วันนี้ไปโรงพยาบาลมีนัดตรวจครรภ์ครั้งที่ 6 (อายุครรภ์ 24 สัปดาห์กว่า ๆ)
ไปถึงโรงพยาบาล ก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ ไม่ได้ยื่นบัตรประกันสุขภาพเพราะยังไม่ใช่เดือนใหม่ของการมาตรวจ
แล้วก็ไปเก็บปัสสาวะ วัดความดัน จากนั้นพยาบาลก็เรียกเข้าห้องสำหรับเจาะเลือด ครั้งนี้เก็บไป 3 หลอด ซึ่งจะนำไปเช็คว่ามีเชื้อมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ เพราะสามารถติดได้ทางการให้นมแม่
นำไปเช็คว่าเลือดจางหรือไม่ และเช็คค่าน้ำตาลในเลือด
หลังจากนั้นก็ชั่งน้ำหนัก แล้วก็รอพบคุณหมอ คุณหมอมาเห็นน้ำหนัก ทำหน้าเครียดเลย เพราะน้ำหนักเราขึ้นจากก่อนท้องมา 8.5 กิโล ซึ่งเกณฑ์ของคุณหมอคือ 8-12 กิโล เพราะหลังจากนี้น้ำหนักก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น คุณหมอเลยให้ควมคุมน้ำหนัก ลดปริมาณอาหารลง
หลังจากนั้นก็อัลตราซาวด์ดู เด็กตัวใหญ่ขึ้นมากเลย อาจจะเป็นเพราะน้ำหนักแม่ขึ้นเยอะด้วย เลยทำให้เด็กตัวใหญ่ ครั้งนี้คุณหมอจะให้ดูส่วนหัว เน้นให้ดูจมูก ปาก แล้วก็ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น ทั้งหมดปกติ แข็งแรงดี แล้วคุณหมอก็บอกผลการตรวจเลือดไม่มีปัญหาเลือดจาง แอบเห็นตัวเลขอยู่ที่ 11 กว่า ๆ ส่วนผลของตัวอื่นยังไม่ออก แล้วก็แอบเห็นคุณหมอเขียน 800 กว่า ๆ น่าจะเป็นน้ำหนักของทารก
แล้วคุณหมอก็ถามว่ามีอะไรจะถามไหม เราก็บอกไปว่าช่วงนี้จะปวดหน่วง ๆบริเวณช่วงล่าง บริเวณก้น ทางด้านซ้าย คุณหมอก็เลยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องของท้องผูก ให้ดูอาการ
แล้วก็นัดครั้งต่อไปอีก 2 อาทิตย์ คุณหมอพูดมาเลยว่าครั้งที่มาตรวจคราวหน้าไม่ควรขึ้นเกิน 1 กิโล เฮ้อ
ก่อนกลับคุณหมอให้ไปฟังพยาบาลพูดเรื่องของอาหาร แล้วก็รับคู่มือแนะนำเรื่องอาหารในตอนที่ตั้งครรภ์ และแฮนบุ๊คสำหรับการไปทานข้าวนอกบ้าน พยาบาลเขียนมาเลยว่า BMI ของเรา 21.0 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 58.4 กิโล เพราะฉะนั้นปริมาณพลังงานที่จำเป็นต่อวันจะอยู่ที่ 1,700 Kcal
เราต้องควบคุมอาหารให้อยู่ในเกณฑ์นี้เหรอเนี่ย ><
ในคู่มือก็จะบอกมาว่าใน 1 วันควรจะทานอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่
บอกวิถีการทานอาหาร คือ
1. ทานอาหารครบ 3 มื้อ
2. เคี้ยวช้า ๆ ละเอียด ๆ
3. ก่อนนอน 2 ชั่วโมงไม่ให้ทานอะไร
4. ให้ออกกำลังกาย
5. อาหารที่ใช้น้ำมันเยอะ ให้ทานพอดี ๆ
6. ให้ระวังในการทานขนมขบเคี้ยว ของว่าง
7. ให้หันมาทานอาหารจำพวกที่ไม่มีแคลอรี่ อย่างเห็ด บุก สาหร่าย
8. ไม่ทานอาหารรสจัด
9. ไม่ใช้พวกน้ำปรุงรส ซอสในปริมาณที่เยอะ
ส่วน แฮนบุ๊คสำหรับการไปทานข้าวนอกบ้าน ก็จะเขียนประมาณว่า เมนูอาหารนี้ให้พลังงานกี่กิโลแคลอรี่ คงประมาณว่าให้เลือกทานที่ให้พลังงานไม่สูงมาก
ต้องควบคุมอาหาร น้ำหนักแล้วสิเรา
ค่าตรวจในวันนี้ 3,720 เยน
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557
ปลูกมะเขือเทศ
เราเป็นคนนึงที่ชอบทานมะเขือเทศมาก ๆ แต่ที่ญี่ปุ่นขายแพ็คนึง (มีประมาณ 12-15 ลูก) ประมาณ 200 เยน ทานไปแป๊ปเดียวหมดหล่ะ เลยกะจะลองปลูกเองดูว่าจะออกเยอะหรือเปล่า เมื่อปีที่แล้วก็ซื้อมะเขือเทศที่เป็นแบบเมล็ดมา โตออกดอกแล้วก็ออกลูกนะ แต่ว่าไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ ออกลูกมานิดเดียวเอง ปีนี้คุณซูเลยลองใหม่ แต่คราวนี้ซื้อแบบที่เขาขายเป็นต้นมาแล้ว น่าจะโอเคกว่า
ขายต้นละ 265 เยน
แล้วก็มีซื้อต้นสีแดง กับ สีชมพูมา (กระถางแขวน 2 อันทางขวามือ) ไม่รู้เรียกว่าต้นอะไร เป็นต้นที่ทนมาก จากที่เคยปลูกเมื่อปีที่แล้วดอกแทบจะไม่ร่วงเลย
ขายต้นละ 75 เยน
ส่วนต้นสูง ๆ ดอกสีเหลือง ๆ เรียกว่าต้น Nanohana
แล้วก็ต้นซากุระ (กระถางที่มีหลอดเหลือง ๆ ปักอยู่) ที่เราเห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีนี้ออกดอกแล้ว (แต่ไม่เยอะ ) ^^
ขายต้นละ 265 เยน
แล้วก็มีซื้อต้นสีแดง กับ สีชมพูมา (กระถางแขวน 2 อันทางขวามือ) ไม่รู้เรียกว่าต้นอะไร เป็นต้นที่ทนมาก จากที่เคยปลูกเมื่อปีที่แล้วดอกแทบจะไม่ร่วงเลย
ขายต้นละ 75 เยน
ส่วนต้นสูง ๆ ดอกสีเหลือง ๆ เรียกว่าต้น Nanohana
แล้วก็ต้นซากุระ (กระถางที่มีหลอดเหลือง ๆ ปักอยู่) ที่เราเห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีนี้ออกดอกแล้ว (แต่ไม่เยอะ ) ^^
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557
เตรียมของเด็ก-หมวดผ้าอ้อม
พอเตรียมเสื้อผ้าเด็กแล้ว ก็มาเรื่องผ้าอ้อม
เราจะพยายามใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าในช่วงกลางวัน แล้วค่อยใช้แบบสำเร็จรูปในช่วงกลางคืน หรือตอนออกไปข้างนอก น่าจะประหยัดไปได้พอสมควร
ที่ซื้อมาแล้วก็จะมี
1. กางเกงผ้าอ้อม (おむつカバー) ซื้อมาทั้งหมด 4 ตัว
2. แผ่นรองซับ (布おむつ) ซื้อมาทั้งหมด 26 ผืน (แต่คิดว่าคงไม่พอ เดี๋ยวไปซื้อแพ็ค 10 ชิ้นมาเพิ่ม)
3. กระดาษรองอึ (おむつライナー)
4. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กแรกเกิด 1 แพ็ค (紙おむつ) มี 68 ชิ้น ราคา 1,280 เยน
5. ทิชชูเปียกเช็คก้น (おしりふき)
ลองซื้ออันนี้มาใช้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าเด็กจะแพ้หรือเปล่า กล่องนี้มี 50 แผ่น ราคา 399 เยน
แต่น่าจะไม่พอแน่ ๆ คงต้องไปซื้อมาเพิ่ม
6. ที่รองสำหรับไว้เปลี่ยนผ้าอ้อม อย่างตอนออกไปข้างนอก (おむつ替えシート)
พอคลี่ออกมาจะขนาดเท่ากับเบาะเล็ก ๆ ซื้อที่ร้าน Akachanhonpo ราคา 1,542 เยน
7. ถุงใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วสำหรับทิ้ง (ตอนออกไปข้างนอก) หรือไว้ใส่ผ้าอ้อมผ้าที่เปียก เพราะสามารถเก็บกลิ่นได้ (おむつ処理用ポリふくろ) ซื้อที่ร้าน Nishimatsuya ราคา 159 เยน
8. ถังใส่ผ้าอ้อมที่ใช้แล้ว
เราซื้อมา 2 ใบ สำหรับผ้าอ้อมที่เปื้อนฉี่ กับผ้าอ้อมที่เปื้อนอึ ซื้อจากร้าน 100 เยน
9. น้ำยาซักผ้า(おむつ、肌着洗い洗剤)
ไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดี เลยซื้ออันนี้มาลองใช้ดูก่อน เป็นแบบเซ็ทคือมีรีฟิวด้วย ราคาอยู่ที่ 1,007 เยน
10. ไม้แขวนเสื้อสำหรับเด็ก (赤ちゃんハンガー)
มี 12 อัน ราคา 409 เยน
ในหมวดนี้น่าจะไม่มีอะไรแล้วน้า...
เราจะพยายามใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าในช่วงกลางวัน แล้วค่อยใช้แบบสำเร็จรูปในช่วงกลางคืน หรือตอนออกไปข้างนอก น่าจะประหยัดไปได้พอสมควร
ที่ซื้อมาแล้วก็จะมี
1. กางเกงผ้าอ้อม (おむつカバー) ซื้อมาทั้งหมด 4 ตัว
แพ็ค 2 ตัวด้านล่างนี้ซื้อที่ Nishimatsuya ไซส์ 50-60 ราคา 1,498 เยน
ตัวลายสีน้ำเงินนี้คุณซูเลือกให้เลย 555 ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน
ตัวสีขาวซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน
แกะออกมาแล้ว หน้าตาจะแบบนี้
2. แผ่นรองซับ (布おむつ) ซื้อมาทั้งหมด 26 ผืน (แต่คิดว่าคงไม่พอ เดี๋ยวไปซื้อแพ็ค 10 ชิ้นมาเพิ่ม)
2 แพ็คนี้ซื้อจากร้าน Nishimatsuya แพ็คนึงมี 10 ผืน ไซส์ S-M (เขาบอกว่าใช้ได้ถึงอายุ 6 เดือน)
แพ็คละ 1,599 เยน
พอแกะออกมาหน้าตาจะเป็นแบบตามรูปล่าง จะวางบนกางเกงผ้าอ้อม สำหรับรองซับพวกอึหรือฉี่
แพ็คสีชมพูนี้ก็เป็นแผ่นรองซับ แต่พอคลี่ออกมาผืนค่อนข้างใหญ่เหมือนกัน มีทั้งหมด 6 ผืน ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 1,480 เยน
คลี่ออกมาเป็นแบบนี้ ก็ต้องพับทบทั้งหมด 2 ชั้นให้ได้ขนาดเท่ากับกางเกงผ้าอ้อม
3. กระดาษรองอึ (おむつライナー)
ซื้อที่ร้าน Akachanhonpo มีทั้งหมด 220 แผ่น ราคากล่องละ 680 เยน
4. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กแรกเกิด 1 แพ็ค (紙おむつ) มี 68 ชิ้น ราคา 1,280 เยน
5. ทิชชูเปียกเช็คก้น (おしりふき)
ลองซื้ออันนี้มาใช้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าเด็กจะแพ้หรือเปล่า กล่องนี้มี 50 แผ่น ราคา 399 เยน
แต่น่าจะไม่พอแน่ ๆ คงต้องไปซื้อมาเพิ่ม
6. ที่รองสำหรับไว้เปลี่ยนผ้าอ้อม อย่างตอนออกไปข้างนอก (おむつ替えシート)
พอคลี่ออกมาจะขนาดเท่ากับเบาะเล็ก ๆ ซื้อที่ร้าน Akachanhonpo ราคา 1,542 เยน
7. ถุงใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วสำหรับทิ้ง (ตอนออกไปข้างนอก) หรือไว้ใส่ผ้าอ้อมผ้าที่เปียก เพราะสามารถเก็บกลิ่นได้ (おむつ処理用ポリふくろ) ซื้อที่ร้าน Nishimatsuya ราคา 159 เยน
8. ถังใส่ผ้าอ้อมที่ใช้แล้ว
เราซื้อมา 2 ใบ สำหรับผ้าอ้อมที่เปื้อนฉี่ กับผ้าอ้อมที่เปื้อนอึ ซื้อจากร้าน 100 เยน
9. น้ำยาซักผ้า(おむつ、肌着洗い洗剤)
ไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดี เลยซื้ออันนี้มาลองใช้ดูก่อน เป็นแบบเซ็ทคือมีรีฟิวด้วย ราคาอยู่ที่ 1,007 เยน
10. ไม้แขวนเสื้อสำหรับเด็ก (赤ちゃんハンガー)
มี 12 อัน ราคา 409 เยน
ในหมวดนี้น่าจะไม่มีอะไรแล้วน้า...
เตรียมของเด็ก - หมวดเสื้อผ้าและผ้าชิ้นเล็ก ๆ
พอท้องได้ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ก็เริ่มที่จะหาซื้อของใช้สำหรับเด็ก แล้วก็ของตัวเอง
โชคดีที่ไปเจอนิตยสารเล่มนึงที่จะบอกถึงว่าน่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างถ้าเด็กคลอดช่วงเดือนนี้ ๆ จะมีของอะไรบ้าง ถ้าเป็นที่เมืองไทยร้อนตลอดปีไม่ต้องดูเรื่องอากาศก็ดีเหมือนกันเนอะ แต่ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องของฤดูเข้ามา แถมเด็กก็โตเร็ว (มีคนบอกมานะ) ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้ออะไรมาก อย่างของเราจะคลอดประมาณเดือน ก.ค. ของที่เราเตรียมก็จะมี
หมวดเสื้อผ้าเด็ก (ไซส์เด็กแรกเกิดถึงประมาณ 2 เดือน จะอยู่ที่ 50~60)
1. 短肌着 แบบแขนสั้น 6 ตัว, แบบแขนยาว 1 ตัว
รูปข้างล่างนี้จะเป็นของคุณซู คุณแม่เขาเก็บอย่างดีเลย ^0^
โชคดีที่ไปเจอนิตยสารเล่มนึงที่จะบอกถึงว่าน่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างถ้าเด็กคลอดช่วงเดือนนี้ ๆ จะมีของอะไรบ้าง ถ้าเป็นที่เมืองไทยร้อนตลอดปีไม่ต้องดูเรื่องอากาศก็ดีเหมือนกันเนอะ แต่ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องของฤดูเข้ามา แถมเด็กก็โตเร็ว (มีคนบอกมานะ) ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้ออะไรมาก อย่างของเราจะคลอดประมาณเดือน ก.ค. ของที่เราเตรียมก็จะมี
หมวดเสื้อผ้าเด็ก (ไซส์เด็กแรกเกิดถึงประมาณ 2 เดือน จะอยู่ที่ 50~60)
1. 短肌着 แบบแขนสั้น 6 ตัว, แบบแขนยาว 1 ตัว
(รูปบนแพคนี้เป็นแบบแขนสั้น มี 2 ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)
(รูปแพคบนนี้เป็นแบบแขนยาว มี 1ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)
(รูปแพคบนนี้เป็นแบบเซ็ท มีหลาย ๆ อย่างปนกัน ทั้งหมด 10 ชิ้น ถ้าเป็น 短肌着 จะมี 4 ตัว ราคา 1,799 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ)
2. 長下着 1 ตัว, コンビ肌着 4 ตัว, 半袖コンビドレス 1 ตัว
จะมีที่อยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น แล้วก็ที่ซื้อแยกแบบนี้
(รูปแพคบนนี้จะเป็น コンビ肌着 มี 2 ตัว ราคา 899 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ)
(รูปนี้จะเป็น 半袖コンビドレス มี 1 ตัว ราคา 779 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ)
ผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่ควรมี
1. หมวก (ใช้ของคุณซูตอนเล็ก ๆ) ^ ^
2. ถุงเท้า 1 คู่
3. ถุงมือ (ミトン) 1 คู่ (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
4. ผ้ากันน้ำลาย (スタイ หรือ よだれかけ) 2 ชิ้น (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
5. ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)=> โรงพยาบาลจะมีให้ตอนออกจากโรงพยาบาล ก็เลยยังไม่ซื้อ
รูปข้างล่างนี้จะเป็นของคุณซู คุณแม่เขาเก็บอย่างดีเลย ^0^
ส่วนหมวดอื่น ถ้าเตรียมครบแล้ว จะทยอยอัพนะคะ ^^
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557
คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (แล้วแต่ที่นะ) (入院案内)
พออายุครรภ์ครบ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ถ้านับไทยก็ 6 เดือน ก็จะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมของตอนที่เราอยู่โรงพยาบาล ของใช้สำหรับเด็ก และของตอนที่ออกจากโรงพยาบาล
ก่อนอื่นเราก็เอาเอกสาร (คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (入院案内)) ที่ได้รับจากโรงพยาบาลเมื่อตอนไปตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 มาดูอีกครั้งนึง เพราะจะมีของบางอย่างที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เราจะได้ไม่ต้องเตรียมเยอะ
เนื้อหาในเอกสารจะมีเรื่อง
-การตรวจครรภ์
โดยปกติแล้วตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะตรวจ 4 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จนถึง 35 สัปดาห์ จะตรวจ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป จะตรวจ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง
แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ อย่างเลือดออก น้ำคร่ำเดิน ท้องแข็งเป็นเวลานาน ก็ต้องรีบไปหาหมอ
-สัญญาณแสดงว่าใกล้คลอด
น้ำคร่ำเดิน, เลือดออก, ถ้าเป็นท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด 10 นาทีต่อครั้ง ถ้าไม่ใช่ท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด ตั้งแต่ 10 นาที - 15 นาทีต่อครั้ง
※แต่ถ้ามีอาการที่ผิดปกตินอกเหนือจากนี้ แล้วไม่ใช่ช่วงเวลาที่ตรวจของทางโรงพยาบาล ก็จะต้องโทรศัพท์ไปก่อน
-ของที่ต้องเตรียมไปตอนที่เข้าโรงพยาบาล (แล้วแต่โรงพยาบาล)
สิ่งที่เราต้องเตรียมไปเอง : สมุดสุขภาพแม่และเด็ก, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรคนไข้, อิงคัง (ตราประทับชื่อหรือนามสกุลของเรา), เข็มขัดคาดเอวหลังคลอด
ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (แล้วแต่โรงพยาบาล)
ชุดนอน (お寝巻)、ผ้าขนหนู (バスタオル)、ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดหน้า (フェイスタオル)ซึ่งจะเปลี่ยนให้ทุกวัน,
เสื้อคลุมยาว (ガウン)、กางเกงใน (ショーツ) 2 ตัว、เสื้อใน (ブラジャー)2 ตัว、แผ่นซับน้ำนม (マニーパット)、ผ้าอนามัย (ナプキン(LSM))、ตะเกียบ (お箸)、ของใช้อย่างแปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ที่แปรงผม, ถ้วยน้ำ, ทิชชู) (洗面用具:ハブラシ、歯磨き粉、ヘヤーブラシ、コップ、ティッシュ)、สลิปเปอร์ (スリッパ)、
เซ็ทของที่จำเป็นในการคลอด (お産セット)、สำลีทำความสะอาด (清浄綿、消毒綿)
※ในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมเบบี้แวร์ (ベビーウェアー)、ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)、ของขวัญในการคลอดลูกไว้ให้
※ที่ห้องอาบน้ำ จะมีพวกยาสระผม สบู่อาบน้ำ โลชั่นเตรียมไว้ให้
-ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาล
ประมาณ 5 วัน วันที่คลอดถือเป็น 1 วัน
ในกรณีที่ผ่าคลอดจำนวนวันที่อยู่จะแตกต่างออกไป
ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ อาจจะดูเหมือนครบแล้ว แต่เราก็คิดว่าคงเตรียมของตัวเองไปด้วยเป็นการเผื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกถ้าบังเอิญขาดขึ้นมา
แล้วก็ต้องดู ๆ ตามนิตยสารแม่ลูกว่าส่วนใหญ่เขาเตรียมอะไรสำหรับทารกบ้าง แล้วก็คงต้องทำเป็นรายการออกมา เพราะเคยไปเดิน ๆ ดู เลือกไม่ถูกว่าต้องใช้อะไรบ้าง ภาษาญี่ปุ่นเรียกแบบนี้หน้าตาเป็นยังไง เพราะอยากซื้อแค่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะเดี๋ยวพอเปลี่ยนฤดูก็ต้องหาซื้ออีก
+กับเดี๋ยวเดือน เม.ย. นี้ภาษีผู้บริโภคขึ้นอีก 3 % เป็น 8% ของบางอย่างที่ใหญ่ ๆ หรือซื้อมาก่อนได้ ก็คงต้องรีบซื้อ แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะเอาที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ดีกว่า...เนอะ
ก่อนอื่นเราก็เอาเอกสาร (คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (入院案内)) ที่ได้รับจากโรงพยาบาลเมื่อตอนไปตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 มาดูอีกครั้งนึง เพราะจะมีของบางอย่างที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เราจะได้ไม่ต้องเตรียมเยอะ
เนื้อหาในเอกสารจะมีเรื่อง
-การตรวจครรภ์
โดยปกติแล้วตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะตรวจ 4 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จนถึง 35 สัปดาห์ จะตรวจ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป จะตรวจ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง
แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ อย่างเลือดออก น้ำคร่ำเดิน ท้องแข็งเป็นเวลานาน ก็ต้องรีบไปหาหมอ
-สัญญาณแสดงว่าใกล้คลอด
น้ำคร่ำเดิน, เลือดออก, ถ้าเป็นท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด 10 นาทีต่อครั้ง ถ้าไม่ใช่ท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด ตั้งแต่ 10 นาที - 15 นาทีต่อครั้ง
※แต่ถ้ามีอาการที่ผิดปกตินอกเหนือจากนี้ แล้วไม่ใช่ช่วงเวลาที่ตรวจของทางโรงพยาบาล ก็จะต้องโทรศัพท์ไปก่อน
-ของที่ต้องเตรียมไปตอนที่เข้าโรงพยาบาล (แล้วแต่โรงพยาบาล)
สิ่งที่เราต้องเตรียมไปเอง : สมุดสุขภาพแม่และเด็ก, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรคนไข้, อิงคัง (ตราประทับชื่อหรือนามสกุลของเรา), เข็มขัดคาดเอวหลังคลอด
ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (แล้วแต่โรงพยาบาล)
ชุดนอน (お寝巻)、ผ้าขนหนู (バスタオル)、ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดหน้า (フェイスタオル)ซึ่งจะเปลี่ยนให้ทุกวัน,
เสื้อคลุมยาว (ガウン)、กางเกงใน (ショーツ) 2 ตัว、เสื้อใน (ブラジャー)2 ตัว、แผ่นซับน้ำนม (マニーパット)、ผ้าอนามัย (ナプキン(LSM))、ตะเกียบ (お箸)、ของใช้อย่างแปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ที่แปรงผม, ถ้วยน้ำ, ทิชชู) (洗面用具:ハブラシ、歯磨き粉、ヘヤーブラシ、コップ、ティッシュ)、สลิปเปอร์ (スリッパ)、
เซ็ทของที่จำเป็นในการคลอด (お産セット)、สำลีทำความสะอาด (清浄綿、消毒綿)
※ในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมเบบี้แวร์ (ベビーウェアー)、ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)、ของขวัญในการคลอดลูกไว้ให้
※ที่ห้องอาบน้ำ จะมีพวกยาสระผม สบู่อาบน้ำ โลชั่นเตรียมไว้ให้
-ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาล
ประมาณ 5 วัน วันที่คลอดถือเป็น 1 วัน
ในกรณีที่ผ่าคลอดจำนวนวันที่อยู่จะแตกต่างออกไป
ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ อาจจะดูเหมือนครบแล้ว แต่เราก็คิดว่าคงเตรียมของตัวเองไปด้วยเป็นการเผื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกถ้าบังเอิญขาดขึ้นมา
แล้วก็ต้องดู ๆ ตามนิตยสารแม่ลูกว่าส่วนใหญ่เขาเตรียมอะไรสำหรับทารกบ้าง แล้วก็คงต้องทำเป็นรายการออกมา เพราะเคยไปเดิน ๆ ดู เลือกไม่ถูกว่าต้องใช้อะไรบ้าง ภาษาญี่ปุ่นเรียกแบบนี้หน้าตาเป็นยังไง เพราะอยากซื้อแค่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะเดี๋ยวพอเปลี่ยนฤดูก็ต้องหาซื้ออีก
+กับเดี๋ยวเดือน เม.ย. นี้ภาษีผู้บริโภคขึ้นอีก 3 % เป็น 8% ของบางอย่างที่ใหญ่ ๆ หรือซื้อมาก่อนได้ ก็คงต้องรีบซื้อ แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะเอาที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ดีกว่า...เนอะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ก่อนกลับไทยก็ต้องมีของติดไม้ติดมือกลับไปฝากที่บ้าน ญาติ แล้วก็เพื่อน ๆ ก็จะด้วยเรื่องงบที่ตั้งไว้ ของบางอย่างก็กะว่าจะแบ่งกระจาย ๆ กัน เร...
-
พอดีไปอ่านเจอในนิตยสารของญี่ปุ่น เกี่ยวกับเรื่อง สารอาหารของเด็กในการส่งเสริมสุขภาพกายและใจก็คือ "การนอนหลับ" น่าสนใจดี เลยลองแปลเ...
-
สวัสดีค่ะ อุณหภูมิวันนี้ 19/6 องศา ไม่หนาวมากเกินไป กำลังดี แล้วในวันนี้เราขอแนะนำแฟชั่นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น (ตามนิตยสารที่เรามีอยู่) เห็...