วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เตรียมของเด็ก - หมวดเตียงนอน และอื่น ๆ

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อที่นอนให้เจ้าหนู เรากับคุณซูนี่คิดหนักเหมือนกัน เพราะเพื่อนคุณซูส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์มีลูกมาแล้วก็จะบอกว่าเตียงไม่ได้ใช้ สุดท้ายทำเป็นที่ตากผ้าเอย ส่วนใหญ่จะให้ลูกนอน Futon (ก็คือให้นอนฟูกกับพื้น)  กัน แต่พอถามทางบ้านเราหรือญาติ ๆ ของเราที่ไทย ส่วนใหญ่ก็จะให้นอนเตียงเด็กกัน หรือไม่ก็นอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ ก็เลยมีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่สรุปสุดท้ายเรากับคุณซูก็เลือกซื้อเป็นเตียงเด็ก เพราะที่นอนเรากับคุณซูเป็นเตียง ถ้าเลือกเป็น Futon ก็เท่ากับว่าเราต้องมานอน Futon กับลูกด้วย เตียงก็จะไม่มีคนนอน แต่ว่าเรากับคุณซูไม่ได้เลือกเตียงที่ทำจากไม้ พอดีไปเห็นเตียงที่พับเก็บพกพาได้ ก็เลยตัดสินใจเลือกแบบนี้ พอเจ้าหนูโตไม่ได้ใช้แล้วก็จะได้พับเก็บได้เป็นการประหยัดพื้นที่ที่บ้านด้วย
แต่พอจะซื้อเข้าจริง ๆ ที่ Akachanhonpo ไม่มีของ งานเข้าแล้ว เลยลองหาดูในเว็บของ Toysrus ปรากฏว่ามีขายแบบนี้เหมือนกัน ก็เลยไปดูเลย ดีที่ยังมีของ แล้วก็ยังมีสีที่เราอยากได้ (แต่หลังจากนั้น หลายวันผ่านไป เรากับคุณซูไปดูของอย่างอื่น ปรากฏว่าที่ Toysrus ที่เราซื้อเตียง ไม่มีสต็อกเตียงแล้ว มีแต่ที่โชว์อยู่ โชคดีจัง ไม่รู้ว่าขายดีเกิน หรือว่าขายไม่ดีโรงงานเลยไม่ผลิตก็ไม่รู้)

หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ของ Aprica   รุ่น Coconel ราคาที่ซื้อรวม VAT 21,598 เยน





ขอบคุณรูปจาก Google

จากนั้นก็มาดูฟูกที่จะปูที่เตียง ถ้าของ Aprica เอง (ตามตัวอย่างที่ร้านโชว์) ราคา 2 หมื่นกว่าเยนแหน่ะ ก็เลยซื้อยี่ห้ออื่นที่ไซส์เหมือนกัน เลยได้แบบนี้มาเป็นเซ็ท ที่ร้าน Akachanhonpo ราคา 15,800 เยน


ในเซ็ทนี้ก็จะมีของอยู่ 6 ชิ้น
1. ฟูกที่นอน
2. ปลอกสำหรับฟูกที่นอน
3. ผ้าห่มนวม
4. ปลอกผ้าห่มนวม
5. หมอน
6. ปลอกหมอน

แล้วก็ซื้อผ้ารองกันเปื้อนที่นอนมา 2 ผืน ผืนละ 1,007 เยน



จากนั้นก็ซื้อผ้าปูรองกันน้ำ (เราเอามากันฉี่) มา 2 ผืน ผืนละ 801 เยน



แล้วก็หมอนหลุม 1,007 เยน




ทั้ง 3 อย่างซื้อที่ Akachanhonpo



ส่วนของอื่น ๆ ที่ว่าก็จะเป็นลิ้นชักพลาสติกสำหรับเก็บผ้า เสื้อผ้าของเจ้าหนู

ก็น่าจะเตรียมครบหมดแล้ว (มั้งนะ)


สรุปยังไม่ครบ 555 วันที่ 1 กค. หลังจากตรวจครรภ์เสร็จ มีแวะไปซื้อเบาะกับผ้าปูกันน้ำมาให้เจ้าหนูได้นอนกลิ้ง ๆ ข้างล่าง
เบาะราคา 1,382 เยน
ผ้าปูกันน้ำ 1,299 เยน



น่าจะเตรียมครบหมดแล้วจริง ๆ แล้วเนอะ ^^






วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Birth Plan ที่โรงพยาบาลให้มากรอก

ตอนที่ตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 (อายุครรภ์ 16 สัปดาห์) ทางโรงพยาบาลก็จะให้เอกสารมา ในนั้นก็จะมี
- คู่มือแนะนำการคลอดที่โรงพยาบาล
http://jipathajapan.blogspot.jp/2014/03/blog-post_27.html

- เอกสารสำหรับคนค้ำประกัน (คนค้ำจะเป็นสามีไม่ได้ แต่ถ้าพ่อสามีได้ ก็เลยให้คุณพ่อคุณซูเป็นคนค้ำให้ แล้วก็ยื่นส่งภายในอายุครรภ์เท่าไหร่ก็จำไม่ได้แล้วหล่ะ T T)

- Birth Plan

เนื้อหาใน Birth Plan จะถามเราว่า

จะเลือกวิธีการคลอดแบบไหน

1. ตั้งใจคลอดเองธรรมชาติ (ซึ่งกรณีนี้คุณแม่และลูกต้องไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด)
     #ถ้าจะคลอดเองแบบธรรมชาติโดยใช้ยาชาด้วยจะทำได้แค่ในช่วงเวลาทำงานของวันธรรมดาเท่านั้น

2. คลอดแบบกำหนดวัน (ให้เลือกระหว่าง 2.1 กับ 2.2)
   2.1 ต้องการคลอดเองแบบใช้ยา (ยกเว้นตอนกลางคืน และวันนักขัตฤกษ์) และต้องมีหนังสือยินยอม
[ปล. ยาที่ว่านี้เราว่าน่าจะหมายถึงยาเร่งคลอดกับยาชานะ]
   2.2 ไม่ต้องการคลอดเองแบบใช้ยาชา [เราก็คิดว่าไม่ใช้ยาชาแต่อาจจะใช้ยาเร่งคลอด]

3.  ให้สามีเข้าไปในห้องคลอดด้วย (ให้เลือกระหว่าง 3.1 กับ 3.2)
    3.1 ต้องการ (ตามกฏแล้ว จะสามารถให้สามีเข้าไปในห้องคลอดได้ในช่วงเวลาทำงานของวันธรรมดา และวันเสาร์ เท่านั้น)
    3.2 ไม่ต้องการ

หลังจากที่คลอดแล้ว
 โดยปกติห้องแม่กับห้องลูกจะแยกห้องกัน ในระหว่างวันสามารถบอกให้สต๊าฟพาลูกมาที่ห้องได้ และถ้าน้ำนมแม่ยังไม่มี ทางโรงพยาบาลจะให้สารอาหารผสมด้วย  ถ้าต้องการทราบวิธีทำสารอาหารที่ว่า สามารถระบุความต้องการได้

หลังจากที่คลอดแล้ว ต้องการห้องแบบไหน
1. ห้องส่วนต้วของแผนกสูติกรรม
2. ห้องส่วนตัวตึกใหม่ (5 วัน +เพิ่ม 5,000 เยน)
3. ห้องพิเศษตึกใหม่ (มีห้องอาบน้ำในตัว) (+เพิ่ม คืนละ 15,000 เยน)
          (หลังจากที่กรอกเสร็จแล้วและได้ยื่นเรียบร้อยแล้ว เฉพาะสามีสามารถพักได้คืนละ 10,000 เยน)

ให้ยื่น Birth Plan นี้ในช่วงอายุครรภ์ 28 - 36 สัปดาห์

----------------------------------------------------
เราก็ลองเอาใบนี้ปรึกษาคุณหมอว่าในกรณีของเราสามารถคลอดเองแบบธรรมชาติได้หรือเปล่า  คุณหมอก็บอกว่าส่วนใหญ่คนที่มาฝากครรภ์ที่นี่จะคลอดเอง ที่โรงพยาบาลนี้จะไม่เน้นการใช้ยา นอกเสียจากว่ามีกรณีพิเศษที่จำเป็นต้องใช้ ก็จะต้องให้สามีเซ็นรับรองก่อน
ที่นี่นี่เน้นธรรมชาติสุด ๆ
เราก็เลยเลือกข้อ 1 (คลอดเองแบบธรรมชาติ) , ข้อ 3.1 (ต้องการให้สามีเข้าไปด้วย ดังนั้นคุณซูก็ต้องอบรมคอร์สที่สามีเข้าไปในห้องคลอดด้วยว่าจะต้องทำยังไงบ้าง ก็ขอให้คลอดวันธรรมดาหรือวันเสาร์ในเวลาทำงานเถิดนะเพี้ยง เพราะถ้าไม่ใช่วันเวลาที่ว่าสามีก็เข้าไปไม่ได้ถึงเราจะระบุว่าต้องการก็เถอะ)
แล้วก็เลือกห้องแบบที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม (ขอประหยัดส่วนนี้ไปใช้ส่วนอื่นดีกว่า)