เดี๋ยวถ้าว่างกว่านี้จะอัพย้อนหลังนะ
หลังจากเจ้าหนูครบ 2 เดือนมา 3 วัน วันนี้ก็พาไปตรวจและฉีดวัคซีน (เป็นการฉีดครั้งแรกหลังจากคลอด)
วัคซีนที่ฉีดก็จะมี 2 ชนิดคือ
1. Haemophilus influenza Type B (Hib) (ヒブ) ซึ่งวัคซีนตัวนี้คือ
ฮิบ ( HIB : Haemophilus Influenza type B ) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำให้เกิดโรครุนแรงในเด็กได้ มีชื่อเต็มว่า ฮีโมฟิลุสอินฟลูเอนซา ชนิด บี (Haemophilus Influenza type B) พบการเกิดโรคได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 เดือนถึง 2 ขวบ และสามารถพบได้ถึงอายุ 5 ขวบ แต่หลังอายุ 2 ขวบจะพบในอัตราน้อยลง เชื้อฮิบมีอยู่ในธรรมชาติ อยู่ในปากและลำคอของคนที่เป็นพาหะ ในคนที่มีภูมิต้านทานจะไม่มีอาการ แต่ในคนที่ไม่มีภูมิต้านทานเชื้ออาจลุกลามไปยังส่วนต่างๆก่อให้เกิดโรคได้ สามารถติดต่อไปยังคนใกล้ชิดได้โดยการไอ จามรดกัน หรือติดต่อจากพี่ที่ไปโรงเรียน ซึ่งสามารถนำเชื้อนี้มาติดต่อน้องที่บ้านได้ หรือการพาลูกเล็กๆ ไปข้างนอกบ้านในที่ๆ มีคนพลุกพล่านก็สามารถได้รับเชื้อนี้ได้ อาการ หลังจากได้รับเชื้อฮิบแล้วจะมีอาการใน 3-4 ชั่วโมง ถึง 1-2 วัน
(อ้างอิงจาก กูรู sanook)
2. Streptococcus pheumoniae (小児用肺炎球菌)ซึ่งวัคซีนตัวนี้คือ
เชื้อนิวโมคอคคัสสามารถทำให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด และรวมไปถึงการติดเชื้อของเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้
เชื้อนิวโมคอคคัส คืออะไรนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถพบได้ในทางเดินหายใจของคนทั่วไป โดยคนที่มีเชื้อนิวโมคอคคัสนี้อาจมีอาการแสดงของการเป็นโรค หรืออาจไม่เป็นโรคก็ได้ ผู้ที่มีเชื้ออาศัยอยู่โดยไม่ได้เป็นโรค เรียกว่าเป็นพาหะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน
การแพร่กระจายของเชื้อ
เชื้อนิวโมคอคคัส สามารถกระจายจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ โดยวิธีเดียวกับการติดเชื้อไข้หวัด คือละอองเสมหะของผู้ที่มีเชื้ออยู่จะแพร่กระจายไปยังอีกบุคคลหนึ่งได้โดยการไอ จาม หรือจากการสัมผัสโดย ตรง เช่น สัมผัสมือของผู้ป่วยที่เปื้อนเชื้อแล้วไม่ได้ล้างมือ หรือ หอมแก้มผู้ที่มีเชื้ออยู่ โรคอาจแพร่กระจายได้อย่าง รวดเร็วในบริเวณที่มีเด็กอยู่มาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาลเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่ แข็งแรงดี จึงมีโอกาสต่อการติดเชื้อสูงขึ้น
การรักษาภาวะการติดเชื้อนิวโมคอคคัสการรักษาทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาไปทานที่บ้าน หรือบางรายอาจจำเป็นต้องนอนให้ ยาที่โรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อที่ใดมีอาการรุนแรงเพียงใด
ในปัจจุบัน พบว่ามีปัญหาเชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้รักษายากขึ้น ต้องใช้ยามากขึ้นและผลการรักษาอาจ ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น วิธีการดูแลที่ดีที่สุด คือการป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้อย่างไร
- สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
- สอนให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนที่ไม่สบาย
- พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควันบุหรี่ หรือควันพิษต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตราย ต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ป่วยได้ง่ายขึ้น
ใครบ้างควรได้รับวัคซีนสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรให้วัคซีนที่ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีทุกราย ซึ่ง สามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
- ในเด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางอย่าง เช่น มีโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ในเด็กอายุมากกว่า 5 ปี ที่มีโรคเรื้อรัง ก็ควรได้รับการพิจารณาให้วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสเช่นกัน
- การบวมแดง และเจ็บบริเวณที่ฉีดยา
- อาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง
- เด็กเล็กอาจมีอาการหงุดหงิด งอแง
(อ้างอิงจาก Bangkok Health)
ตอนฉีดเข็มแรก เจ้าหนูก็ไม่ร้องนะ แต่พอฉีดเข็มที่ 2 ร้องนิดหน่อย แล้วก็หยุด พยาบาลให้ดูอาการ.30นาที. ถ้าไม่มีอะไร.กลับไปวันนี้ก็ให้อาบโอะฟุโระได้
แต่ก่อนที่จะพาไปฉีดวัคซีน ทางโฮเค็ง เซ็นเตอร์ก็ส่งเอกสารมาให้ ข้างในจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันสำหรับเจ้าหนู ว่าจะต้องมีฉีดอะไรบ้าง โรงพยาบาลไหนบ้างที่สามารถไปฉีดได้ฟรี แต่เราเลือกที่จะฉีดที่เดียวกับที่เจ้าหนูคลอด ซึ่งที่นั้นไม่มีในลีสต์ ก็ต้องไปทำเรื่องของเอกสารจากโฮเค็ง เซ็นเตอร์มาก่อน ถึงจะไปฉีดได้ โรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในลีสต์ ก็จะต้องออกค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วค่อยไปขอคืน ซึ่งโรงพยาบาลเป็นคนเดินเรื่องให้ แต่คงมีค่าธรรมเนียมอ่ะเนอะ
แล้วค่าวัคซีน 2 ตัวนี้แพงสุด ๆ เกือบ 2 หมื่นเยนแหน่ะ เราจำตัวเลขไม่ได้หล่ะ เพราะใบเสร็จโรงพยาบาลเก็บไป
จากนั้นก็มาตรวจครบ 2 เดือน คุณหมอฟังเสียงหัวใจ, จับแขน 2 ข้าง ให้นั่ง เห็นแล้วเสียวคอแทน
วันนี้เจ้าหนูหนัก 6.28 โล ส่วนสูง 58 เซน คุณหมอบอกให้เราลดปริมาณการให้นมลง เพราะเจ้าหนูไม่เห็นคอ 555 คุณหมอแนะนำให้ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ตอนนี้เราให้นมแม่ + นมผงอยู่ คุณหมอก็แนะนำว่าถ้านมแม่คัดก็นมแม่ล้วน ถ้าไม่คัดก็นมผง 140 มิลลิลิตร
จากนั้นเราก็ถามเรื่องรังแคที่หัวเจ้าหนู มันจะเป็นสะเก็ด แผ่นเล็ก ๆ สีเหลือง ๆ คุณหมอบอกว่าสระผมเสร็จทาด้วยออยล์ แล้วเด็กพอ 6 เดือนไปแล้วก็จะหายไปเอง
คุณหมอแนะนำให้จับนอนคว่ำบ่อย ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกายคอด้วย อย่างถ้ามีการเรอถ้านอนคว่ำอยู่ก็จะไหลออกมาเอง
การตรวจวันนี้ก็มีเท่านี้
กลับมาบ้านเจ้าหนูงอแงเล็กน้อย แต่ไม่ได้เป็นไข้.นึกถึงตอนหมอฉีดยาให้ลูกแล้วเจ็บแทน.><
ปล. เพิ่งมารู้จากแม่.ๆ.คนอื่นว่าเขาฉีดโรต้า.กับไวรัสตับอักเสบบีด้วยตอนที่ครบ.2เดือน.เรามารู้ช้าไป.โรต้าฉีดไม่ทันเพราะมีกำหนดว่าต้องฉีดภายในกี่สัปดาห์หลังจากที่เกิด. ส่วนไวรัสตับอักเสบบี.สามารถฉีดตอนโตได้.ก็ขอให้เจ้าหนูแข็งแรง.ๆน้า