วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ตรวจครรภ์ครั้งที่ 9 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 31 สัปดาห์)
วันนี้ไปโรงพยาบาลมีนัดตรวจครรภ์ครั้งที่ 9 (อายุครรภ์ 31 สัปดาห์) ครั้งนี้คุณซูไม่ได้ไปด้วย เพราะติดงาน จริงๆ มีนัดตอนบ่าย ถ้าเป็นบ่ายคุณซูก็มาด้วยได้ แต่เมื่อวานทางโรงพยาบาลโทรมาเลื่อนขอเป็นช่วงเช้า ครั้งนี้ก็เลยต้องไปคนเดียว
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เรื่องราวของญี่ปุ่นที่เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมหลังจากมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เกือบปีครึ่ง
เรื่องราวของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม หรือของใช้ หรืออื่น ๆ ที่เรารู้สึกว่าได้เรียนรู้เป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ หลังจากที่เราย้ายมาอยู่ที่นี่ในฐานะแม่บ้านได้เกือบปีครึ่ง (เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมาเรียนแลกเปลี่ยน กับมาฝึกงานอย่างละปี) ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น เลยอยากเขียนเก็บไว้เผื่ออยากย้อนเวลาตอนที่เราอยู่ ณ ตอนนี้ตัวเองคิดอะไรยังไง ^0^
(ไม่ได้เรียงลำดับนะ นึกเรื่องอะไรได้ก็เขียนเลย อิอิ)
- ถ้าเปิดไฟสูง หมายถึง การให้รถเราที่ขอสัญญาณอะไรอยู่ทำได้ เช่นกำลังเปิดไฟขอเลี้ยว รถที่เปิดไฟสูงจะจอดให้รถเราได้เลี้ยว
- ถ้ารถสามารถเลี้ยวได้ แต่สัญญาณไฟสำหรับคนหรือจักรยานข้ามยังเป็นสีเขียว ต้องให้คนหรือจักรยานข้ามไปก่อน ถึงจะเลี้ยวได้
- ส่วนใหญ่แล้วขับกันอยู่ที่ความเร็ว 40 -60
ข้อที่ 14. ไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวยาวมาก ๆ พนักงานจะเปิดเค้าน์เตอร์ใหม่ให้ พนักงานแคชเชียร์จะเรียกคิวแรกที่กำลังรอ ให้ไปจ่ายที่เค้าน์เตอร์ใหม่ และของในตระกร้า พอจ่ายเงินเสร็จ เราต้องใส่ลงถุงเอง (จะมีที่ให้ใส่)
(ไม่ได้เรียงลำดับนะ นึกเรื่องอะไรได้ก็เขียนเลย อิอิ)
ข้อที่ 1. ของใช้หน้าตาคล้าย ๆ กัน
แต่แยกประเภทการใช้งาน อย่างเช่น ฟองน้ำล้างจาน ถ้าเราไปซื้อก็คงไม่ได้ดูถึงว่าแบบนี้สำหรับล้างจาน
แบบนี้สำหรับงานอย่างอื่น
ข้อที่ 2. ถ้าเราแปะที่หน้าประตูบ้านว่า
“ไม่ขอรับใบปลิว โฆษณา” คนแจกก็ไม่มาหยอดที่ตู้ไปรษณีย์บ้านเราจริงๆ เว้นแต่คนที่เขาไม่ยอมรับรู้ 555 แจกอย่างเดียว
ข้อที่ 3. เวลาตั้งโต๊ะอาหาร
สำหรับครอบครัวของเราจะไม่ค่อยอะไรมากมาย
แต่เท่าที่เราสังเกตครอบครัวอื่น ๆ เขาจะแยกถ้วยชาม แก้วน้ำ
รวมถึงตะเกียบของใครเป็นของใครไว้เลย สำหรับแขกก็จะมีแยกเอาไว้
ข้อที่ 4. ที่ญี่ปุ่น อิงคังเปรียบเสมือนเป็นลายเซ็นของเรา
เพราะฉะนั้นเราต้องเก็บไว้เป็นอย่างดี
อิงคังส่วนตัวที่เอาไปลงทะเบียนอิงคังที่สำนักงานเขตแล้ว
ส่วนใหญ่จะใช้กับธนาคารแล้วก็การติดต่อราชการ ถ้าเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่จะต้องใช้อิงคิง
ก็สามารถใช้ของที่ไม่ได้ไปลงทะเบียนก็ได้
ข้อที่ 5. KFC ที่ญี่ปุ่น (โตเกียว) เขาเรียก kentaki (เคนตักกี่) หล่ะ
ข้อที่ 6. การแยกและทิ้งขยะ เราต้องแยกขยะตามที่ทางสำนักเขตเขาได้ระบุไว้
และทิ้งในวันที่กำหนด ถ้าเราไม่ได้ทำตามนั้น อย่างกล่องลูกฟูก
ถ้าไม่ได้พับให้เรียบร้อยก่อนทิ้ง ทิ้งทั้งสภาพที่ยังเป็นกล่อง
พนักงานเก็บขยะก็จะไม่เก็บ ถึงจะเป็นวันขยะกระดาษ ก็ไม่เก็บ
ถ้าขยะชิ้นนั้นเป็นของเรา ถึงคนอื่นไม่รู้ แต่เราก็รู้อยู่แก่ใจ
เพราะต้องเจอมันทุกวัน
ข้อที่ 7. เวลาเราเจอเพื่อนบ้าน เจอเพื่อน เจอคนรู้จัก หรือเวลาไปบ้านคนอี่น ควรจะทักทายด้วย
“โอะฮะโยโกะไซมัส หรือคอนนิจะวะ หรือ คอมบังวะ” ด้วยน้ำเสียงที่แข็งขัน
ซึ่งคำทักทายถ้าแปลเป็นไทยก็คือ “สวัสดีครับ / ค่ะ” นั่นเอง
ข้อที่ 8. การใช้บันไดเลื่อน
ถ้าเป็นในแถบโตเกียว ปกติจะยืนด้านซ้าย ถ้าต้องการรีบ ก็ให้เดินทางด้านขวา แต่ถ้าเป็นแถบโอซาก้า ปกติจะยืนด้านขวา
ถ้าต้องการรีบ ก็ให้เดินทางด้านซ้าย
ข้อที่ 9. กฏการขับรถของญี่ปุ่น
- ถ้าบีบแตรแล้วยกมือ หรือเปิดไฟกระพริบ
หมายถึงการขอบคุณ - ถ้าเปิดไฟสูง หมายถึง การให้รถเราที่ขอสัญญาณอะไรอยู่ทำได้ เช่นกำลังเปิดไฟขอเลี้ยว รถที่เปิดไฟสูงจะจอดให้รถเราได้เลี้ยว
- ถ้ารถสามารถเลี้ยวได้ แต่สัญญาณไฟสำหรับคนหรือจักรยานข้ามยังเป็นสีเขียว ต้องให้คนหรือจักรยานข้ามไปก่อน ถึงจะเลี้ยวได้
- ส่วนใหญ่แล้วขับกันอยู่ที่ความเร็ว 40 -60
ข้อที่ 10. ตอนกลางคืน
ถึงเข้านอนแล้ว บ้านคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ชั้นล่างจะเปิดไฟหรี่สีเหลือง ๆ ทิ้งไว้
ในห้องนอนก็เปิดไฟหรี่สีเหลือง ๆ ทิ้งไว้ ตอนแรกบ้านเราก็เป็นแบบนั้น แต่ด้วยความที่ว่าอยากประหยัดไฟ (นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ยังดี) เลยบอกคุณซูว่าปิดเถอะ
ข้อที่ 11. ถ้าเราได้นั่งไม่ว่าจะอยู่บนรถเมล์ หรือรถไฟ ถ้ามีผู้หญิงท้องแล้วท้องอาจจะยังไม่โต
เลยดูไม่ค่อยออกว่าเป็นคนท้อง แต่ถ้าเขาแขวนป้ายว่า “เป็นคนท้อง”
ต้องรีบลุกขึ้นให้เขานั่ง และที่นั่งบริเวณที่เป็นสำหรับคนท้อง คนชรา
ต้องปิดสัญญาณมือถือ ถ้าไม่ใช่บริเวณนี้ ให้ใช้โหมดสั่นแทนได้
ข้อที่ 12. หลาย
ๆ ครอบครัว เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ จะใช้น้ำที่ใช้จากการลงอ่างอาบน้ำ (โอะฟุโระ)
ซักผ้าต่อ มีเครื่องถ่ายน้ำมาที่เครื่องซักผ้าขายด้วย แต่บ้านเราเราใช้น้ำโอะฟุโระของแต่ละครั้งประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นถ้าไม่ได้ใส่ผงสำหรับแช่ ก็จะเอาไปรดน้ำต้นไม้ต่อ แล้วค่อยขัดอ่าง
ข้อที่ 13. เวลาลองชุดที่ห้องลอง
รองเท้าเราต้องถอดแล้ววางด้านนอกห้อง บางร้านให้เอารองเท้าเข้าไปได้แต่ก็ให้วางด้านล่าง
และส่วนใหญ่เวลาเราตัดสินใจเอาเสื้อผ้าชิ้นไหนแล้ว
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ถามว่ามีชิ้นใหม่หรือเปล่า จะเอาจากราวที่มีอยู่
ถึงจะมีแค่ตัวเดียว เขาก็ซื้อกัน
นอกจากทางร้านจะเสนอเองว่าเดี๋ยวหยิบชิ้นใหม่มาให้ข้อที่ 14. ไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวยาวมาก ๆ พนักงานจะเปิดเค้าน์เตอร์ใหม่ให้ พนักงานแคชเชียร์จะเรียกคิวแรกที่กำลังรอ ให้ไปจ่ายที่เค้าน์เตอร์ใหม่ และของในตระกร้า พอจ่ายเงินเสร็จ เราต้องใส่ลงถุงเอง (จะมีที่ให้ใส่)
ข้อที่ 15. การลงรถเมล์
ต้องกดกริ่ง และต้องให้รถจอดก่อนถึงค่อยลุก แล้วค่อยไปจ่ายเงิน (ในกรณีที่ไม่มีบัตรเติมเงินประเภทต่าง
ๆ อย่างบัตร SUICA เป็นต้น) ถ้าไม่มีเหรียญ ที่เครื่องจ่ายเงินนั้นก็จะมีเครื่องแลกเงิน ให้เราให้แบ็งค์ใส่เข้าไป เหรียญก็จะออกมา แล้วค่อยเอาไปหยอดที่ช่องค่าโดยสาร
ข้อที่ 16. ที่ร้านอาหารหรือร้านกาแฟ
สำหรับคนที่ไม่ชอบกลิ่นบุหรี่ก็ต้องทน
เพราะถึงจะมีแบ่งที่ว่าเป็นที่สำหรับสูบบุหรี่ได้ ที่บริเวณนี้ห้ามสูบ
แต่ก็เป็นห้องเดียวกัน กลิ่นก็วนเวียนอยู่ในนั่นแหล่ะ
ข้อที่ 17. โดยส่วนตัวเราไม่ค่อยชอบวางกระเป๋า หรือถุงหรือสัมภาระกับพื้นบริเวณที่เรายืน
อย่างตอนรอรถ หรือบนรถไฟ แต่ที่นี่เขาวางกันเป็นปกติ ไม่กลัวว่าก้นกระเป๋า
ก้นถุงจะเลอะเทอะอะไรเลย
ข้อที่ 18. การพาหมาไปเดินเลิน ก็เป็นกิจวัตรประจำวันของแม่บ้าน หรือคนเลี้ยง แต่พวกเขาจะต้องถือถุงพลาสติกไปด้วย
เพราะถ้าเจ้าดุ๊กดิ๊กอึ เจ้าของต้องเก็บอึด้วย
เพราะฉะนั้นไม่ต้องมาคอยระวังว่าจะเหยียบขี้หมาหรือเปล่า (แต่ก็มีบางคนไม่เก็บเหมือนกัน)
ข้อที่ 19. ไปรักษาโรคที่โรงพยาบาล เขามีเวลาเปิดปิดเค้าท์เตอร์ลงทะเบียนผู้ป่วยด้วย
ต้องไปให้ทันเวลา ไม่เช่นนั้น ต้องรอรอบถัดไป หรือวันถัดไป และการจ่ายยา
เราจะไม่ได้รับยาโดยตรงจากทางโรงพยาบาล ต้องเอาใบจ่ายยาไปซื้อที่ร้านที่รับใบจ่ายยา (ไม่รู้เป็นเหมือนกันทุกที่หรือเปล่า)
ข้อที่ 20. การใส่หน้ากากอนามัย
ถือเป็นเรื่องปกติของที่นี่ ถึงเราไม่ได้เป็นไข้หวัด ปกตินี่แหล่ะ
จะใส่เพื่อเป็นแฟชั่นตามเขาก็ได้
ข้อที่ 21. จักรยานถือเป็นพาหนะที่เจอทั่วไปบนฟุตบาท
เพราะฉะนั้นเวลาเราเดินก็ต้องระวังจักรยานชน
ข้อที่ 22. ทำมิโซะซุป
ตัวเนื้อมิโซะซุป เราคนด้วยทัพพีธรรมดา โดนคุณซูดุเลยว่า "นึกแล้วว่าทำไมยังเป็นก้อน ๆ" เพราะฉะนั้นการทำมิโซะซุป
ต้องเอาเนื้อมิโซะใส่บนทัพพีที่มีรู แล้วก็ค่อยๆ ละลาย ๆ จนหมด จะได้ไม่มีก้อนหลงเหลือ
ข้อที่ 23. ทิชชูในห้องน้ำ เราสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้เลย ส่วนถังขยะที่มีไว้ไห้ จะสำหรับทิ้งพวกผ้าอนามัย ฯ แต่ถ้าใครใช้ทิชชูเปียกก็ต้องเลือกแบบที่เขียนว่าสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ตันได้
ข้อที่ 24. แม่บ้านแถวบ้านเราเขาซักผ้ากันทุกวันเลย เลยทำให้เราต้องซักเกือบทุกวันเหมือนกัน (ติดนิสัยมา) เพราะตอนอยู่ไทยตอนที่ทำงานต่างจังหวัด จำได้ว่าสักประมาณอาทิตย์ละครั้งได้
ข้อที่ 25. เนื้อหมูหรือเนื้ออื่นๆที่ขายตามซุปเปอร์เป็นแพ็ค.ๆไม่จำเป็นต้องล้างก่อนนำมาทำอาหารแหละ.ช่วงแรกชินกับตอนอยู่ไทย.ล้างก่อนตลอด.ตอนนี้ไม่หละ
ข้อที่ 26. ถ้าเราพาเด็ก ๆ ไปเที่ยว คุณซูจะบอกเสมอว่าถ้าจะให้เด็กนั่งที่นั่ง ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งบนรถไฟ ที่นั่งตามร้านอาหาร ให้ถอดรองเท้าเด็กออกก่อน เผื่อเด็กปีน หรือยืนบนที่นั่ง ก็จะทำให้เบาะเปื้อน
ข้อที่ 27. ตอนนี้เราท้องอยู่ เวลาไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวไม่ยาว แคชเชียร์เขาจะช่วยยกตระกร้าที่เราจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปวางที่โต๊ะสำหรับใส่ลงถุงให้ ใจดีจัง
ข้อที่ 28. เราเคยเห็นแม่ลูกคู่นึง เด็กก็คงไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรหรอกนะ พอเห็นลิฟต์ลงมา เด็กก็จะเข้าไปก่อน แม่เขาสอนเลยว่าให้รอ (เพราะเขามาหลังเรา) สิ่งนี้คงเป็นสิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าคิวต่อแถวอย่างเป็นระเบียบ แต่เราก็เคยเห็นบางรายการที่เขาฉาย เราก็เห็นคนญี่ปุ่นแย่งซื้อของลดราคากันเหมือนกันนะ อย่างว่าของถูกใคร ๆ ก็อยากซื้ออ่ะเนอะ
ข้อที่ 29. ถึงจะเข้าหน้าร้อน คุณซูก็ยังคงจะอาบด้วยน้ำอุ่น แช่น้ำอุ่น เพราะเขาบอกว่าช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แต่เราไม่ไหวอ่ะ อาบน้ำเย็นเลย ไม่ลงแช่น้ำอุ่นด้วย ร้อนเกิน
ข้อที่ 30. เราสามารถขอใช้ห้องน้ำตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปได้ สะดวกดีเหมือนกันเวลาเดินทางไปไหนไกล ๆ
ข้อที่ 31. คุณซูเอารถเข้าเช็คที่ศูนย์อย่างเช็คระยะ หรือเปลี่ยนแบต หรืออื่น ๆ ทางศูนย์เขาไม่ได้ล้างรถให้เราแหละ จะต่างกับตอนที่เราเอารถเข้าศูนย์ฮอนด้าที่ไทย (ไม่รู้ศูนย์บริษัทอื่นจะเหมือนกันมั้ย) ทุกครั้งรถจะใหม่ สะอาดออกมาเลย
ข้อที่ 32. ปั้มน้ำมันที่นี่จะมีบริการให้เราเติมน้ำมันเอง คุณซูมักจะเลือกแบบบริการตัวเอง เพราะคุณซูบอกว่าจะถูกกว่าที่มีพนักงานมาบริการให้นิดหน่อย เราก็ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันทุกปั้มหรือเปล่า สำหรับปั้มที่เราใช้อยู่ก็จะมีบริการล้างรถแบบหยอดเหรียญ พอล้างเสร็จ ก็จะมีส่วนที่ให้เรามาเช็คทำความสะอาดอีกที จะมีผ้าขนหนูเล็ก ๆ เตรียมไว้ให้ มีเครื่องดูดฝุ่นแบบหยอดเหรียญ มีเครื่องทำความสะอาดพรมในรถด้วย
ข้อที่ 33. ถ้าเราทานข้าวนอกบ้าน เวลาเข้าไปในร้านแล้ว ถ้าพนักงานยังไม่มาเชิญให้เราไปนั่งที่โต๊ะ เราก็ต้องยืนรอบริเวณประตูจนกว่าพนักงานจะมา ถ้าพนักงานยุ่ง ๆ อยู่ก็อาจจะรอนานหน่อย จริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าการไปนั่งที่โต๊ะว่าง ๆ เองจะได้หรือเปล่า เพราะเราเห็นก็มีแต่คนยืนรออ่ะ
ข้อที่ 34. ป้ายที่แขวนบนท้องถนน แบบว่าถ้าจะไปที่นี่ตรงไป หรือเลี้ยวซ้ายขวา ที่ญี่ปุ่นใช้สีน้ำเงินหล่ะ (ที่ไทยใช้สีเขียว) ส่วนป้ายที่เป็นสีเขียวที่ญี่ปุ่นจะหมายถึงไปทางด่วน (ซึ่งที่ไทยทางด่วนจะเป็นป้ายสีน้ำเงินเนอะ) สลับกัน
ข้อที่ 35. ตามโฮมเซ็นเตอร์ จะมีขายพวกดอกไม้ ต้นไม้ กระถางด้วย สะดวกดีเหมือนกัน
ข้อที่ 23. ทิชชูในห้องน้ำ เราสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้เลย ส่วนถังขยะที่มีไว้ไห้ จะสำหรับทิ้งพวกผ้าอนามัย ฯ แต่ถ้าใครใช้ทิชชูเปียกก็ต้องเลือกแบบที่เขียนว่าสามารถทิ้งลงไปในชักโครกได้ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ตันได้
ข้อที่ 24. แม่บ้านแถวบ้านเราเขาซักผ้ากันทุกวันเลย เลยทำให้เราต้องซักเกือบทุกวันเหมือนกัน (ติดนิสัยมา) เพราะตอนอยู่ไทยตอนที่ทำงานต่างจังหวัด จำได้ว่าสักประมาณอาทิตย์ละครั้งได้
ข้อที่ 25. เนื้อหมูหรือเนื้ออื่นๆที่ขายตามซุปเปอร์เป็นแพ็ค.ๆไม่จำเป็นต้องล้างก่อนนำมาทำอาหารแหละ.ช่วงแรกชินกับตอนอยู่ไทย.ล้างก่อนตลอด.ตอนนี้ไม่หละ
ข้อที่ 26. ถ้าเราพาเด็ก ๆ ไปเที่ยว คุณซูจะบอกเสมอว่าถ้าจะให้เด็กนั่งที่นั่ง ไม่ว่าจะเป็นที่นั่งบนรถไฟ ที่นั่งตามร้านอาหาร ให้ถอดรองเท้าเด็กออกก่อน เผื่อเด็กปีน หรือยืนบนที่นั่ง ก็จะทำให้เบาะเปื้อน
ข้อที่ 27. ตอนนี้เราท้องอยู่ เวลาไปซื้อของที่ซุปเปอร์ ถ้าคิวไม่ยาว แคชเชียร์เขาจะช่วยยกตระกร้าที่เราจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปวางที่โต๊ะสำหรับใส่ลงถุงให้ ใจดีจัง
ข้อที่ 28. เราเคยเห็นแม่ลูกคู่นึง เด็กก็คงไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรหรอกนะ พอเห็นลิฟต์ลงมา เด็กก็จะเข้าไปก่อน แม่เขาสอนเลยว่าให้รอ (เพราะเขามาหลังเรา) สิ่งนี้คงเป็นสิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้าคิวต่อแถวอย่างเป็นระเบียบ แต่เราก็เคยเห็นบางรายการที่เขาฉาย เราก็เห็นคนญี่ปุ่นแย่งซื้อของลดราคากันเหมือนกันนะ อย่างว่าของถูกใคร ๆ ก็อยากซื้ออ่ะเนอะ
ข้อที่ 29. ถึงจะเข้าหน้าร้อน คุณซูก็ยังคงจะอาบด้วยน้ำอุ่น แช่น้ำอุ่น เพราะเขาบอกว่าช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น แต่เราไม่ไหวอ่ะ อาบน้ำเย็นเลย ไม่ลงแช่น้ำอุ่นด้วย ร้อนเกิน
ข้อที่ 30. เราสามารถขอใช้ห้องน้ำตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปได้ สะดวกดีเหมือนกันเวลาเดินทางไปไหนไกล ๆ
ข้อที่ 31. คุณซูเอารถเข้าเช็คที่ศูนย์อย่างเช็คระยะ หรือเปลี่ยนแบต หรืออื่น ๆ ทางศูนย์เขาไม่ได้ล้างรถให้เราแหละ จะต่างกับตอนที่เราเอารถเข้าศูนย์ฮอนด้าที่ไทย (ไม่รู้ศูนย์บริษัทอื่นจะเหมือนกันมั้ย) ทุกครั้งรถจะใหม่ สะอาดออกมาเลย
ข้อที่ 32. ปั้มน้ำมันที่นี่จะมีบริการให้เราเติมน้ำมันเอง คุณซูมักจะเลือกแบบบริการตัวเอง เพราะคุณซูบอกว่าจะถูกกว่าที่มีพนักงานมาบริการให้นิดหน่อย เราก็ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันทุกปั้มหรือเปล่า สำหรับปั้มที่เราใช้อยู่ก็จะมีบริการล้างรถแบบหยอดเหรียญ พอล้างเสร็จ ก็จะมีส่วนที่ให้เรามาเช็คทำความสะอาดอีกที จะมีผ้าขนหนูเล็ก ๆ เตรียมไว้ให้ มีเครื่องดูดฝุ่นแบบหยอดเหรียญ มีเครื่องทำความสะอาดพรมในรถด้วย
ข้อที่ 33. ถ้าเราทานข้าวนอกบ้าน เวลาเข้าไปในร้านแล้ว ถ้าพนักงานยังไม่มาเชิญให้เราไปนั่งที่โต๊ะ เราก็ต้องยืนรอบริเวณประตูจนกว่าพนักงานจะมา ถ้าพนักงานยุ่ง ๆ อยู่ก็อาจจะรอนานหน่อย จริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าการไปนั่งที่โต๊ะว่าง ๆ เองจะได้หรือเปล่า เพราะเราเห็นก็มีแต่คนยืนรออ่ะ
ข้อที่ 34. ป้ายที่แขวนบนท้องถนน แบบว่าถ้าจะไปที่นี่ตรงไป หรือเลี้ยวซ้ายขวา ที่ญี่ปุ่นใช้สีน้ำเงินหล่ะ (ที่ไทยใช้สีเขียว) ส่วนป้ายที่เป็นสีเขียวที่ญี่ปุ่นจะหมายถึงไปทางด่วน (ซึ่งที่ไทยทางด่วนจะเป็นป้ายสีน้ำเงินเนอะ) สลับกัน
ข้อที่ 35. ตามโฮมเซ็นเตอร์ จะมีขายพวกดอกไม้ ต้นไม้ กระถางด้วย สะดวกดีเหมือนกัน
ตอนนี้มีประมาณเท่านี้ ถ้าเจออะไรใหม่ ๆ จะอัพเดทอีกทีนะคะ ^^
วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เตรียมของเด็ก - หมวดอุปกรณ์สำหรับตอนออกไปข้างนอก
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับออกไปข้างนอก ต้องเตรียมไว้ก่อน เพราะหลังคลอดแล้วคงยุ่งสุด ๆ
ก็จะมี
1. คาร์ซีท (チャイルドシート) (กฎหมายที่ญี่ปุ่นบังคับให้เด็กต้องนั่งคาร์ซีท)
2. เบบี้คาร์ (ベビーカー)
3. เป้อุ้มเด็ก (抱っこひも)
4. กระเป๋าสำหรับคุณแม่ (マザーズバッグ)
สำหรับข้อ 1 กับข้อ 2 เราซื้อแบบที่เป็นมัลติฟังก์ชั่นมา (多機能ベビーカー) ก็คือเป็นทั้งคาร์ซีทแล้วก็เบบี้คาร์
สำหรับลักษณะการใช้งานก็จะเป็นตามลิ้งค์ด้านล่างค่ะ
http://www.combi.co.jp/products/stroller/multi5way/
เห็นพี่สะใภ้ใช้อยู่ สะดวกดีเหมือนกัน เวลาไปไหนมาไหนก็หิ้วไปทั้งแบบนี้เลย
ก่อนที่จะได้มา ตอนแรกไปดูตามร้านมือสองกับคุณซู เข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ หลายวันมาก เจอเหมือนกันแต่ว่าไม่ค่อยถูกใจกับสภาพเท่าไหร่ มีวันนึงไปเอ้าท์เลทที่มีร้านของ Combi ด้วย ไปถึงก็ไม่มีขายรุ่นนี้ ขากลับคิดว่าจะสั่งซื้อตามเน็ทหล่ะ คิดว่าน่าจะมี ระหว่างทางเจอร้าน Toysrus เลยลองแวะเข้าไปดู ทั้ง ๆ ที่ก็เคยแวะดูสาขาอื่นแล้ว ก็ไม่มี ปรากฏว่ามีแต่เหลือแค่คันเดียว ตกลงซื้อเลยแทบไม่ได้เช็คอะไรกันเลย เพราะสินค้าใหม่น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แล้วรุ่นนี้ก็หายากมาก ๆ ไม่ซื้อวันนี้ก็คงต้องหากันอีกนานเลย
ราคา + ทำประกันด้วยก็ 26,945 เยน (25,917+ ประกัน 1,028)
ไม่รู้ว่าไม่ฮิตหรือว่าขายดีเกินอ่ะเนอะ
ข้อ 3. เป้อุ้มเด็ก เราเลือกเอาแบบ 4 way ราคา 16,800 เยน ซื้อที่ Akachanhonpo
แบบ 3 way ก็มีเหมือนกันราคาก็จะถูกกว่า แต่ที่เลือกแบบ 4 way เพราะใช้กับเด็กแรกเกิดได้ด้วย
ข้อ 4. กระเป๋าสำหรับคุณแม่ มีช่องหลายช่อง แล้วก็มีกระเป๋าเล็ก ๆ สำหรับใส่แพมเพิสให้ด้วย
ราคา 3,238 เยน ลดไป 2 เยน เหลือ 3,236 เยน เพราะไม่เอาถุงก็อบแก๊บ ซื้อที่ Toysrus
ที่เหลือหมวดอื่น ๆ ไว้ครบแล้ว จะมาอัพอีกทีนะคะ ^^
ก็จะมี
1. คาร์ซีท (チャイルドシート) (กฎหมายที่ญี่ปุ่นบังคับให้เด็กต้องนั่งคาร์ซีท)
2. เบบี้คาร์ (ベビーカー)
3. เป้อุ้มเด็ก (抱っこひも)
4. กระเป๋าสำหรับคุณแม่ (マザーズバッグ)
สำหรับข้อ 1 กับข้อ 2 เราซื้อแบบที่เป็นมัลติฟังก์ชั่นมา (多機能ベビーカー) ก็คือเป็นทั้งคาร์ซีทแล้วก็เบบี้คาร์
สำหรับลักษณะการใช้งานก็จะเป็นตามลิ้งค์ด้านล่างค่ะ
http://www.combi.co.jp/products/stroller/multi5way/
เห็นพี่สะใภ้ใช้อยู่ สะดวกดีเหมือนกัน เวลาไปไหนมาไหนก็หิ้วไปทั้งแบบนี้เลย
ก่อนที่จะได้มา ตอนแรกไปดูตามร้านมือสองกับคุณซู เข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ หลายวันมาก เจอเหมือนกันแต่ว่าไม่ค่อยถูกใจกับสภาพเท่าไหร่ มีวันนึงไปเอ้าท์เลทที่มีร้านของ Combi ด้วย ไปถึงก็ไม่มีขายรุ่นนี้ ขากลับคิดว่าจะสั่งซื้อตามเน็ทหล่ะ คิดว่าน่าจะมี ระหว่างทางเจอร้าน Toysrus เลยลองแวะเข้าไปดู ทั้ง ๆ ที่ก็เคยแวะดูสาขาอื่นแล้ว ก็ไม่มี ปรากฏว่ามีแต่เหลือแค่คันเดียว ตกลงซื้อเลยแทบไม่ได้เช็คอะไรกันเลย เพราะสินค้าใหม่น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แล้วรุ่นนี้ก็หายากมาก ๆ ไม่ซื้อวันนี้ก็คงต้องหากันอีกนานเลย
ราคา + ทำประกันด้วยก็ 26,945 เยน (25,917+ ประกัน 1,028)
ไม่รู้ว่าไม่ฮิตหรือว่าขายดีเกินอ่ะเนอะ
ข้อ 3. เป้อุ้มเด็ก เราเลือกเอาแบบ 4 way ราคา 16,800 เยน ซื้อที่ Akachanhonpo
แบบ 3 way ก็มีเหมือนกันราคาก็จะถูกกว่า แต่ที่เลือกแบบ 4 way เพราะใช้กับเด็กแรกเกิดได้ด้วย
ข้อ 4. กระเป๋าสำหรับคุณแม่ มีช่องหลายช่อง แล้วก็มีกระเป๋าเล็ก ๆ สำหรับใส่แพมเพิสให้ด้วย
ราคา 3,238 เยน ลดไป 2 เยน เหลือ 3,236 เยน เพราะไม่เอาถุงก็อบแก๊บ ซื้อที่ Toysrus
ที่เหลือหมวดอื่น ๆ ไว้ครบแล้ว จะมาอัพอีกทีนะคะ ^^
วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
ตรวจครรภ์ครั้งที่ 8 ที่โรงพยาบาลญี่ปุ่น (อายุครรภ์ 29 สัปดาห์)
วันนี้ไปโรงพยาบาลมีนัดตรวจครรภ์ครั้งที่ 8 (อายุครรภ์ 29 สัปดาห์)
ไปถึงโรงพยาบาล ก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ ยื่นบัตรประกันสุขภาพ จากนั้นก็ไปวัดความดัน แล้วก็ไปเก็บปัสสาวะ
ในครั้งนี้มีการเจาะเลือดด้วย เก็บไป 1 หลอด เพื่อเป็นการตรวจว่าโลหิตจางหรือไม่
หลังจากนั้นก็รอเรียกพบคุณหมอ มีการชั่งน้ำหนักก่อน ชั่งน้ำหนักอยู่ที่ 66.5 กิโล (ครั้งที่แล้ว 65.1) ขึ้นมา 1.4 กิโล โดนคุณหมอสั่งให้ควบคุมอาหาร น้ำหนักอย่างจริงจังหล่ะ เพราะถ้าเป็นแบบนี้คุณหมอบอกว่าคงเกิน 15 กิโลแน่ ๆ
จากนั้นก็ซาวด์ที่ท้อง คุณหมอให้ดูที่ส่วนของหัว มีการคลิกลากจากด้านนึงไปด้านนึง ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าขนาดของหัวปกติดี
จากนั้นก็มาคลิกที่ส่วนขาดูความยาวของขา คุณหมอก็บอกว่าเด็กอาจจะตัวใหญ่กว่าไซส์มาตรฐาน น้ำหนักจากที่เห็นที่จออยู่ที่ 1,368 กรัม
แล้วก็ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น คุณหมอบอกว่าแข็งแรงดี ^0^
จากนั้นก็ให้ดูส่วนที่เป็นตา ปกติดี ซึ่งตอนนี้เด็กนอนหงายอยู่ คุณหมอก็ทักว่าชั้นไขมันของคุณแม่หนา อาจจะทำให้ดูได้ไม่ละเอียดเท่าไหร่ (เราเห็นก็ว่าหนาจริง ๆ อ่ะ)
พอซาวด์เสร็จ คุณหมอก็บอกผลการตรวจเลือด ความเข้มข้นของเลือดอยู่พอดีกับตัวเลขที่เซฟเลย คือ 11 เราก็เลยถามว่าถ้าทานวิตามินที่ช่วยเรื่องโลหิตจางของ Kobayashi (กล่องสีแดง) ทานร่วมกับวิตามินของ Pigeon (ตามรูปด้านล่าง) ได้หรือเปล่า คุณหมอบอกว่าทานของ Pigeon อย่างเดียวก็พอแล้ว แล้วทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก (จริง ๆ คุณหมอคงอยากให้ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากกว่าการทานพวกวิตามิน แต่เราดักถามไปก่อน)
จากนั้นคุณหมอก็ถามว่ามีอะไรที่อยากจะถามมั้ย เราก็เลยบอกคุณหมอว่า ปวดช่วงเอวด้านหลังทางด้านขวา เท่านั้นแหล่ะ คุณหมอทำหน้ายิ้มเจือน ๆ แล้วก็บอกว่าเพราะน้ำหนักเราเยอะ เลยเป็นสาเหตุนึง ให้คุมเรื่องอาหาร แล้วก็น้ำหนัก คุณซูก็บอกว่าทุกวันนี้เราก็เดินเยอะขึ้น คุณหมอก็บอกว่า การเดินสำหรับคนท้องอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ อย่างดีก็ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงก็เหนื่อยไม่ไหวแล้ว เราคงต้องคุมอาหารอย่างจริงจัง ><
พอตรวจตรงนี้เสร็จ คุณหมอก็บอกว่ามีตรวจต่อ ให้ไปที่ห้องสำหรับตรวจภายใน เราก็ขึ้นที่นั่งที่เป็นเครื่องสำหรับตรวจภายใน ครั้งนี้จะเป็นการตรวจหนองในเทียม และก็การตรวจแบคทีเรียในตกขาว
การตรวจหนองในเทียม คุณหมอให้ดูมอนิเตอร์ด้วย แล้วก็ไม่ได้พูดอะไร เป็นอันจบการตรวจในวันนี้
นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 2 อาทิตย์
ค่าตรวจในวันนี้ 4,770 เยน
อ้อ วันนี้นางพยาบาลถามเราด้วยว่า ตอนคลอดจะให้สามีเข้าไปด้วยมั้ย เราก็บอกต้องการให้เข้าค่ะ
แต่เงื่อนไขก็คือถ้าคลอดหลัง 2 ทุ่มไปแล้ว สามีจะเข้าไปด้วยไม่ได้ เพราะเป็นกฏของที่นี่
ก็ขอให้หนูคลอดในตอนกลางวันแล้วก็วันที่ป่ะป๊าหนูหยุดพอดีด้วยน้า ^^
พอกลับมาบ้านมาดูสมุดสุขภาพแม่และเด็ก ครั้งนี้ที่ช่อง 浮腫 (อาการบวม) จากการตรวจปัสสาวะ พยาบาลวงที่เครื่องหมาย - แล้วก็วงที่เครื่องหมาย + ซึ่งปกติที่ผ่านมาจะวงแค่ที่เครื่องหมาย -
เราก็เลยลองหาข้อมูลดู ถ้าเครื่องหมาย - อย่างเดียว ถือว่าปกติ
แต่ถ้าวง - + จะผิดปกติในเรื่องของการบวมเล็กน้อย คุณหมอไม่ได้ทักอะไร เพราะคุณหมอก็มีจับที่ขา แล้วก็บอกว่าไม่บวม ก็คงไม่มีปัญหามั้ง แต่ก็ต้องระวังเค็มไว้ก่อนอ่ะเนอะ
ไปถึงโรงพยาบาล ก็ยื่นบัตรนัด บัตรคนไข้ สมุดสุขภาพแม่และเด็ก สมุดช่วยค่าตรวจ ยื่นบัตรประกันสุขภาพ จากนั้นก็ไปวัดความดัน แล้วก็ไปเก็บปัสสาวะ
ในครั้งนี้มีการเจาะเลือดด้วย เก็บไป 1 หลอด เพื่อเป็นการตรวจว่าโลหิตจางหรือไม่
หลังจากนั้นก็รอเรียกพบคุณหมอ มีการชั่งน้ำหนักก่อน ชั่งน้ำหนักอยู่ที่ 66.5 กิโล (ครั้งที่แล้ว 65.1) ขึ้นมา 1.4 กิโล โดนคุณหมอสั่งให้ควบคุมอาหาร น้ำหนักอย่างจริงจังหล่ะ เพราะถ้าเป็นแบบนี้คุณหมอบอกว่าคงเกิน 15 กิโลแน่ ๆ
จากนั้นก็ซาวด์ที่ท้อง คุณหมอให้ดูที่ส่วนของหัว มีการคลิกลากจากด้านนึงไปด้านนึง ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าขนาดของหัวปกติดี
จากนั้นก็มาคลิกที่ส่วนขาดูความยาวของขา คุณหมอก็บอกว่าเด็กอาจจะตัวใหญ่กว่าไซส์มาตรฐาน น้ำหนักจากที่เห็นที่จออยู่ที่ 1,368 กรัม
แล้วก็ให้ฟังเสียงหัวใจเต้น คุณหมอบอกว่าแข็งแรงดี ^0^
จากนั้นก็ให้ดูส่วนที่เป็นตา ปกติดี ซึ่งตอนนี้เด็กนอนหงายอยู่ คุณหมอก็ทักว่าชั้นไขมันของคุณแม่หนา อาจจะทำให้ดูได้ไม่ละเอียดเท่าไหร่ (เราเห็นก็ว่าหนาจริง ๆ อ่ะ)
พอซาวด์เสร็จ คุณหมอก็บอกผลการตรวจเลือด ความเข้มข้นของเลือดอยู่พอดีกับตัวเลขที่เซฟเลย คือ 11 เราก็เลยถามว่าถ้าทานวิตามินที่ช่วยเรื่องโลหิตจางของ Kobayashi (กล่องสีแดง) ทานร่วมกับวิตามินของ Pigeon (ตามรูปด้านล่าง) ได้หรือเปล่า คุณหมอบอกว่าทานของ Pigeon อย่างเดียวก็พอแล้ว แล้วทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก (จริง ๆ คุณหมอคงอยากให้ทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากกว่าการทานพวกวิตามิน แต่เราดักถามไปก่อน)
จากนั้นคุณหมอก็ถามว่ามีอะไรที่อยากจะถามมั้ย เราก็เลยบอกคุณหมอว่า ปวดช่วงเอวด้านหลังทางด้านขวา เท่านั้นแหล่ะ คุณหมอทำหน้ายิ้มเจือน ๆ แล้วก็บอกว่าเพราะน้ำหนักเราเยอะ เลยเป็นสาเหตุนึง ให้คุมเรื่องอาหาร แล้วก็น้ำหนัก คุณซูก็บอกว่าทุกวันนี้เราก็เดินเยอะขึ้น คุณหมอก็บอกว่า การเดินสำหรับคนท้องอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ อย่างดีก็ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงก็เหนื่อยไม่ไหวแล้ว เราคงต้องคุมอาหารอย่างจริงจัง ><
พอตรวจตรงนี้เสร็จ คุณหมอก็บอกว่ามีตรวจต่อ ให้ไปที่ห้องสำหรับตรวจภายใน เราก็ขึ้นที่นั่งที่เป็นเครื่องสำหรับตรวจภายใน ครั้งนี้จะเป็นการตรวจหนองในเทียม และก็การตรวจแบคทีเรียในตกขาว
การตรวจหนองในเทียม คุณหมอให้ดูมอนิเตอร์ด้วย แล้วก็ไม่ได้พูดอะไร เป็นอันจบการตรวจในวันนี้
นัดตรวจครั้งต่อไปอีก 2 อาทิตย์
ค่าตรวจในวันนี้ 4,770 เยน
อ้อ วันนี้นางพยาบาลถามเราด้วยว่า ตอนคลอดจะให้สามีเข้าไปด้วยมั้ย เราก็บอกต้องการให้เข้าค่ะ
แต่เงื่อนไขก็คือถ้าคลอดหลัง 2 ทุ่มไปแล้ว สามีจะเข้าไปด้วยไม่ได้ เพราะเป็นกฏของที่นี่
ก็ขอให้หนูคลอดในตอนกลางวันแล้วก็วันที่ป่ะป๊าหนูหยุดพอดีด้วยน้า ^^
พอกลับมาบ้านมาดูสมุดสุขภาพแม่และเด็ก ครั้งนี้ที่ช่อง 浮腫 (อาการบวม) จากการตรวจปัสสาวะ พยาบาลวงที่เครื่องหมาย - แล้วก็วงที่เครื่องหมาย + ซึ่งปกติที่ผ่านมาจะวงแค่ที่เครื่องหมาย -
เราก็เลยลองหาข้อมูลดู ถ้าเครื่องหมาย - อย่างเดียว ถือว่าปกติ
แต่ถ้าวง - + จะผิดปกติในเรื่องของการบวมเล็กน้อย คุณหมอไม่ได้ทักอะไร เพราะคุณหมอก็มีจับที่ขา แล้วก็บอกว่าไม่บวม ก็คงไม่มีปัญหามั้ง แต่ก็ต้องระวังเค็มไว้ก่อนอ่ะเนอะ
วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557
ไปงาน AEON THAI FAIR 2014
อิออนเขาจัดงานไทยแฟร์ ตั้งแต่วันที่ 25 - 27 เม.ย. 57 แต่ก่อนหน้านั้นไม่ค่อยได้มีโฆษณาเท่าไหร่ มาโฆษณาเอาใกล้ ๆ โชคดีที่คุณซูเจอประชาสัมพันธ์งานทางอินเตอร์เน็ท ก็เลยไปกันวันที่ 27 เม.ย.
ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว ปีที่แล้วร้านค้าจะเยอะกว่า ดูน่าสนใจกว่า แต่ก็ถือว่าโชคยังดี ได้ไปทานอาหารไทย วันนี้ที่ทานก็มีไก่ย่าง (500 เยน) กับหมูย่าง (500 เยน) แล้วก็ซื้อทุเรียนกลับมา (1,980 เยน) คราวนี้คุณซูเป็นคนปอกเปลือก ใช้เวลาเร็วมาก คือคุณซูใช้พลังแงะ แรงเยอะจริง ๆ
คิดถึงรสชาติไทย ๆ จัง
ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว ปีที่แล้วร้านค้าจะเยอะกว่า ดูน่าสนใจกว่า แต่ก็ถือว่าโชคยังดี ได้ไปทานอาหารไทย วันนี้ที่ทานก็มีไก่ย่าง (500 เยน) กับหมูย่าง (500 เยน) แล้วก็ซื้อทุเรียนกลับมา (1,980 เยน) คราวนี้คุณซูเป็นคนปอกเปลือก ใช้เวลาเร็วมาก คือคุณซูใช้พลังแงะ แรงเยอะจริง ๆ
คิดถึงรสชาติไทย ๆ จัง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
ก่อนกลับไทยก็ต้องมีของติดไม้ติดมือกลับไปฝากที่บ้าน ญาติ แล้วก็เพื่อน ๆ ก็จะด้วยเรื่องงบที่ตั้งไว้ ของบางอย่างก็กะว่าจะแบ่งกระจาย ๆ กัน เร...
-
พอดีไปอ่านเจอในนิตยสารของญี่ปุ่น เกี่ยวกับเรื่อง สารอาหารของเด็กในการส่งเสริมสุขภาพกายและใจก็คือ "การนอนหลับ" น่าสนใจดี เลยลองแปลเ...
-
สวัสดีค่ะ อุณหภูมิวันนี้ 19/6 องศา ไม่หนาวมากเกินไป กำลังดี แล้วในวันนี้เราขอแนะนำแฟชั่นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น (ตามนิตยสารที่เรามีอยู่) เห็...