ตรวจครบ 4 เดือนนี้จะไม่ได้ไปตรวจที่รพ. เพราะว่าช่วงต้นเดือน ต.ค. มีจม. จาก Hoken Center มา เนื้อความในจม. ก็จะประมาณว่าช่วง 4 เดือน ทารกสามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วก็กำหนดวันเวลาให้พาทารกไปตรวจ แล้วด้านหลังจม. ก็จะมีแบบสอบถามให้เรากรอกว่า ลูกของเราทำแบบนี้ได้ไหม เช่น ชันคอได้หรือยัง หันตามเสียงเรียกได้หรือยัง ตาเคลื่อนไหวตามวัตถุได้มั้ย ประมาณนี้ แล้วก็จะมีให้เขียนตารางใน 1 วันว่า ให้นมลูกช่วงกี่โมง นอนกี่โมง ลูกอึฉี่กี่โมง ฯ
วันนี้ก็เลยพาไปตรวจ ให้คุณซูไปด้วย ไปช่วงฟัง ช่วยอธิบาย เพราะมีเหมือนกันที่อยากจะถามคุณหมอ อย่างเช่นปานที่แขน ที่หลังที่มีมาแต่เกิด ว่าอันตรายมั้ย
ไปถึงก็ยื่นกระดาษแบบสอบถาม + สมุดสุขภาพแม่และเด็ก จากนั้นก็รอเรียกชื่อ พอถึงคิวแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะถามเกี่ยวกับที่เราเขียนไป เราเขียนไปว่า เจ้าหนูตอนนี้ท้องเสีย พาไปหาหมอก็ยังไม่ดีขึ้น เจ้าหน้าที่ก็เลยถามว่าแล้วตอนนี้เป็นยังไง เราก็บอกว่าปริมาณอึลดลง แต่จำนวนครั้งที่อียังเหมือนเดิม แต่เจ้าหนูยังร่าเริงดี
แล้วก็มีถามเกี่ยวกับตัวแม่ ว่ามีปัญหาสุขภาพอะไรมั้ย เราก็บอกไปว่า ปวดหัวเข่า + ผมร่วงเยอะขึ้น
เจ้าหน้าที่ก็ทำหน้าตกใจ ถามเรากลับมาว่าเครียดหรือเปล่า เราก็งง ๆ สงสัยคนญี่ปุ่นไม่ค่อยมีปัญหาพวกนี้มั้ง เพราะเราเคยหาข้อมูลของไทย ก็มีคุณแม่หลายคนที่เป็นเหมือนเรานะ
พูดคุยเสร็จ ก็รอเรียก คราวนี้พาเจ้าหนูไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบหัว ให้ถอดเสื้อ + แพมเพิสออกหมดเลย น้ำหนักที่ชั่งได้ 7950 กรัม ส่วนสูง 63.4 เซน รอบหัว 42.6
จากนั้นก็พาไปให้คุณหมอตรวจ คุณหมอก็จะตรวจใช้หูฟัง นวดท้อง กดขา ดูช่องปาก ดูหลัง แล้วก็บอกว่าปานนั้นน่าจะเป็นไฝ ไม่น่ามีปัญหาอะไร ปกติดี
พอตรวจกับคุณหมอเสร็จก็พาเจ้าหนูมาใส่เสื้อผ้า แล้วก็รอเรียก คราวนี้จะเป็นการอธิบาย (มีเอกสารให้) ถึงอาหารเสริมแล้ว ที่ญี่ปุ่น่จะให้เริ่มทานอาหารเสริมตั้งแต่เดือนที่ 5 ส่วนเดือนที่ 4 นี้จะเป็นช่วงเตรียมความพร้อมโดยการให้เว้นช่วงการให้นมลูกให้นานขึ้น เป็นให้ทุก ๆ 3 ชม. เพื่อที่จะได้ทานอาหารได้อร่อยมากขึ้น เพราะท้องว่างนั่นเอง
ส่วนพอเข้าเดือนที่ 5 ก็จะมาดูทารกแล้วว่ามีพัฒนาการไปถึงไหน คอแข็งแล้วหรือยัง, จับให้นั่งนั่งได้แล้วหรือยัง (ประคองไว้), ดูดนิ้ว งับของเล่นหรือยัง, มีความอยากอาหารหรือยัง ถ้ามีตามนี้แล้วก็ถือว่าโอเค
ก็จะมาเริ่มให้อาหารเสริม คือให้ข้าวต้มเละ ๆ แล้วก็ให้ด้วยช้อน 1 ช้อน ซึ่งจะให้ตอนที่ทารกอารมณ์ดี แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยกำหนดช่วงเวลาการให้ ซึ่งแนะนำว่าควรให้ช่วงเช้า เพราะกระเพาะกำลังทำงานดี แล้วอีกอย่างถ้ามีอะไร จะได้พาไปหาหมอในช่วงบ่ายได้ แล้วก็ไม่ต้องปรุงรสอะไรลงไปในข้าวต้มนั้น
ในเนื้อหาเอกสารก็จะมีวิธีการทำข้าวต้ม วิธีการให้ทารกทานในเดือนที่ 5 เดือนที่ 6 จนถึง 1 ขวบ ว่าใน 1 วันให้ทานกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่ ให้ทานอะไรบ้าง
พออธิบายเสร็จก็รอเรียกอีกครั้ง เพื่อรอรับสมุดสุขภาพแม่และเด็กคืน เจ้าหน้าที่ก็จะอธิบายถึงสิ่งที่เรากังวล อย่างเจ้าหนูชอบดูดนิ้ว เขาก็บอกว่าช่วงนี้ทารกกำลังเรียนรู้ให้ดูดได้
พอได้สมุดคืนแล้วก็พาเจ้าหนูไปกินนม เพราะช่วงที่อธิบายถึงอาหารเสริมเจ้าหนูร้องหิวนม เสียงดังพอสมควร
ก็เป็นอันเสร็จตรวจครบ 4 เดือน ไม่มีค่าใช้จ่าย
ตรวจครบ 5 เดือน ก็ไปตรวจที่รพ. เหมือนเดิม
วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
ก่อนกลับไทยก็ต้องมีของติดไม้ติดมือกลับไปฝากที่บ้าน ญาติ แล้วก็เพื่อน ๆ ก็จะด้วยเรื่องงบที่ตั้งไว้ ของบางอย่างก็กะว่าจะแบ่งกระจาย ๆ กัน เร...
-
พอดีไปอ่านเจอในนิตยสารของญี่ปุ่น เกี่ยวกับเรื่อง สารอาหารของเด็กในการส่งเสริมสุขภาพกายและใจก็คือ "การนอนหลับ" น่าสนใจดี เลยลองแปลเ...
-
สวัสดีค่ะ อุณหภูมิวันนี้ 19/6 องศา ไม่หนาวมากเกินไป กำลังดี แล้วในวันนี้เราขอแนะนำแฟชั่นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น (ตามนิตยสารที่เรามีอยู่) เห็...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น