยวกับแม่และเด็กด้วย ตอนนี้ก็เลยมีนิตยสารมาที่บ้านประจำเดือนเลย (นิตยสารนี้ก็เป็นสวัสดิการของบริษัทคุณซูเหมือนกัน)

หน้าตาแบบนี้ ส่วนเล่มเหลืองเป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ทางบริษัทคุณซูก็ส่งมาให้  เนื้อหาจะเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก เด็ก


วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แจ้งเกิด + ยื่นเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร + ยื่นเรื่องค่ารักษาพยาบาลฟรีของเจ้าหนูที่สำนักงานเขตของญี่ปุ่น

วันที่ออกจากรพ. ทางรพ. ก็ให้ 出生証明書 (เอกสารรับรองการเกิด) มา ซึ่งเราจะต้องนำไปยื่นแจ้งเกิดภายใน 14 วันหลังจากที่เจ้าหนูเกิด แต่เราไม่ได้เป็นคนไปยื่นนะ คุณซูไปยื่นเอง
เอกสารที่จะต้องนำไปยื่นด้วยจะมี
1. เอกสารรับรองการเกิดที่รพ. ออกให้ (出生証明書)
2. สมุดสุขภาพแม่และเด็ก (母子健康手帳)
3. บัตรประกันสุขภาพของผู้ที่ยื่น
4. อิงคัง
5. แบบฟอร์มการแจ้งเกิด (出生届)
พอยื่นแล้วก็จะมีเขียนในสมุดสุขภาพแม่และเด็ก จะเขียนในหน้าแรกเป็นรายละเอียดของเจ้าหนู ว่าได้ยื่นเรื่องเรียบร้อยแล้ว 

ไหน ๆ ก็ไปยื่นแล้ว คุณซูก็เลยยื่นเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร (เหมือนประกันสังคมบ้านเราอ่ะเนอะ) เราก็ไม่รู้ว่าคุณซูใช้เอกสารอะไรบ้าง แต่ที่คุณซูก๊อปปี้กลับมาจะมี
1. แบบยื่นเรื่องเงินสงเคราะห์บุตร (児童手当・特例給付 認定請求書)
2. ระบบของเงินสงเคราะห์บุตร (児童手当制度)
ซึ่งระบบนี้ อย่างอายุเจ้าหนู 0 ขวบ - ไม่เกิน 3 ขวบ ได้ 15,000 เยน
ตั้งแต่ 3 ขวบ - ก่อนที่จะจบประถม (ลูกคนแรก, คนที่ 2) ได้ 10,000 เยน 
ตั้งแต่ 3 ขวบ - ก่อนที่จะจบประถม (ตั้งแต่ลูกคนที่ 3) ได้ 15,000 เยน
มัธยมต้น ได้ 10,000 เยน
และจะไม่ได้จ่ายให้ทุกเดือน
อย่างส่วนของเดือน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. จะจ่ายให้ในเดือนก.พ.
ส่วนของเดือน ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. จะจ่ายให้ในเดือน มิ.ย.
และส่วนของเดือน มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. จะจ่ายให้ในเดือน ต.ค.

จากนั้นก็จะมีจม. มาจากทางสำนักงานเขตว่าเงินสงเคราะห์บุตรของเจ้าหนูจะเริ่มให้ตั้งแต่เดือนส.ค. ก็แสดงว่าในส่วนของเดือน ส.ค. กับ ก.ย. ก็คงเข้าบัญชีคุณซูในเดือนต.ค. อ่ะนะ

แล้วคุณซูก็คงทำเรื่องเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลฟรีของเจ้าหนูด้วยมั้ง เพราะมีบัตรสีชมพู ๆ (子ども医療費受給資格証) มาสำหรับยื่นใช้กับรพ. ที่ไม่ได้อยู่ในเขตที่อยู่อาศัย มีแสดงวันหมดอายุบัตรด้วย คืออีก 15 - 16 ปีข้างหน้าแหน่ะ

พอคุณซูกลับมาบ้านนอกจากเอกสารที่เกี่ยบกับด้านบนแล้ว คุณซูก็ให้เราเก็บเอกสารที่แสดงถึงหมายเลขของเจ้าหนูในจูมิงเฮียว 住民票 ด้วย

ระบบที่เกี่ยวกับเด็กที่เกิดมา รู้สึกว่าเยอะเหมือนกันเนอะ ก็ให้คุณซูเป็นคนจัดการไป ส่วนเราก็จะจัดการในส่วนที่เกี่ยวกับไทย ๆ  แบ่งหน้าที่กัน ^0^







วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ค่าใช้จ่ายก่อนคลอด, คลอด

เราสรุปค่าใช้จ่ายก่อนที่จะคลอดเจ้าหนู อย่างค่าที่ไปตรวจครรภ์ ค่าของใช้ที่เตรียมก่อนคลอด แล้วก็ค่าคลอดที่เราออกเอง (ไม่รวมที่รัฐบาลออกให้) ตามนี้

- ค่าตรวจครรภ์ เราตรวจทั้งหมด 14 ครั้ง + ค่าตรวจที่มีผื่น + ค่าตรวจที่มีเลือดออกและนอนโรงพยาบาล ใช้จ่ายทั้งหมด 53,640 เยน

- ค่ามัดจำในการคลอด 100,000 เยน

- ค่าคลอดในส่วนที่เราออกเองจ่ายตอนออกจากโรงพยาบาล 44,200 เยน (รัฐออกให้ 420,000 เยน)

- ค่าของใช้ที่เตรียมก่อนคลอด (เสื้อผ้า เตียง เบบี้คาร์ ของเล่น เป็นต้น) 144,438 เยน

รวมค่าใช้จ่ายก่อนคลอด และคลอดทั้งหมด 342,278 เยน

วันที่ 4 ของการอยู่โรงพยาบาลหลังคลอด (วันนี้ออกจากรพ.)

วันนี้ก็ออกจากรพ. แล้ว เวลาที่รพ. กำหนดให้ออกก็ 11.00

เรื่องของน้ำนมแม่ ตอนเช้า 6.00 ไหล 22 มล. นมผง 30 มล.
9.00 ไหล 16 มล. นมผง 30 มล.
ส่วนสีอึของเจ้าหนูวันนี้จะสีเหลืองปน ๆ เขียว

ส่วนโปรแกรมของเจ้าหนูก็จะมีเจาะเลือดเพื่อตรวจดูอาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งผลจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
ปล. ผลออกมาปกติดี

แล้ววันนี้ก็มีให้วิตามิน K2 กับเจ้าหนู

ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่ม 44,200 เยน

หลังจากที่กลับมาถึงบ้านแล้ว ช่วงเย็น ๆ ถึงดึก ๆ เจ้าหนูอึตลอดเลย เปลี่ยนผ้าอ้อมแทบไม่ทัน

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 3 ของการอยู่โรงพยาบาลหลังคลอด

โปรแกรมวันนี้ก็จะมีการอธิบายหลังจากที่เราออกจากรพ. ไปแล้วว่าจะต้องทำอะไร ยังไงบ้าง
แล้วพอ 8.30 ก็ไปตรวจปากมดลูก ไม่มีปัญหาอะไร หมอก็ถามว่าจะเอายาอะไรเพิ่มเติมกลับบ้านมั้ย เราบอกว่าไม่เอาค่ะ ^^

ตอน 6.00 น้ำนมเราก็ยังไม่ไหล เลยเสริมนมผงไป 40 มล.
พอ 9.30 ไหลแล้ว 6 มล. แต่ก็ยังเสริมนมผงไป 40 มล.
13.00 ไหล 10 มล. แต่ก็ยังเสริมนมผงไป 40 มล.
16.30 ไหล 20 มล.  แต่ก็ยังเสริมนมผงไป 20 มล.
20.00 ไหล 22 มล.  แต่ก็ยังเสริมนมผงไป 20 มล.
23.00 ไหล 24 มล.  แต่ก็ยังเสริมนมผงไป 20 มล.

เราจะรู้ว่าน้ำนมไหลกี่มล. ก็จากการชั่งน้ำหนักก่อนให้นม กับหลังให้นม
ส่วนปริมาณการเสริมนมผง ทางรพ. จะเขียนไว้เลยว่าเด็กคนไหน วันนี้ให้เท่าไหร่ แล้วเขาก็เตรียมไว้ให้เลย


ส่วนโปรแกรมของเจ้าหนูวันนี้ก็มีการตรวจเรื่องของการได้ยิน ที่เราลงทะเบียนไปวันที่ 7 ว่าจะตรวจ

ปล. ผลการตรวจ เจ้าหนูปกติดี 

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 2 ของการอยู่โรงพยาบาลหลังคลอด

วันนี้เริ่มให้นมลูกแบบเต็มวันหล่ะ (ตามเวลาที่รพ. จัดไว้ก็จะมี 6.00, 9.30, 13.00, 16.30, 20.00, 23.00)
ตอนเช้า 6.00 ก่อนที่จะให้นมเจ้าหนูก็จะมีวัดความดันแล้วก็ชั่งน้ำหนัก แล้วก็เจาะเลือดเพื่อดูว่าเลือดจางหรือไม่ น้ำหนักที่ชั่งได้จะอยู่ที่ 66.4 (น้ำหนักลดไป 3.6 โล)
จากนั้นพยาบาลก็จะถามอาการ  อาการของเราวันนี้ เลือดออกน้อยลง แต่ยังปวดมดลูกอยู่ ปวดแขน ขายังบวมอยู่ พยาบาลเลยแนะนำว่าให้ยกขาสูง ๆ
พอ 9.00 ก็มีโปรแกรมให้มาดูการอาบน้ำให้ทารก เจ้าหนูเราเป็นทารกที่เขาจะสาธิตแหล่ะ แต่เราไม่ได้อาบนะ พยาบาลอาบให้ดู เจ้าหนูนิ่งเงียบ ไม่ร้องเลย คงอยากนอนมากกว่าอาบน้ำ 555
วันนี้น้ำนมก็ยังไม่ไหล เลยเสริมนมผงไป 30 มล. แต่เต้านมเริ่มคัดแล้วหล่ะ เพราะปวด 
แล้วเจ้าหนูก็เริ่มสะอึก + จามแล้ว
ส่วนเรื่องของอึ เห็นเด็กคนอื่นอึกันใหญ่ เจ้าหนูไม่อึ เลยบอกพยาบาล พยาบาลก็ใช้คัตเติลบัต+เบบี้ออยยล์กระตุ้น ออกมาเลยเป็นสีเขียว
 

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 1 ของการอยู่โรงพยาบาลหลังจากคลอด

หลังจากคลอดแล้ว พยาบาลก็ให้คู่มือช่วงการอยู่โรงพยาบาลและหลังจากออกจากโรงพยาบาลมาว่าในวันหนึ่ง ๆ จะต้องทำอะไรบ้าง
อย่างวันที่ 1ของการอยู่โรงพยาบาล ตามตารางก็จะเริ่มให้นมแม่ แล้วก็สามารถอาบน้ำได้  เราก็สระผมเลยตอนเช้าจากนั้นก็จะมีพยาบาลมาอธิบายโปรแกรมของแต่ละวัน แล้วก็เอาสะดือใส่กล่องอย่างสวยเลยมาให้เก็บเป็นที่ระลึกด้วย แล้วก็มีการอธิบายท่าออกกำลังกายหลังคลอดด้วย แต่เราก็ไม่ค่อยได้ทำอ่ะนะ มีลืม ๆ ไปบ้าง
จากนั้นก็มีให้ดูวีดีโออธิบายการนวดหน้าอก

แล้ววันนี้เราก็เริ่มให้นมแม่ในรอบบ่ายกับเย็น  คือ 13.00, 16.00, 20.00  ในตอนที่ไปให้นมครั้งแรก พยาบาลก็จะโชว์อึของเจ้าหนูว่าอึครั้งแรกนั้นจะเป็นสีเขียว ๆ ดำ ๆ
น้ำนมแม่วันนี้ยังเป็น 0 อยู่ ดูจากน้ำหนักก่อนดูดนมแม่ กับหลังดูดเท่าเดิม ก็เลยเสริมนมผงไป 20 มล. 
แล้ววันนี้เจ้าหน้าที่ก็ถามด้วยว่าจะให้เจ้าหนูตรวจเรื่องการได้ยินเสียงหรือเปล่า เราก็ลงชื่อไป ค่าตรวจถ้าจำไม่ผิด 3,400 เยนมั้งนะ

ตอนเย็นจะก็มีเจ้าหน้าที่มานวดเท้ากับแขนให้ด้วย แล้วก็คุณหมอที่ตรวจเราช่วงตั้งท้องก็มาเยี่ยมด้วย

มื้อเย็นวันนี้ของทางโรงพยาบาลจะเป็นชุดอาหารฝรั่งเศส สุดยอดไปเลย อร่อยมาก ๆ

ส่วนโปรแกรมของเจ้าหนูก็มีนะ คือจะให้วิตามิน K2 เพื่อเป็นการป้องกันโลหิตจาง แล้วก็ตั้งแต่วันนี้ในช่วงที่เจ้าหนูอยู่โรงพยาบาลก็มีอาบน้ำให้ แล้วก็ตรวจเรื่องตัวเหลือง

ส่วนตัวเราอาการก็จะมี เลือดออกน้อยลง แต่ก็ยังเป็นสีแดง ทานอาหารได้มากขึ้น อาการปวดน้อยลง แต่เวลานั่งจะปวดสุดๆต้องนั่งที่มีเบาะที่มีรูตรงกลางแบบโดนัทจะทำให้ค่อยยังชั่วหน่อย
อ้อ ทางโรงพยาบาลมีให้ยาเกี่ยวกับมดลูกมาให้ด้วย.แต่ก็ลืมไปแล้วว่าตัวไหนเป็นตัวไหน





ห้องพักหลังคลอด +อาหารของโรงพยาบาล


วันที่เราคลอด ห้องที่เราเลือกไว้ (แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม) เต็ม ว่างแต่ห้องที่คืนละ 15,000 เยน
แต่ในกรณีนี้ถ้าไม่ได้เลือกไว้ ทางโรงพยาบาลก็จะลดค่าห้องเป็นคืนละ 3,000 เยน ก็เลยต้องเอา
แต่ดีเหมือนกันที่เอา เพราะหลังคลอดทำอะไรไม่สะดวกเลย โดยเฉพาะเข้าห้องน้ำ ถ้าอยู่ห้องรวม ก็คงลำบากเล็กน้อย
บรรยากาศห้อง ก็โอเคดี มีห้องอาบน้ำ ห้องน้ำในตัว มีเก้าอี้ โซฟาให้คนมาเยี่ยมได้นั่ง มีน้ำชา กาแฟ น้ำผลไม้เปลี่ยนให้ต่อวันด้วย ^0^








อาหาร+ของว่างในแต่ละมื้อ (แต่เราถ่ายมาไม่ครบ เพราะมีลืมบ้าง อะไรบ้าง)
ปล. อร่อยดี











ช่วงอยู่โรงพยาบาลสบายสุด ๆ แล้วหล่ะ 
อ้อ เพิ่มเติมเขาคิดค่าชุดที่ใส่ตอนอยู่โรงพยาบาล ผ้าเช็ดตัวด้วยค่ะ
คงเป็นค่าซักรีด

วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วันที่เจ้าหนูเกิด

คุณซูไปส่งที่โรงพยาบาล ตอนนั้นก็เกือบ ๆ 6 โมง (เช้า) แล้ว มาถึงพยาบาลก็เตรียมของใช้ที่จำเป็นในช่วงอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นถุงใหญ่มาก รูปข้าง ๆ เป็นที่คาดเอว พยาบาลคาดให้ทันทีที่คลอดเจ้าหนูออกมา

จากนั้นก็ให้เปลี่ยนรองเท้า แล้วก็มาที่ห้องคลอด ตรวจภายใน ซึ่งตอนนั้นพยาบาลบอกว่าปากมดลูกเปิดได้ 3 เซ็นแล้ว แล้วก็นิ่มด้วย น่าจะคลอดในวันนี้
ถุงที่โรงพยาบาลเตรียมให้ ข้างในก็จะมีของที่ใช้ตอนอยู่ที่โรงพยาบาล อย่างเช่นผ้าอนามัย สำลีเช็ดหัวนม เป็นต้น
จากนั้นพยาบาลก็เอาเข็มขัดมาคาดท้องวัดความตึงของท้อง ทุกครั้งที่ปวดท้องกราฟก็จะพุ่งสูงเลย
แล้วก็ก็มีให้น้ำเกลือเจาะเข้าเส้นเลือดเจ็บมาก ๆ แต่ว่าเจ็บน้อยกว่าปวดท้อง
วัดความตึงของท้องนานพอสมควร จากนั้นพยาบาลก็เอาสายมาคล้องมือจะเป็นสายที่เขียนชื่อเรากับลูก เพราะพอเจ้าหนูคลอดออกมา เพื่อกันการผิดตัว (มั้งนะ) ก็จะคล้องสายนั้นที่ข้อเท้าเด็กเลย
ประมาณ 8:30 - 9 โมง ก็รอคุณหมอมา พอคุณหมอมาดูก็บอกว่าปากมดลูกเปิดแล้วแต่เพราะเมื่อคืนเราไม่ได้นอนอาจจะไม่มีแรงเบ่ง เลยให้ยาช่วยเร่งการคลอด
วันนี้เป็นวันอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่ให้สามีเข้าห้องคลอดด้วย (จะให้เข้าในวันธรรมดากับวันเสาร์) ถึงเราจะทำเรื่องให้สามีเข้าห้องคลอดด้วยแล้วก็ตาม โชคดีที่พยาบาลทำคลอดอนุโลมให้ สรุปคุณซูก็เลยได้เข้ามาในห้องคลอดด้วย เป็นผู้ช่วยพยาบาลคอยให้น้ำ จับหัว เช็ดเหงื่อให้เรา
ช่วงนี้เริ่มเจ็บถี่ขึ้น ปวดสุด ๆ ขอพรเจ้าแม่กวนอิมให้คลอดง่าย ๆ คลอดปลอดภัย ช่วงที่เจ็บท้อง เราทั้งยืนก็แล้ว นั่งก็แล้ว ทำหลายท่ามาก เพื่อให้ความปวดปวดน้อยลง แต่ก็ไม่หายอ่ะ ยิ่งปวดหนักเข้าไปอีก พอคุณซูมา (แวะไปที่ทำงานมา) ก็มาช่วยถู ๆ เอว การถูเอวก็ช่วยลดอาการปวดได้ แต่ก็ยังปวดมาก ๆ อยู่ดี จนปากมดลูกเปิดที่ 8 เซ็น พยาบาลทำคลอดก็มาเช็คดู น้ำคร่ำแตกแล้ว ก็พาไปห้องคลอด ช่วงนี้แหละสุดยอดแล้ว ทั้งต้องหายใจตอนเบ่ง ต้องกลั้นหายใจ ปิดปาก ลืมตา เบ่งจนสุดแรงเกิดเลย พอหมดลมเบ่งก็ต้องเบ่งอีก พยาบาลเอาที่ครอบช่วยหายใจมาครอบให้เราด้วย การเบ่งต่อรอบจะให้เบ่ง 3 ครั้ง ทำอยู่หลายรอบ จำไม่ได้ว่ากี่รอบ น่าจะ 5 รอบมั้ง เจ้าหนูก็คลอดออกมา เฮ้อ เหนื่อย
พอได้ยินเสียงเจ้าหนูร้อง หายเจ็บเลย พยาบาลก็อุ้มเจ้าหนูมาแนบที่อก แล้วก็ถ่ายรูปครอบครัว แล้วก็พาไปทำความสะอาดตัว นอนสักพัก รกก็ออกมา อุ่น ๆ แล้วคุณหมอก็มาเย็บแผลให้ เจ็บเหมือนกัน
ช่วงเย็บแผล พยาบาลก็จะวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักเจ้าหนู
พอทำความสะอาดเจ้าหนูเรียบร้อยแล้ว พยาบาลก็พาเจ้าหนูมาแนบอกอีกครั้งหนึ่ง ให้คุณซูอุ้มด้วย แล้วก็พากลับไป
พอคลอดเสร็จเจ็บไปหมดทั้งตัว เพราะใช้กำลังแขน ขา ตา ฟัน หน้าเราตอนนั้นมีจุดแดง ๆ เต็มไปหมดเลย คุณหมอบอกว่าเลือดออกภายใน แต่เดี๋ยวก็หายไปเอง คงเป็นเพราะเราเบ่งแรงสุด ๆ เส้นเลือดฝอยเลยแตกมั้งนะ
ก่อนไปห้องพักฟื้น พยาบาลก็จะมาใส่ผ้าอนามัยให้เรา มีการกดหน้าท้องเพื่อให้เลือดออกมา แล้วก็พามาห้องพักฟื้นวัดความดัน วัดไข้ เปลี่ยนผ้าอนามัยให้ใหม่ แล้วก็กดหน้าท้องอีกครั้ง แม่เราก็บอกเหมือนกันให้กดท้องตัวเองบ่อย ๆ เลือดจะได้ไม่คั่งอยู่ข้างใน
พอพยาบาลพามาที่ห้องพักฟื้นแล้ว ถ้าจะเข้าห้องน้ำครั้งแรกต้องเรียกพยาบาลให้มาพาเข้าไป เพราะว่าหลังคลอดจะยังมึนอยู่ แต่หลังจากนั้นก็สามารถเข้าห้องน้ำเองได้แล้ว
พอคลอดเสร็จคุณซูก็ต้องกลับบ้านไปก่อน เพราะทางโรงพยาบาลให้เยี่ยมได้ตอนบ่าย 2
ช่วงนี้เราก็ไม่ได้นอนพักอ่ะนะ เพราะปวดระบมตัวไปหมด ข้าวก็ทานไม่ค่อยลง มาหลับอีกทีตอนที่คุณซูมาเยี่ยมแล้วก็กลับไป ตอนนั้นก็ 1 ทุ่มหล่ะ หลับยาวเลย

อ้อ .วันแรกเขายังไม่ให้อาบน้ำ