วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เตรียมตัวกลับไปเยี่ยมบ้านที่เมืองไทย July 2013_1

หลังจากที่มาอยู่ญี่ปุ่นได้ครึ่งปี เดือนก.ค.นี้ เรากับคุณซูจะกลับเมืองไทยไปสวัสดีครอบครัวเรา  แต่ระยะเวลาที่เรากับคุณซูจะอยู่ที่ไทยแค่ประมาณ 5 - 6 วันเอง เพราะคุณซูติดงาน แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้กลับอ่ะเนอะ
คุณซูบอกกับเราว่าถ้าเป็นไปได้อยากพากลับเมืองไทย ปีละ 2 ครั้ง (ขอบคุณมาก ๆ เลยน้า)
แต่ว่าการกลับไทยแต่ละครั้งค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่น้อย แล้วอีกอย่าง เรากับคุณซูก็ไม่มีรายได้อะไรมากมาย
ก็เลยรู้สึกเกรงใจคุณซู แล้วก็รู้สึกขอบคุณมาก ๆ
คุณซูบอกว่ามาอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ถ้าเป็นไปได้อยากพากลับบ่อย ๆ แต่คงไม่ไหว
ซึ่งแค่นี้เราก็ซึ้งกับการกระทำของคุณซูมากแล้วอ่ะ

ก่อนที่จะกลับเมืองไทย ก็ต้องมีเรื่องของการเตรียมตัว
อย่างแรกเลย ก็เรื่องที่ว่าจะต้องไปทำ Re-entry หรือเปล่า เพราะหลายปีก่อนที่เราเคยมาอยู่ที่ญี่ปุ่น
ก่อนจะกลับไทย คนญี่ปุ่นที่บริษัทแม่ก็จะพาเราไปทำ Re-entry
เราก็เลยสอบถามกับอดีตเพื่อนร่วมงาน เพราะเขามาทำงานที่บริษัทแม่ 1 ปี (2012) ซึ่งปีที่แล้ว ระบบบัตรของคนต่างชาติ ก็เริ่มเปลี่ยนแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าถามเขาก็น่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

เนื้อหาเมล์

หวัดดีโท
พี่ขอสอบถามเรื่องไซริวการ์ด ตอนที่โทกลับไทยเดือน ธ.ค. ปีที่แล้วหน่อยนะ
ว่าบริษัทแม่เค้าพาโทไปทำเรื่อง รีเอ็นทรี่ ก่อนกลับไทยเปล่าเหรอ
เพราะที่พี่เช็คดู ถ้ากลับไทยชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี ก็ไม่ต้องทำเรื่องอะไรทั้งนั้น ก็สามารถกลับเข้าญี่ปุ่นได้ปกติเลยอยากเช็คกับโทอีกครั้งนึง
รบกวนโทด้วยนะ


> > >

ไม่รู้ว่าจะเหมือนกันรึเปล่านะครับ
ของผมเป็นบัตรต่างด้าว จะกลับเข้าญี่ปุ่นใหม่โดยไม่ต้องทำวีซ่า
ต้องทำรีเอ็นทรี่ ซึ่งจะต้องกลับมาญี่ปุ่นภายในไม่เกิน 30 วัน
เกี่ยวกับการทำรีเอ็นทรี่
ให้เขียนใบขอรีเอ็นทรี่ที่หน้า ตม ญี่ปุ่น ก่อนยื่นได้เลยครับ


> > >

ขอบคุณจ้า
ก็คือเขียนตอนที่เรากำลังจะขึ้นเครื่องกลับในวันนั้นเลย โดยที่ไม่ต้องไปยื่นที่ไหนก่อน ประมาณนี้เปล่าอ่ะ   น่าจะเป็นระบบเดียวกัน เพราะดูจากบัตรที่เคยขอโทซีร็อก รูปร่างเหมือนกันเลย

> > >

ครับ เขียนตอนที่เรากำลังจะออกจาก ตม. ขึ้นเครื่องกลับในวันนั้นเลย ไม่ต้องไปยื่นที่ไหนก่อน
ก่อนเข้า ตม. จะมีจุดเขียนเอกสารต่างๆ จะมีใบรีเอ็นทรี่วางแถวนั้นครับ



เพราะฉะนั้นเรื่องไซริวการ์ด ก็ไม่ต้องไปเดินเรื่องอะไรก่อน ไว้รอวันที่เดินทางแล้วค่อยกรอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น