วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตรวจครรภ์ครั้งที่ 6 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 24 สัปดาห์กว่า ๆ)

วันนี้ไปโรงพยาบาลมีนัดตรวจครรภ์ครั้งที่ 6 (อายุครรภ์ 24 สัปดาห์กว่า ๆ)
ไปถึงโรงพยาบาล ก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ  ไม่ได้ยื่นบัตรประกันสุขภาพเพราะยังไม่ใช่เดือนใหม่ของการมาตรวจ
แล้วก็ไปเก็บปัสสาวะ วัดความดัน จากนั้นพยาบาลก็เรียกเข้าห้องสำหรับเจาะเลือด ครั้งนี้เก็บไป 3 หลอด ซึ่งจะนำไปเช็คว่ามีเชื้อมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ เพราะสามารถติดได้ทางการให้นมแม่
นำไปเช็คว่าเลือดจางหรือไม่  และเช็คค่าน้ำตาลในเลือด

หลังจากนั้นก็ชั่งน้ำหนัก แล้วก็รอพบคุณหมอ คุณหมอมาเห็นน้ำหนัก ทำหน้าเครียดเลย เพราะน้ำหนักเราขึ้นจากก่อนท้องมา 8.5 กิโล ซึ่งเกณฑ์ของคุณหมอคือ 8-12 กิโล เพราะหลังจากนี้น้ำหนักก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น คุณหมอเลยให้ควมคุมน้ำหนัก ลดปริมาณอาหารลง
หลังจากนั้นก็อัลตราซาวด์ดู เด็กตัวใหญ่ขึ้นมากเลย อาจจะเป็นเพราะน้ำหนักแม่ขึ้นเยอะด้วย เลยทำให้เด็กตัวใหญ่ ครั้งนี้คุณหมอจะให้ดูส่วนหัว เน้นให้ดูจมูก ปาก แล้วก็ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น ทั้งหมดปกติ แข็งแรงดี แล้วคุณหมอก็บอกผลการตรวจเลือดไม่มีปัญหาเลือดจาง แอบเห็นตัวเลขอยู่ที่ 11 กว่า ๆ ส่วนผลของตัวอื่นยังไม่ออก   แล้วก็แอบเห็นคุณหมอเขียน 800 กว่า ๆ น่าจะเป็นน้ำหนักของทารก
แล้วคุณหมอก็ถามว่ามีอะไรจะถามไหม เราก็บอกไปว่าช่วงนี้จะปวดหน่วง ๆบริเวณช่วงล่าง บริเวณก้น ทางด้านซ้าย คุณหมอก็เลยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องของท้องผูก ให้ดูอาการ
แล้วก็นัดครั้งต่อไปอีก 2 อาทิตย์  คุณหมอพูดมาเลยว่าครั้งที่มาตรวจคราวหน้าไม่ควรขึ้นเกิน 1 กิโล เฮ้อ

ก่อนกลับคุณหมอให้ไปฟังพยาบาลพูดเรื่องของอาหาร แล้วก็รับคู่มือแนะนำเรื่องอาหารในตอนที่ตั้งครรภ์ และแฮนบุ๊คสำหรับการไปทานข้าวนอกบ้าน พยาบาลเขียนมาเลยว่า BMI ของเรา 21.0 น้ำหนักมาตรฐานจะอยู่ที่ 58.4 กิโล เพราะฉะนั้นปริมาณพลังงานที่จำเป็นต่อวันจะอยู่ที่ 1,700 Kcal
เราต้องควบคุมอาหารให้อยู่ในเกณฑ์นี้เหรอเนี่ย ><
ในคู่มือก็จะบอกมาว่าใน 1 วันควรจะทานอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่
บอกวิถีการทานอาหาร คือ
1. ทานอาหารครบ 3 มื้อ
2. เคี้ยวช้า ๆ ละเอียด ๆ
3. ก่อนนอน 2 ชั่วโมงไม่ให้ทานอะไร
4. ให้ออกกำลังกาย
5. อาหารที่ใช้น้ำมันเยอะ ให้ทานพอดี ๆ
6. ให้ระวังในการทานขนมขบเคี้ยว ของว่าง
7. ให้หันมาทานอาหารจำพวกที่ไม่มีแคลอรี่ อย่างเห็ด บุก สาหร่าย
8. ไม่ทานอาหารรสจัด
9. ไม่ใช้พวกน้ำปรุงรส ซอสในปริมาณที่เยอะ

ส่วน แฮนบุ๊คสำหรับการไปทานข้าวนอกบ้าน ก็จะเขียนประมาณว่า เมนูอาหารนี้ให้พลังงานกี่กิโลแคลอรี่ คงประมาณว่าให้เลือกทานที่ให้พลังงานไม่สูงมาก

ต้องควบคุมอาหาร น้ำหนักแล้วสิเรา

ค่าตรวจในวันนี้ 3,720 เยน







ปลูกมะเขือเทศ

เราเป็นคนนึงที่ชอบทานมะเขือเทศมาก ๆ แต่ที่ญี่ปุ่นขายแพ็คนึง (มีประมาณ 12-15 ลูก) ประมาณ 200 เยน ทานไปแป๊ปเดียวหมดหล่ะ เลยกะจะลองปลูกเองดูว่าจะออกเยอะหรือเปล่า เมื่อปีที่แล้วก็ซื้อมะเขือเทศที่เป็นแบบเมล็ดมา โตออกดอกแล้วก็ออกลูกนะ แต่ว่าไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ ออกลูกมานิดเดียวเอง  ปีนี้คุณซูเลยลองใหม่ แต่คราวนี้ซื้อแบบที่เขาขายเป็นต้นมาแล้ว น่าจะโอเคกว่า
ขายต้นละ 265 เยน


แล้วก็มีซื้อต้นสีแดง กับ สีชมพูมา (กระถางแขวน 2 อันทางขวามือ) ไม่รู้เรียกว่าต้นอะไร เป็นต้นที่ทนมาก จากที่เคยปลูกเมื่อปีที่แล้วดอกแทบจะไม่ร่วงเลย
ขายต้นละ 75 เยน


ส่วนต้นสูง ๆ ดอกสีเหลือง ๆ เรียกว่าต้น Nanohana


แล้วก็ต้นซากุระ (กระถางที่มีหลอดเหลือง ๆ ปักอยู่) ที่เราเห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว ปีนี้ออกดอกแล้ว (แต่ไม่เยอะ ) ^^




วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

เตรียมของเด็ก-หมวดผ้าอ้อม

พอเตรียมเสื้อผ้าเด็กแล้ว ก็มาเรื่องผ้าอ้อม
เราจะพยายามใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าในช่วงกลางวัน แล้วค่อยใช้แบบสำเร็จรูปในช่วงกลางคืน หรือตอนออกไปข้างนอก น่าจะประหยัดไปได้พอสมควร
ที่ซื้อมาแล้วก็จะมี

1. กางเกงผ้าอ้อม (おむつカバー) ซื้อมาทั้งหมด 4 ตัว


 แพ็ค 2 ตัวด้านล่างนี้ซื้อที่ Nishimatsuya ไซส์ 50-60 ราคา 1,498 เยน



ตัวลายสีน้ำเงินนี้คุณซูเลือกให้เลย 555 ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน


ตัวสีขาวซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 980 เยน



แกะออกมาแล้ว หน้าตาจะแบบนี้

2. แผ่นรองซับ (布おむつ) ซื้อมาทั้งหมด 26 ผืน (แต่คิดว่าคงไม่พอ เดี๋ยวไปซื้อแพ็ค 10 ชิ้นมาเพิ่ม)


 2 แพ็คนี้ซื้อจากร้าน Nishimatsuya แพ็คนึงมี 10 ผืน ไซส์ S-M (เขาบอกว่าใช้ได้ถึงอายุ 6 เดือน) 
แพ็คละ 1,599 เยน 



พอแกะออกมาหน้าตาจะเป็นแบบตามรูปล่าง จะวางบนกางเกงผ้าอ้อม สำหรับรองซับพวกอึหรือฉี่



 แพ็คสีชมพูนี้ก็เป็นแผ่นรองซับ แต่พอคลี่ออกมาผืนค่อนข้างใหญ่เหมือนกัน มีทั้งหมด 6 ผืน ซื้อที่ Akachanhonpo ราคา 1,480 เยน


 คลี่ออกมาเป็นแบบนี้ ก็ต้องพับทบทั้งหมด 2 ชั้นให้ได้ขนาดเท่ากับกางเกงผ้าอ้อม


3. กระดาษรองอึ (おむつライナー)

ซื้อที่ร้าน  Akachanhonpo มีทั้งหมด 220 แผ่น ราคากล่องละ 680 เยน

 

4. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป สำหรับเด็กแรกเกิด 1 แพ็ค (紙おむつ) มี 68 ชิ้น ราคา 1,280 เยน




 5. ทิชชูเปียกเช็คก้น (おしりふき)

ลองซื้ออันนี้มาใช้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าเด็กจะแพ้หรือเปล่า กล่องนี้มี 50 แผ่น ราคา 399 เยน
แต่น่าจะไม่พอแน่ ๆ คงต้องไปซื้อมาเพิ่ม


6. ที่รองสำหรับไว้เปลี่ยนผ้าอ้อม อย่างตอนออกไปข้างนอก (おむつ替えシート)

พอคลี่ออกมาจะขนาดเท่ากับเบาะเล็ก ๆ ซื้อที่ร้าน Akachanhonpo ราคา 1,542 เยน


7. ถุงใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ใช้แล้วสำหรับทิ้ง (ตอนออกไปข้างนอก) หรือไว้ใส่ผ้าอ้อมผ้าที่เปียก เพราะสามารถเก็บกลิ่นได้ (おむつ処理用ポリふくろ) ซื้อที่ร้าน Nishimatsuya ราคา 159 เยน



8. ถังใส่ผ้าอ้อมที่ใช้แล้ว
เราซื้อมา 2 ใบ สำหรับผ้าอ้อมที่เปื้อนฉี่ กับผ้าอ้อมที่เปื้อนอึ ซื้อจากร้าน 100 เยน


9. น้ำยาซักผ้า(おむつ、肌着洗い洗剤)
ไม่รู้ว่ายี่ห้อไหนดี เลยซื้ออันนี้มาลองใช้ดูก่อน เป็นแบบเซ็ทคือมีรีฟิวด้วย ราคาอยู่ที่ 1,007 เยน


10. ไม้แขวนเสื้อสำหรับเด็ก (赤ちゃんハンガー)
มี 12 อัน ราคา 409 เยน



ในหมวดนี้น่าจะไม่มีอะไรแล้วน้า...



เตรียมของเด็ก - หมวดเสื้อผ้าและผ้าชิ้นเล็ก ๆ

พอท้องได้ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ก็เริ่มที่จะหาซื้อของใช้สำหรับเด็ก แล้วก็ของตัวเอง
โชคดีที่ไปเจอนิตยสารเล่มนึงที่จะบอกถึงว่าน่าจะต้องเตรียมอะไรบ้าง อย่างถ้าเด็กคลอดช่วงเดือนนี้ ๆ จะมีของอะไรบ้าง ถ้าเป็นที่เมืองไทยร้อนตลอดปีไม่ต้องดูเรื่องอากาศก็ดีเหมือนกันเนอะ  แต่ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องของฤดูเข้ามา แถมเด็กก็โตเร็ว (มีคนบอกมานะ) ก็เลยไม่ค่อยอยากซื้ออะไรมาก อย่างของเราจะคลอดประมาณเดือน ก.ค. ของที่เราเตรียมก็จะมี

หมวดเสื้อผ้าเด็ก (ไซส์เด็กแรกเกิดถึงประมาณ 2 เดือน จะอยู่ที่ 50~60)

1. 短肌着 แบบแขนสั้น  6 ตัว, แบบแขนยาว 1 ตัว

(รูปบนแพคนี้เป็นแบบแขนสั้น มี 2 ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)

(รูปแพคบนนี้เป็นแบบแขนยาว มี 1ตัว ราคา 780 เยนซื้อจากร้านอะคะจังฮมโปะ)

 (รูปแพคบนนี้เป็นแบบเซ็ท มีหลาย ๆ อย่างปนกัน ทั้งหมด 10 ชิ้น ถ้าเป็น 短肌着 จะมี 4 ตัว ราคา 1,799 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


2. 長下着 1 ตัว, コンビ肌着 4 ตัว, 半袖コンビドレス 1 ตัว

จะมีที่อยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น แล้วก็ที่ซื้อแยกแบบนี้

(รูปแพคบนนี้จะเป็น コンビ肌着 มี 2 ตัว ราคา 899 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


 (รูปนี้จะเป็น 半袖コンビドレス มี 1 ตัว ราคา 779 เยน ซื้อจากร้านนิชิมะสึยะ) 


ผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่ควรมี

1. หมวก (ใช้ของคุณซูตอนเล็ก ๆ) ^ ^
2. ถุงเท้า 1 คู่ 
3. ถุงมือ (ミトン) 1 คู่ (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
4. ผ้ากันน้ำลาย (スタイ หรือ よだれかけ) 2 ชิ้น  (มีอยู่ในเซ็ท 10 ชิ้น ตามรูปด้านบน)
5. ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)=> โรงพยาบาลจะมีให้ตอนออกจากโรงพยาบาล ก็เลยยังไม่ซื้อ



รูปข้างล่างนี้จะเป็นของคุณซู คุณแม่เขาเก็บอย่างดีเลย ^0^



ส่วนหมวดอื่น ถ้าเตรียมครบแล้ว จะทยอยอัพนะคะ ^^



 



วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (แล้วแต่ที่นะ) (入院案内)

พออายุครรภ์ครบ 7 เดือน (นับแบบญี่ปุ่น) ถ้านับไทยก็ 6 เดือน ก็จะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมของตอนที่เราอยู่โรงพยาบาล  ของใช้สำหรับเด็ก และของตอนที่ออกจากโรงพยาบาล
ก่อนอื่นเราก็เอาเอกสาร (คู่มือแนะนำในเรื่องการคลอดที่โรงพยาบาล (入院案内)) ที่ได้รับจากโรงพยาบาลเมื่อตอนไปตรวจครรภ์ครั้งที่ 4 มาดูอีกครั้งนึง เพราะจะมีของบางอย่างที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว เราจะได้ไม่ต้องเตรียมเยอะ
เนื้อหาในเอกสารจะมีเรื่อง
-การตรวจครรภ์
โดยปกติแล้วตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ 23 สัปดาห์ จะตรวจ 4 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ จนถึง 35 สัปดาห์ จะตรวจ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
แล้วพออายุครรภ์ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป จะตรวจ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง
แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ อย่างเลือดออก น้ำคร่ำเดิน ท้องแข็งเป็นเวลานาน ก็ต้องรีบไปหาหมอ


-สัญญาณแสดงว่าใกล้คลอด
น้ำคร่ำเดิน, เลือดออก, ถ้าเป็นท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด 10 นาทีต่อครั้ง ถ้าไม่ใช่ท้องแรกจะมีอาการปวดท้องคลอด ตั้งแต่ 10 นาที - 15 นาทีต่อครั้ง
※แต่ถ้ามีอาการที่ผิดปกตินอกเหนือจากนี้ แล้วไม่ใช่ช่วงเวลาที่ตรวจของทางโรงพยาบาล ก็จะต้องโทรศัพท์ไปก่อน


-ของที่ต้องเตรียมไปตอนที่เข้าโรงพยาบาล (แล้วแต่โรงพยาบาล)
สิ่งที่เราต้องเตรียมไปเอง : สมุดสุขภาพแม่และเด็ก, บัตรประกันสุขภาพ, บัตรคนไข้, อิงคัง (ตราประทับชื่อหรือนามสกุลของเรา), เข็มขัดคาดเอวหลังคลอด 



ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (แล้วแต่โรงพยาบาล)
ชุดนอน (お寝巻)、ผ้าขนหนู (バスタオル)、ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดหน้า (フェイスタオル)ซึ่งจะเปลี่ยนให้ทุกวัน,
เสื้อคลุมยาว (ガウン)、กางเกงใน (ショーツ) 2 ตัว、เสื้อใน (ブラジャー)2 ตัว、แผ่นซับน้ำนม (マニーパット)、ผ้าอนามัย (ナプキン(LSM))、ตะเกียบ (お箸)、ของใช้อย่างแปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ที่แปรงผม, ถ้วยน้ำ, ทิชชู) (洗面用具:ハブラシ、歯磨き粉、ヘヤーブラシ、コップ、ティッシュ)、สลิปเปอร์ (スリッパ)、
เซ็ทของที่จำเป็นในการคลอด (お産セット)、สำลีทำความสะอาด (清浄綿、消毒綿)
※ในตอนที่ออกจากโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีเตรียมเบบี้แวร์ (ベビーウェアー)、ผ้าห่อตัวเด็ก (おくるみ)、ของขวัญในการคลอดลูกไว้ให้
※ที่ห้องอาบน้ำ จะมีพวกยาสระผม สบู่อาบน้ำ โลชั่นเตรียมไว้ให้


-ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาล
ประมาณ 5 วัน วันที่คลอดถือเป็น 1 วัน
ในกรณีที่ผ่าคลอดจำนวนวันที่อยู่จะแตกต่างออกไป


ของที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ อาจจะดูเหมือนครบแล้ว แต่เราก็คิดว่าคงเตรียมของตัวเองไปด้วยเป็นการเผื่อจะได้ไม่ฉุกละหุกถ้าบังเอิญขาดขึ้นมา


แล้วก็ต้องดู ๆ ตามนิตยสารแม่ลูกว่าส่วนใหญ่เขาเตรียมอะไรสำหรับทารกบ้าง แล้วก็คงต้องทำเป็นรายการออกมา เพราะเคยไปเดิน ๆ ดู เลือกไม่ถูกว่าต้องใช้อะไรบ้าง ภาษาญี่ปุ่นเรียกแบบนี้หน้าตาเป็นยังไง เพราะอยากซื้อแค่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะเดี๋ยวพอเปลี่ยนฤดูก็ต้องหาซื้ออีก
+กับเดี๋ยวเดือน เม.ย. นี้ภาษีผู้บริโภคขึ้นอีก 3 % เป็น 8% ของบางอย่างที่ใหญ่ ๆ หรือซื้อมาก่อนได้ ก็คงต้องรีบซื้อ  แต่ถ้าไม่ทันจริงๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะเอาที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ดีกว่า...เนอะ